[PR] กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแนะใช้โลจิสติกส์การค้าเป็นกลยุทธ์นำร่องผลักดันไทยสู่ AEC

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

2-higlight

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแนะใช้โลจิสติกส์การค้าเป็นกลยุทธ์นำร่องผลักดันให้ประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นประเทศการค้าเต็มตัว พร้อมจัดสัมมนาชี้แนะเคล็ดลับใช้ประโยชน์จาก AEC และการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เชื่อมั่นว่าโอกาสของผู้ประกอบการไทยประสบความสำเร็จบนเวทีการค้าโลกมีสูง

ร้อยเอกสุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาการพาณิชย์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “Logistics Excellence Solution 2015” ภายใต้แนวคิด “TOWARDS A TRADING NATION BY 2020”

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และพัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้า ตลอดจนการบริหารจัดการต้นทุนด้านโลจิกสติกส์ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินธุรกิจการค้าในปัจจุบันที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบ AEC ซึ่งประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อลดข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ระหว่างกันในอาเซียน โดยจะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2558 ส่งผลให้ประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานที่มีทักษะและเงินทุนตามที่ได้มีการตกลงกันไว้ได้อย่างเสรี ซึ่งจะทำให้ขอบเขตการค้าการลงทุนมีการขยายตัวสู่ประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการมีประชากรมากกว่า 600 ล้านคนของทุกประเทศในประชาคมต่างมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจและธุรกิจการค้าอย่างมหาศาล และมีโอกาสเลือกใช้ทรัพยากรทั้งวัตถุดิบและแรงงานในประเทศสมาชิกได้อย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสามารถแข่งขันได้และสามารถสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองของอาเซียนในเวทีโลกได้

การที่ประเทศไทยจะเป็น Trading Nation ได้นั้น หมายความว่า ศักยภาพของผู้ประกอบการที่จะต้องพัฒนาตนเองจากการเป็นผู้รับจ้างผลิต (Production Man) ก้าวสู่การเป็นนักลงทุนระหว่างประเทศ (Marketing Man) มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีทักษะในการประกอบธุรกิจ มีวิสัยทัศน์ที่สามารถมองเห็นโอกาสและความท้าทายในอนาคต รวมทั้งต้องสามารถปรับตัวและกำหนดกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิผล เป้าหมายของการเป็น Trading Nation ที่สามารถวัดได้ คือ ผู้ประกอบการไทยต้องเป็นเจ้าของกิจการและดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น การออกแบบ การจัดจำหน่าย การสร้างแบรนด์ การบริการหลังการขาย เป็นต้น

ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็น Trading Nation โดยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในการจัดทำ Thailand Logistics model & Transportation multimode for Excellence Solution 2020 (ทางถนน ทางราง ทางเรือ ทางเครื่องบิน) ของประเทศไทย นอกจากนั้น จะต้องสนับสนุนการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการในระดับโซ่อุปทาน (Supply Chain Clusters) จะส่งผลให้การประกอบธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด รวดเร็ว และตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในทุกระดับ และการสนับสนุนการใช้ Digital Economy เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ลดต้นทุน และเพิ่มความน่าเชื่อถือ ในการประกอบธุรกิจไม่ว่าในด้านการผลิต ด้านการขาย มีข้อมูลในการตัดสินใจ และการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งจะช่วยอำนวยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมูลค่าเพิ่มและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

โดยภาครัฐมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของการเป็น Trading Nation เพื่อบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความชัดเจนและสามารถประเมินผลได้ มีการกำหนดกลยุทธ์ทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเป็นประเทศการค้าในภูมิภาคและระดับโลก โดยร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนตามความเชี่ยวชาญและความสามารถของประเทศ มองตลาดโลกเป็นตลาดเป้าหมาย และมีความสามารถจัดหาทรัพยากรได้จากทุกที่ทั่วโลก

1-700

สำนักธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะเป็นผู้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และพัฒนาระบบโลจิสติกส์การค้า ได้กำหนดจัดงานสัมมนา “Logistics Excellence Solution 2015” ภายใต้แนวคิด “TOWARDS A TRADING NATION BY 2020” (ก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางการค้าโลกในปี 2020) ระหว่างวันที่ 2 – 4 มิถุนายน 2558 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม AB โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ ความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในด้านการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชนให้กับผู้ประกอบการของไทย ทั้งผู้ให้บริการโลจิสติกส์และผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ ให้เป็น SMART Logistics and Supply Chain เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางการค้าโลกในปี 2020 ประกอบด้วย

S – SYNERGY STRATEGY LOGISTICS SERVICE PROVIDER
(การกำหนดกลยุทธ์ร่วมกันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการโลจิสติกส์การค้าที่มีศักยภาพสูง)

M – MANAGEMENT VALUE CHAIN CLUSTER
(การสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการด้านโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ)

A – AEC TRADE LOGISTICS HUB
(การมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์การค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)

R – RENOVATION FOR BETTER SERVICES & BEST PRACTICE
(การปรับปรุงการให้บริการโลจิสติกส์การค้าที่ดีเลิศ และเป็นแบบอย่าง)

T – TOOLS (ICT AND INNOVATION)
(การนำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้สนับสนุนการบริหารจัดการโลจิสติกส์การค้า)

นำโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย อาทิเช่น ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการสถาบัน Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ คุณนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และวิทยากรที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย


  •  
  •  
  •  
  •  
  •