Podcast – EP.12 “ชีวิตของคนช่างเสิร์ช” กับ 4 ประเภทการค้นหา และแพลตฟอร์มที่ใช้เสิร์ชบ่อย

  • 4.4K
  •  
  •  
  •  
  •  

สิ่งที่อยู่คู่กับการใช้อินเทอร์เน็ต คือ “การเสิร์ช” ทั้งผ่าน Search Engine และ Search Bar บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เพื่อค้นหาสิ่งต่างๆ ที่ตัวเรากำลังสนใจ จนกลายเป็นพฤติกรรมเคยชินของทุกคนเมื่อใช้ออนไลน์ เรียกได้ว่าทุกครั้งที่ใช้เน็ต ไม่ว่าจะผ่านโทรศัพท์มือถือ, แท็บเลต หรือคอมพิวเตอร์ หนึ่งกิจกรรมบนออนไลน์ คือ เสิร์ช

Marketing Oops! Podcast รายการ “MarTech : Consumer Insights” ตอนนี้จะพาไปดู Insights “ชีวิตคนช่างหา” ว่าทุกครั้งที่ใช้อินเทอร์เน็ต คนเราเสิร์ชหาอะไรกันบ้าง และในแต่ละประเภทการค้นหา ใช้แพลตฟอร์มใดบ้าง ?!?

4 ประเภทหลักที่ชาวเน็ตนิยมเสิร์ช

ทุกวันนี้เราค้นหาสิ่งต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตมากมายสารพัด ตั้งแต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ไปจนถึงเรื่องไกลตัว แต่เป็นสิ่งที่เราสนใจใคร่รู้

อย่างไรก็ตามท่ามกลางสารพัดเรื่องราว และข้อมูลบนโลกออนไลน์ จะพบว่ามี 4 ประเภทการค้นหาหลักที่คนเราเสิร์ชเป็นประจำ นั่นคือ

  1. เสิร์ชเกี่ยวกับบริการต่างๆ เช่น เสิร์ชในแอปพลิเคชัน On Demand ทั้งหลาย เพื่อเรียกบริกรนั้นๆ
  2. เสิร์ชข่าวสาร ทุกวันนี้ผู้บริโภคเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางออนไลน์ก่อน เพราะ Real-time และสามารถติดตามได้ทุกที่ ทุกเวลา เช่น ตามข่าวผ่าน Feed บนโซเชียลมีเดีย รวมถึงค้นหาจากช่อง Search Bar ของแพลตฟอร์มนั้นๆ

นอกจากนี้ในปัจจุบันจะเห็นคนหันมาติดตามข่าวสาร และค้นหาเพิ่มเติมผ่าน hashtag บนสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Twitter มากขึ้น

  1. เสิร์ชเกี่ยวกับความบันเทิง เช่น คอนเทนต์ความบันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นละคร – ซีรีส์ หรือศิลปินดารา
  2. เสิร์ชเกี่ยวกับความรู้ เพราะความรู้ในทุกวันนี้ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน แต่สามารถเพิ่มเติม Skill ใหม่ๆ ผ่านออนไลน์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในออนไลน์มีความรู้มากมาย และจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีความรู้เฉพาะทาง, คนที่มีประสบการณ์ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือคนที่มี Passion ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มาแชร์ให้ฟัง – ให้ดูบนออนไลน์

ผู้บริโภคค้นหาจากหลายช่องทาง

ขณะที่ช่องทางการเสิร์ชในปัจจุบัน ผู้บริโภคไม่ได้จำกัดอยู่แค่บน Search Engine แต่ยังได้ค้นหาผ่าน Search Bar บนโซเชียลมีเดียด้วย ซึ่งใน 4 ประเภทการค้นหาที่กล่าวไปข้างต้นนั้น จะพบพฤติกรรมการค้นหาในแต่ละประเภท มี

