Marketing Oops! The Untold Insights EP.11 ชวนฟังเรื่องราวสนุกๆ ข้อมูลชิงลึก ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน โดย ณีว มาวิจักขณ์ Managing Partner – Marketing & Development, GroupM Thailand และ แพน จรุงธนาภิบาล Director – Marketing & Development, GroupM Thailand ซึ่ง Episode นี้จะมาชวนพูดคุย Insights ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Greenhorn ซึ่งหมายถึง “มือใหม่” หรือคนทำงานยุคใหม่ ที่มีพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ทั้งการทำงานและใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป และที่สำคัญที่สุดแบรนด์จะรับมือสิ่งนี้อย่างไร
Greenhorn (กรีนฮอน) เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลว่ามือใหม่ ซึ่งในแต่ละปีมีนักศึกษาจบใหม่ทั้งในระดับปริญญาตรี ปวช. ปวส. พร้อมที่จะก้าวเข้ามาสู่ตลาดแรงงานในปีละมากกว่า 500,000 คน ซึ่งใน 500,000 คนตรงนี้ เขาอยากจะเข้ามาอยู่ในตลาดแรงงานอยู่ประมาณ 400,000 คน แล้วก็อีกประมาณ 100,000 คน จะไปทําอย่างอื่นเช่นไปเรียนต่อ เพราะฉะนั้นน้องใหม่จํานวนกว่า 400,000 คน ที่จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานของเรา จึงมีเป็นจํานวนที่ไม่น้อยเลย
ดังนั้น ช่วงที่เขาจะโฟกัสในเรื่องของตําแหน่งหน้าที่การงานและความสําเร็จ ถ้าเกิดเราเข้าใจตรงนี้เราสามารถที่จะคลี่ออกไปได้ว่าแล้ว Greenhorn เขาต้องการอะไรในสมัยนี้
ความต้องการของ Greenhorn
เดิมการมีแพทเทิร์นที่เข้าทํางานบริษัทใหญ่ค่อยเติบโตไปตามตําแหน่งค่อยมีเงินเพิ่ม อันนี้คือสิ่งที่ประสบความสําเร็จในอดีต การประสบความสําเร็จคือความมั่นคงในชีวิต เป็นการประสบความสําเร็จระดับท็อป แต่เราพบว่ามันเปลี่ยนไป เรื่องของประสบความสําเร็จยังคงอยู่ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ว่าภาพที่เราเห็นตอนนี้นิยามคําว่าประสบความสําเร็จ มันกลายเป็นอะไรที่ต้องได้รวดเร็วกว่า
ดังนั้น ในแต่ละรุ่นมีเหมือนกันก็คือ “ความสําเร็จ” โดยความสําเร็จคือการที่จะ Go to top of the pyramid แต่ส่วนที่ต่างกันคือในเรื่อง “ความเร็ว” ซึ่งในอดีตหรือก่อนหน้านี้จะมองเป็นแพทเทิร์นช้าๆ ได้พระเล่มงาม แต่คนรุ่นใหม่ต้องการความสําคัญที่เร็วมากขึ้น
แล้วทำไม “ความเร็ว” จึงสำคัญสำหรับเด็กยุคนี้? มันเริ่มมาจากอะไร?
