เพราะความสนใจ – ทัศนคติผู้บริโภค “แตกต่าง”
นักการตลาดจึงต้อง “แตกโจทย์”
เมื่อตัวตน ความรู้สึกนึกคิด และความต้องการของผู้บริโภคแตกต่าง หลากหลาย และซับซ้อนขึ้น ดังนั้นการค้นหาตัวตน และ Demand ของผู้บริโภค ไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ และ Consumer Insights ที่ได้มาจากการทำแบบสำรวจสอบถามเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงข้อมูลด้าน “ความสนใจ” และ “ทัศนคติ” ของผู้บริโภคที่เจ้าของแบรนด์ – นักการตลาดสามารถได้ข้อมูลมาจากแหล่งต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ โลกออนไลน์ที่ผู้บริโภคเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกบนสื่อโซเชียล แชร์ต่อ หรือคลิ๊กลิงค์เว็บไซต์
MarketingOops! Podcast ในหมวด MarTech “Consumer Insights” ตอนที่ 8 “เพราะแตกต่าง นักการตลาดจึงต้องแตกโจทย์” ปัจจุบันผู้บริโภคในยุคดิจิทัลมีความแตกต่าง และหลากหลาย เนื่องจากอินเทอร์เน็ตทำให้คนหลาย Generation ค้นพบความเป็นตัวของตัวเอง และแรงบันดาลใจต่างๆ จากการเสิร์ช การอ่าน การดู การคลิ๊ก หรือเลื่อนเมาส์ ทำให้เห็นข้อมูลมากมายบนออนไลน์ ข้อมูลไหนที่ชอบ อาจกดแชร์ออกไป ข้อมูลไหนที่ไม่ชอบ ก็กด Hide นี่จึงทำให้คนในยุคดิจิทัล รู้ว่าจะแสดงตัวตนออกไปให้คนอื่นรู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไร
เช่น เมื่อพูดถึง K-Pop ไม่ใช่มีเพียงแค่วัยรุ่นชื่นชอบเท่านั้น แต่ยังมีวัยผู้ใหญ่ชื่นชอบด้วยเช่นกัน หรือกีฬาวิ่งมาราธอน ไม่ได้มีแค่คนวัยหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ยังมีคนสูงวัยมาร่วมวิ่ง นั่นเพราะเขามี “ความสนใจ” ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นความหลากหลายในวันนี้ ไม่ได้ตีกรอบด้วย “Demographic” อีกต่อไป แต่ Diversify ยุคนี้ ยังมาจากเรื่องของ “ความสนใจ” และ “ทัศนคติ” หรือความคิดความรู้สึกของผู้บริโภค ที่คนต่างวัย ต่างเพศ ต่างการศึกษา ต่างพื้นที่ “สนใจ” หรือมี “มุมมอง” ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกัน
การจะหา “ความสนใจ” และ “ทัศนคติ” ของผู้บริโภค หนึ่งในช่องทางที่แบรนด์จะสามารถดึงมาเป็นข้อมูลได้ คือ พฤติกรรมบนออนไลน์ที่ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์ด้วย เช่น Like, Comment, Share ข้อมูลเหล่านี้เรียกว่า “Data Insights” ที่บ่งบอก “ความสนใจ” ของผู้บริโภคคนนั้นๆ หรือบอกได้ว่า “ทัศนคติ” หรือมุมมองความคิด-ความรู้สึกของผู้บริโภคคนนั้นๆ คืออะไร
นักการตลาด สามารถเอา Data เหล่านี้ มาแบ่งกลุ่มพฤติกรรมผู้บริโภค และเซ็กเมนต์ว่าผู้บริโภคแต่ละคนอยู่ในเซ็กเมนต์ใด มีพฤติกรรม มีความสนใจอย่างไร ชอบ-ไม่ชอบสินค้าประเภทไหน เพื่อประเมินได้คร่าวๆ ว่าลูกค้าเซ็กเมนต์นี้ เข้ามา connect กับแบรนด์เราในช่วงเวลาไหน คอนเทนต์ที่สื่อสารออกไป ชอบแบบไหน
ที่สำคัญ Data Insights ทำให้แบรนด์ค้นพบ “โอกาสทางการตลาดใหม่” ที่สามาถต่อยอดไปสู่การทำ “Cross Category” เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่ก่อนหน้านี้แบรนด์อาจไม่ข้าม ไม่คิดว่าจะเป็นลูกค้าของแบรนด์
เช่น สินค้า Cosmetic สามารถขยายตลาดเข้าสู่วงการกีฬาได้ เพราะคนออกกำลังกาย หรือนักกีฬาก็ต้องการบำรุงผิว และอยากให้ตัวเองดูดีขณะเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายด้วยเช่นกัน อย่างผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด, อายไลเนอร์กันน้ำ หรือเจลจัดแต่งทรงผม เพราะมีนักวิ่งบางคน ไม่อยากให้ผมยุ่งเวลาวิ่ง
เมื่อแบรนด์กีฬา และแบรนด์เครื่องสำอางเห็น Data Insights แบบนี้ ก็สามารถจับมือกันทำ Collaboration ข้ามประเภทสินค้ากัน ช่วยให้ขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ซึ่งกันและกัน
หรือเดิมทีแบรนด์เคยคิดมาตลอดว่า กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มเด็ก และวัยรุ่น แต่ในยุคดิจิทัลที่คนเปิดรับข้อมูลมากมาย ทำให้ความสนใจ และทัศนคติหลากหลาย ดังนั้นจากที่เคยคิดว่ากลุ่มเป้าหมายมีเฉพาะกลุ่มเด็ก – วัยรุ่น ในวันนี้ก็อาจเป็นสินค้าที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน
ดังนั้น นักการตลาดไม่ควรโฟกัสผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ให้นำ Data มา “แตกโจทย์” เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้กับแบรนด์มีตลาดที่ใหญ่ขึ้น
สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่