การใช้ช่องทาง หรือแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ดังนี้

– “บริการ” คนส่วนใหญ่นิยมใช้แอปพลิเคชันเฉพาะทาง เช่น ถ้าสั่งอาหาร คนใช้บริการผ่านแอปฯ ประเภท On Demand Service โดยทำการเลือกแอปฯ ที่จะใช้บริการ จากนั้นเสิร์ชหาร้านอาหารในนั้น หรือถ้าเป็นเรื่องการเงิน คนจะตรงไปที่แอปฯ Mobile Banking

หรือในกรณีแอปพลิเคชัน On Demand Service ยังเปิดให้บริการไม่ครอบคลุมบางพื้นที่ คนในพื้นที่นั้นๆ ก็จะเสิร์ชหาผ่าน Search Engine เช่น Google และสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook

– “ข่าว” ปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมค้นหาผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter ถือเป็นสองช่องทางหลักของการค้นหาคอนเทนต์ข่าว

– “ความบันเทิง” ทุกวันนี้คนนิยมเสิร์ชคอนเทนต์ประเภทนี้ใน Video Platform เช่น YouTube และในโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter ซึ่งพฤติกรรมการค้นหา จะพบว่าบางครั้งผู้บริโภคไม่ได้อยากรู้เรื่องราวทั้งหมดของคอนเทนต์นั้นๆ เช่น เนื้อเรื่องทั้งหมดของละคร – ซีรีส์เรื่องนั้นๆ แต่อยากรู้ส่วนที่เป็น Highlight ของเรื่อง ก็จะเสิร์ชเฉพาะส่วนที่อยากรู้

– “ความรู้” ถ้าเป็นความรู้พื้นฐานทั่วไป คนนิยมเสิร์ชผ่าน Google แต่ถ้าเป็นความรู้ ที่ต้องการความคิดเห็นของคนด้วย คนจะเสิร์ชผ่าน Facebook และถ้าเป็นความรู้ที่ซับซ้อน หรือต้องมีการยกตัวอย่างให้ดู คนนิยมค้นหาผ่าน YouTube เนื่องจากมีทั้งวิดีโอ และ How to

เพราะฉะนั้นถ้าแบรนด์ต้องการเอาตัวเองเข้าไปแทรกอยู่ในการเสิร์ชต่างๆ ของผู้บริโภค หัวใจสำคัญคือ ต้องเข้าใจสิ่งที่แบรนด์เป็น หรือสิ่งที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร เช่น เป็นแบรนด์ที่เน้นความบันเทิง, เป็นแบรนด์ที่เน้นให้ความรู้แก่ผู้บริโภค หรือทำคอนเทนต์ในเชิง Educate ตลาด และเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อที่แบรนด์จะสามารถนำตัวเองเข้าไปอยู่ในประเภทการค้นหา และแพลตฟอร์มการค้นหาได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา และเหมาะสม โดยไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถูกยัดเยียดมากเกินไป

ขณะเดียวกันแบรนด์ต้องเตรียมข้อมูลให้ลูกค้าเสิร์ชหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่ข้อมูลสินค้าอย่างเดียว อาจต้องมีข้อมูลรีวิวของ Influencer เพราะพฤติกรรมการเสิร์ชของผู้บริโภคยุคนี้ ไม่นิยมเสิร์ชจากแบรนด์โดยตรง แต่ชอบที่จะหาข้อมูลรีวิวจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในสินค้านั้นๆ มาก่อน

 

สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่


  • 4.4K
  •  
  •  
  •  
  •  
Neil Pan
ณีว มาวิจักขณ์ ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย นักวางแผนกลยุทธการสื่อสาร นักเดินทาง มีความหลงใหลในศิลปะการเก็บภาพโมเม้นท์ผ่านมือถือพอๆ กับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค, แพน จรุงธนาภิบาล รองผู้อำนวยการ แผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย นักศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค นักการตลาด และผู้ชื่นชอบการวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