มันเริ่มมาจากการที่เด็กรุ่นใหม่ เติบโตมากับโซเชียลมีเดียเยอะแยะมากมายเพราะฉะนั้นการที่เค้ารับข้อมูลต่างๆ จากโซเชียลมีเดีย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะโชว์กันแต่ด้านดีๆ ไม่ค่อยมีด้านแย่ๆ ส่วนใหญ่มีแต่เรื่องที่ประสบความสำเร็จ เช่น ได้ตำแหน่งใหม่ เงินเดือนใหม่ มีรถใหม่ ซื้อบ้านใหม่ ฯลฯ แล้วยิ่งถ้าคนเห็นว่าประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะสร้างความภาคภูมิใจ เช่น กระทู้ถามว่า “อายุยังไม่ถึง 35 เงินเดือน 150,000” ใช้พอหรือเปล่า เหมือนจะเป็น ugly truth ที่ดูแล้วเจ็บปวดเหมือนกัน หรือจบใหม่อยากได้เงินเดือน 40,000-50,000 บาทต้องไปที่ไหน สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายที่ใหญ่มากๆ
อย่างไรก็ตาม จุดนี้ไม่ได้อยากให้มองในมุมของผู้ใหญ่ ที่มองไปที่เด็กรุ่นใหม่ แต่อยากให้มองในมุมของเด็กรุ่นใหม่ ว่าอะไรที่ทำให้พวกเขาคิดแบบนี้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเอาชนะใจพวกเขาได้ ในขณะเดียวกันโซเชียลฯ เองก็เป็นแรงกดดันให้พวกเขาเหมือนกัน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเราต้องยอมรับและเห็นใจพวกเขาด้วย ว่าเขาโตมาด้วยแรงกดดันเยอะกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ หรือจะพูดในอีกแง่หนึ่งก็คือ เด็กรุ่นใหม่โตมากับหลุมพรางที่คนรุ่นก่อนได้สร้างเอาไว้
ดังนั้น เด็กรุ่นใหม่จึงโตมากับความคาดหวังว่าจะทำอย่างไรให้ไปสู่ความสำเร็จได้ เมื่อโตมากับความคาดหวังสิ่งที่เด็กรุ่นใหม่จะทำได้ก็คือ “การพัฒนาตัวเอง”
“การพัฒนาตัวเอง” ของเด็กรุ่นใหม่ ไม่ใช่การจบมาสายไหนทำงานสายนั้น แต่เราจะเห็นเทรนด์ว่า คนในปัจจุบันออกไปหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมมากขึ้น บางคนทำงานออฟฟิศแต่อาจจะมีอีกงานเป็นการขายของออนไลน์ด้วย หรือว่าไปหาเรียนสกิลอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อที่จะไปต่อยอดในการหารายได้จากหลายๆ ทาง ทำให้เราเห็นว่าคนรุ่นใหม่ เหมือนมีโลกหลายใบ มีหลายโปรไฟล์ และตรงไหนที่สร้างโอกาสให้เขาได้ เขาจะกระโดดไปอยู่ตรงนั้นไว้เลย
เมื่อมองไปที่การสร้างโอกาสเพิ่มขึ้นก็ดี การเสริมทักษะอื่นๆ เพิ่มขึ้นก็ดี ก็กลับมาที่ว่าเมื่อทำตรงนี้สำเร็จแล้ว ทำไมเราไม่นำตรงนี้ไปโชว์กับคนอื่นบ้างล่ะ ซึ่งพบว่าไม่ได้เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียทั่วไป เช่น facebook หรือ Instagram แต่ไปโพสต์ที่ LinkedIn
ทั้งนี้ การโชว์ตัวตนบนโซเชียลมีเดีย แต่ละแพล็ตฟอร์มของคนรุ่นใหม่ค่อนข้างมีการใช้งานบนเป้าหมายที่แตกต่างกัน การแสดงโปรไฟล์บน LinkedIn สำหรับคนรุ่นใหม่แล้วแตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ มันคือการสร้างโปรไฟล์ ในเรื่องของ Professional profile ซึ่งคนรุ่นใหม่มองว่าถ้าเป็น Instagram มันคือส่วนตัวมากๆ ที่บางครั้งก็จะล็อกเอาไว้และไม่ให้เกิดการมองเห็นเลย แต่ว่า Professional social media อย่างเช่น LinkedIn เป็นตัวที่เขาสามารถโชว์ตัวเองออกมาได้เต็มที่ ให้กับใครก็ได้ และจะเปิด public จุดนี้ทําให้เรามองเห็นชัด ทำไมเด็กรุ่นใหม่ค่อนข้างแอคทีฟบน LinkedIn อย่างมาก
