ข่าวประชาสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพเผยเด็ก Global-Gen ของไทยส่วนใหญ่มีความเป็นสากลแต่ยังอยู่แค่ในกระบวนการทางความคิด และความตั้งใจจะปฏิบัติ จากผลวิจัยของหลายสถาบันร่วมถึงกรุงเทพโพลล์ชี้ให้เห็นว่าศักยภาพของเด็กไทยยังต้องเตรียมความพร้อมในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิงทักษะภาษาอังกฤษที่ยังถือว่ารั้งท้ายประเทศในกลุ่มอาเซียน แม้ว่าในปัจจุบันเด็กไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ตื่นตัวกับความเป็นสากล และมีความวิตกกังวลว่าตนเองจะเข้าสู่สากลไม่ได้ แต่ก็ไม่มีข้อมูลและความรู้เพียงพอว่าจะพัฒนาตนเองให้พร้อมสู่สากลได้อย่างไรมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงวางแผนแก้ปัญหาดังกล่าวโดยพัฒนาทักษะเด็กไทยรุ่นใหม่ “แบบครบมิติ” ด้วยการเปิดตัวปริญญาตรีสองภาษารับการแข่งขันในอาเซียน
อาจารย์ ดร.จิราพร เกิดชูชื่น ผู้อำนวยการโครงการพัฒนานักศึกษาสู่สากล กล่าวว่า “การศึกษาของเด็กไทย ต้องสอนให้เด็ก “คิดเป็น และเรียนรู้ด้วยตนเองได้” การศึกษาที่ให้เพียงข้อเท็จจริง หรือ Fact กับเด็กเท่านั้น ไม่เพียงพอ “การศึกษาต่อไปนี้ ไม่ใช่ การเรียนรู้ข้อเท็จจริง” แต่เป็นการให้องค์ความรู้ที่ตกผลึกแล้วกับนักศึกษาและสอนให้พวกเขามีกระบวนการคิด และฝึกให้เรียนรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น โดยเราให้นิยามเยาวชนกลุ่มนี้ว่าเป็น Global Gen”
Global – Gen คืออะไร
เด็กรุ่นใหม่ที่พร้อม จะเข้าสู่โลกสากล เรียกว่า เด็กกลุ่ม Global – Gen (Global Generation) เป็นกลุ่มเด็กที่มีกระบวนการทางความคิด (Mindset) ทัศนคติ ที่เปิดต่อความเป็นสากล และส่งผลต่อพฤติกรรม และการปรับตนเอง ให้ตอบสนอง ต่อบริบทโลก Global Gen จึงเป็นเด็กที่มีความยืดหยุ่น และมีความพร้อมต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ปิดกั้นตนเอง และต้องการเห็นความสำเร็จของตนเอง ในบริบทสากล
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพกล่าวถึงแนวโน้มของการศึกษาในอนาคต ซึ่งเป็นที่มาของปริญญาตรีหลักสูตรสองภาษาพร้อมเติมเต็ม 3 มิติ เพื่อปั้น เด็ก “Global Gen”
1) ความรู้ในวิชาชีพเฉพาะด้าน (Professional Knowledge)
การให้เด็กไทย ได้องค์ความรู้ในวิชาชีพเฉพาะด้าน จาก อาจารย์ นักวิชาการ และจากนักปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ จากภาคธุรกิจ พร้อมสอดแทรกกระบวนการเรียนการสอน ที่สร้างให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้องค์ความรู้ที่ตกผลึกแล้ว ประกอบกับการปฏิบัติจริง โดยเชื่อมโยงให้การศึกษากับภาคธุรกิจใกล้ชิดกันมาก
ปริญญาหลักสูตรสองภาษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะจัดให้นักศึกษาได้เรียนรู้จาก อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ จากภาคธุรกิจ ทุกหลักสูตรมีความร่วมมือในการสอนร่วมจากภาคธุรกิจ มีอาจารย์ชาวต่างชาติ เจ้าของภาษาสอน เรียนแบบสองภาษา เรียนวิชาเลือกแบบ อนาคตออกแบบได้ มี Track เรียน Entrepreneur ในปีสุดท้าย ภาคการศึกษาสุดท้าย จะได้รียนวิชาที่เป็น Trend ขณะนั้น เพื่อให้เด็กตอบโจทย์ทันที เช่น วิชาสถานการณ์ปัจจุบัน (กลยุทธ์การตลาดดิจิตัล) (Current Issues (Digital Marketing Strategy)
2) ความเป็นสากล ( Internationalized Mindset, Creativity, and Entrepreneurial Spirit )
การเตรียมพร้อมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเด็กไทย ด้วยการดึงจุดเด่นที่เด็กไทยมีมาสร้างเป็นอัตลักษณ์ คนไทยเป็นที่ยอมรับในสากล ว่า เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นคนที่มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ และการสร้างทักษะที่สำคัญ คือ กล้าคิด กล้าเสี่ยง กล้าลอง ไม่ปิดกั้นตนเอง การบ่มเพาะให้เด็กไทย มีกระบวนการคิดแบบสากลนั้น นับเป็นสิ่งจำเป็น แต่กระบวนการนี้ ต้องถูกผสมผสานไปกับการเรียนการสอน และใช้เวลาในการบ่มเพาะ
ปริญญาหลักสูตรสองภาษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะจัดการเรียนเพื่อสร้าง อัตลักษณ์ให้กับเด็ก Global Gen ซึ่งจะมีสองส่วนสำคัญคือสร้าง ระบบคิดที่เป็นสากลให้กับเด็ก ประกอบกระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ โดยมหาวิทยาลัยมี Excellence Centers ที่เป็นแหล่งความรู้สำคัญในการส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ดังกล่าว ได้แก่ สถาบันนานาชาติเอเชียแปซิฟิกศึกษา (INSAPS) ศูนย์สร้างสรรค์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BUCC) สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CEDI) นอกจากนี้ยังมีเรียนภาษาอังกฤษเสริม ตลอด โปรแกรม กับ แอน ดรู บิ๊ก (Andrew Biggs) และคริส ดีลิเวอรรี่ (Chris Delivery)
3) ทักษะในการอยู่ร่วมกับสังคมสากล (Soft Skills, Life Skills, Human Skills)
เด็กไทยในอนาคต ต้องเป็นเด็กที่มีทักษะเพิ่มเติมต่าง ๆ นอกเหนือจากความสามารถหลัก โดยจะต้องมี Soft Skills อื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ตนเองประสบความสำเร็จ เช่น Human Skills คือ ทักษะที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เพราะโลกอนาคต เด็กไทย ต้องอยู่กับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่วน Life Skills คือ ทักษะที่เด็กไทยควรทราบ และจำเป็นต้องเข้าใจ เพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวัน มีความสุข สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และประสบความสำเร็จ
ปริญญาหลักสูตรสองภาษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะจัดการเรียนเพื่อสร้าง Soft Skills, Life Skills, Human Skills โดยทักษะ เหล่านี้ ได้ ถูกสอดแทรกลงในการเรียนการสอน และ การอบรมเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ
- 1) Workshop: “Leadership Skills”
- 2) Workshop: “Problem Solving Skills”
- 3) Workshop: “Presentation Skills”
อาจารย์ ดร.จิราพร ยังได้เผยถึงการเปิดตัวปริญญาตรีหลักสูตรสองภาษาและแนวทางการพัฒนาศักภาพของเด็กไทยไว้ 6 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรการตลาด (Marketing) วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (Broadcasting) การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management) การโฆษณา (Advertising) การบัญชี (Accounting) การจัดการธุรกิจสายการบิน (Airline Business Management)
“ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของบริบทสากล ทำให้แนวโน้มการศึกษา ต้องสร้างสมดุลใหม่ ระหว่าง “ภาคทฤษฏี” กับ “ภาคปฏิบัติ” อย่าให้ทฤษฏีเก่าที่เปลี่ยนไม่ทันกับบริบทใหม่ เป็นตัวชี้นำการศึกษา และอย่าให้การปฏิบัติที่ไม่มีทฤษฏีมีแต่ประสบการณ์ล้วน ๆ มาเป็นต้นแบบ ประสบการณ์เป็นบทเรียนที่ดีได้แต่ไม่สามารถกำหนดให้เป็นแนวปฏิบัติที่ยืนยันได้ว่าจะประสบความสำเร็จ การศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ต้องปรับให้ได้สมดุลระหว่างทฤษฏีและปฏิบัติ การเรียนการสอนของหลักสูตรสองภาษา จะเน้นการให้องค์ความรู้ที่เด็กสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง“ ดร.จิราพรกล่าวปิดท้าย
ตัวเลขและสถิตวิจัยเพื่อการอ้างอิง
- = 27% ของเยาวชนไทยคิดว่าภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบประเทศในอาเซียน (กรุงเทพโพลล์ 2012)
- = 58.7% ของเยาวชนตอบว่าการสอนและติวภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสาร คือเรื่องที่เยาวชนต้องการให้ภาครัฐสนับสนุน/ส่งเสริมมากที่สุดเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (กรุงเทพโพลล์ 2012)
- = 49% มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและเยาวชนคนไทยคนอื่นๆ ว่าจะสามารถแข่งขันหรือสู้กับเยาวชนของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน ในขณะที่ อีก 37% และ 14% ไม่แน่ใจ และไม่คิดว่าจะสู้ได้
- = ระดับภาษาอังกฤษของไทยถูกจัดอยู่ที่ระดับต่ำมากและเป็นลำดับที่ 55 ของภาพรวม รองจากมาเลเซียซึ่งได้ อันดับ 1 และสิงค์โปร์ อันดับ 2 ของภาพรวมและถูกจัดในลำดับสูงในการใช้ภาษาอังกฤษ ในขณะที่ อินโดนีเซีย อันดับที่ 25 และเวียดนาม อันดับที่ 28 ของภาพรวม ถูกจัดในสำดับปานกลางในการใช้ภาษาอังกฤษ จาก EF EPI
- = ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 4 จาก การทดสอบมาตรฐานการใช้ภาษาอังกฤษจากJobstreet เพื่อการเข้าทำงาน รองจากประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์