และนอกจาก LinkedIn เรายังพบอีกว่า ยังมีการแยกแอคเคาท์บน Instagram อีกด้วย คือสำหรับเพื่อนบน IG ก็จะสร้างโปรไฟล์ที่ดูสวยหรูหรือลักซ์ชูฯ หน่อย แต่อีกแอคเคาท์หนึ่งก็จะมีให้เฉพาะเพื่อนสนิทจริงๆ มากๆ เท่านั้น เอาไว้อัปไลฟ์สไตล์แบบรัวๆ ก็จะค่อนข้าง privacy มาก เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเด็กรุ่นใหม่ มีการให้ความสำคัญกับเรื่องของความเป็น Professional และ Personal ค่อนข้างชัดเจน
จุดนี้เองอาจตีความได้ว่าเด็กรุ่นใหม่ มีการแยกสิ่งที่เรียกว่า “สมดุลในการใช้ชีวิต” เขาต้องการบาลานซ์ชีวิตงานส่วนหนึ่ง แล้วชีวิตส่วนตัวก็อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างแยกกันอย่างชัดเจนมากกว่าคนรุ่นก่อน ดังนั้น เด็กรุ่นใหม่จึงมีการแบ่งวิถีการใช้ชีวิตแยกออกอย่างชัดเจนระหว่างเรื่องงงานและเรื่องส่วนตัวนั่นเอง
นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่องการเสริมทักษะใหม่ๆ ดังนั้นจะเห็นว่าคนรุ่นใหม่จะยอมลงทุนให้กับการเสริมความรู้และสกิลใหม่ๆ รวมไปถึง Soft skill ต่างๆ ด้วย เช่น เรื่องการจัดการอารมณ์ตัวเอง หรือเรื่อง People management มีหลายคนที่ให้ความสำคัญกับตรงนี้ รวมไปถึงเรื่องการพัฒนา mindset ด้านต่างๆ การเห็นเด็กรุ่นใหม่ฟัง Podcast เสริมความรู้และปรับอารมณ์ รวมไปถึงการอ่านหนังสือที่พัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจให้ดีขึ้น รวมไปถึงการเข้าร่วมอีเวนต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับอาชีพการงาน ก็เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญและสนใจมากขึ้นด้วย
นอกเหนือจาก Soft skill ที่กล่าวไปเมื่อครู่แล้ว ยังมีเรื่องของการเสริมสกิลที่พัฒนาตัวเองด้วยเช่นบางคนไปเรียนแต่งหน้าทำผมเพิ่ม เพื่อจะได้ใช้โพสต์ถ่ายรูปได้ เป็นการให้มั่นใจว่าภาพลักษณ์ของเรานั้นพร้อมที่จะพรีเซ็นต่อบุคคลภายนอกได้หรือยัง หรือตัวเองนั้น โดดเด่นพอหรือ Stand out from the crowd ก็สามารถเป็นทางลัดไปสู่ Top of the pyramid ได้เหมือนกัน
บทสรุป
- คนรุ่นใหม่เติบโตมากับ Social media ทำให้เห็นภาพความสำเร็จที่ไปสร้างแพสชั่นให้ตัวเอง เพื่อก้าวไปสู่จัดนั้นได้เร็วที่สุด
- ความคาดหวังจากสังคม จากคนรอบข้าง หรือแม้แต่กับตัวเองว่า ความสำเร็จจะต้องมาเร็ว
- ความสำเร็จจะต้องมาเร็ว ทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการค้นหาเส้นทางสู่ความสำเร็จใหม่ๆ เช่น การเสริมทักษะใหม่ๆ การเข้าไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฯลฯ
- เกิดเทรนด์ของการทำงานหลายอาชีพ หลายอย่างไปพร้อมกัน
- คนๆ เดียวสามารถมีชีวิตหลายด้านหลายมุม แต่ก็มีการแยกออกอย่างชัดเจนว่านี่คือมุมการทำงานและนี่คือมุมส่วนตัว
Brand takeaway
- เป็นตัวช่วยในการสร้างความมั่นใจให้คนรุ่นใหม่ได้อย่างไร
- เป็นตัวช่วยเสริมที่จะช่วยให้คนรุ่นใหม่เติบโตในเส้นทางที่ต้องการที่รวดเร็วขึ้นและมั่นคงขึ้นได้อย่างไร เพื่อสร้างความรู้สึกดีให้เกิดขึ้นกับแบรนด์
- การสร้างตัวตนในแบบ Personalized ได้ เพราะแต่ละคนมีแพสชั่นที่แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญ แต่ละคนมีนิยามของคำว่าความสำเร็จที่แตกต่างกัน ซึ่งแบรนด์สามารถเข้าไปเติมเต็มได้อย่างไร