อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นในเรื่องนี้ว่า การที่ Influencer ซึ่งเป็นบุคคลนั้น จะไปเกี่ยวข้องกับการสร้าง Brand ได้อย่างไร หรือจำเป็นมากแค่ไหนที่ “คน” จะต้องสร้าง Brand ของตัวเองด้วย แต่อันที่จริงแล้วต้องย้ำว่าจำเป็นมากอย่างยิ่งทีเดียว โดยเฉพาะในยุคที่การทำ Marketing Content เฟื่องฟู
MarketingOops! Podcast Influencer Marketing EP.11 จะมาเล่าเรื่องของการสร้าง Branding ของ Influencer ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถคงความเป็นตัวเองได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นที่ดึงดูดใจของทั้ง Brand และ Agency ให้อยากมาร่วมงานด้วย
ทำความรู้จัก BRAND สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาว Marketer
หลายคนอาจจะสงสัยว่า การสร้างแบรนด์จะเกี่ยวกับตัว Influencer ยังไง จริง ๆ แล้วมันเกี่ยวกันค่อนข้างมาก เพราะว่า Brand เป็นเรื่องใหญ่ของฝั่งการตลาด และ Brand ก็เรียกว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมาร์เก็ตเตอร์หวงแหน การที่ Brand จะสร้างกันขึ้นมาได้ ต้องผ่านเวลา การลงทุนกันมายาวนาน การที่เขาจะเอา Brand ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เขาจะต้องดูว่า Brand นั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นหรือไม่ เพราะว่า Influencer ก็ถือว่าเป็น Brand รูปแบบหนึ่งเหมือนกัน ถ้า Influencer มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี Brand ก็คงไม่อยากเอาตัวเองไปเกี่ยวข้องด้วย แม้ว่า Brand อาจจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้ไม่เข้มข้นเท่ากับที่เวลา Brand เลือกพรีเซ็นเตอร์เข้ามาอยู่ในโฆษณา แต่ว่าก็เป็นสิ่งที่ทั้งฝั่ง Brand และ Influencer ควรที่จะต้องใส่ใจในเรื่องนี้
ก่อนอื่นเรามาขอปูพื้นเกี่ยวกับเรื่อง Brand สักเล็กน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นแก่น เป็นสิ่งที่เบสิคที่สุด เวลาเราพูดถึงเรื่อง Brand มีดังนี้
ข้อ 1 จำไว้ก่อนว่า Brand ไม่ใช่ตราสินค้า ไม่ใช่แค่ logo แต่ Brand คือ ทุกอย่างผ่านประสบการณ์ที่ผู้บริโภคมี หรือที่ audience มีต่อเรา ซึ่งเป็นภาพจำ ที่เขาจำเราได้ มันก็ถือเป็น Brand
ข้อ 2 Brand ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการเสมอไป Brand สามารถเป็นทั้งบุคคล สถานที่ องค์กร หรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราพูถึงตัวบุคคลเราก็อาจจะนึกถึงเรื่อง Personal Branding นึกถึงดารา ตัวดาราเองก็มี Brand เช่นกัน บางคนมีภาพลักษณ์ที่ไม่เหมือนกันเลย บางคนดูไฮโซ บางคนดูติดดิน บางคนดูอบอุ่น บางคนดูเจ้าชู้ บางคนเป็นแฟชั่นนิสต้า บางคนอาจจะเป็นสายอินดี้ สายเฮลท์ตี้ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งอันนี้จะเป็นบุคคล ถ้าเป็นบุคคลอีกแบบที่เรารู้จักกันก็คือ การทำ CEO Marketing ก็ยังต้องมีการสร้าง Brand เหมือนกับเวลาที่เราพูดถึง Steve Jobs, Mark Zuckerberg, Richard Branson, Elon Musk หรือ Jack Ma แม้กระทั่ง คุณตัน อิชิตัน เราก็จะรู้สึกถึงความแตกต่างกันของแต่ละบุคคล
ข้อ 3 คนที่สร้าง Brand ขึ้นมาไม่ใช่ตัวองค์กร ไม่ใช่มาร์เก็ตเตอร์ แต่ คนที่สร้าง Brand คือผู้บริโภค คือคนดูคอนเทนต์ คนที่เป็นแฟนคลับคอนเทนต์ของเรา ดังนั้น Brand ถูกสร้างมาบนสมองของคนที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น Brand หนึ่งอาจจะมีภาพจำ หรือสิ่งต่างๆ ที่เขานึกถึง Brand ที่ไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ Brand ที่ดีทุกคนจะเห็นภาพที่ตรงกันหรือคล้ายกันหมด
ข้อ 4 ตัว Brand ก็มีหลายระดับ แต่ทุกระดับจะมีความเป็นตัวแทนอยู่เสมอ ระดับล่างสุดคือการเป็นตัวแทนสินค้า ตัวแทนของการใช้งานของสินค้า จนไปถึงตัวแทนของความเป็นอุดมคติในตัวเรา และสูงสุดก็คืออุดมคติของสังคมเรา
Brand อยากร่วมงานกับ “คนดี” และเป็น “มือโปร”
Influencer ก็คือ Brand รูปแบบหนึ่งเหมือนกัน แต่เราไม่ต้องปั้นแต่งอะไรมาก ไม่จำเป็นจะต้องสร้างภาพจำ ภาพสมมุติแบบ Brand สินค้าให้มาก เพราะว่าเรามีตัวตนอยู่แล้ว เรามีภาพจำจากแฟนๆ จากผู้ติดตามอยู่แล้ว ดังนั้น ขั้นตอนของ Branding ของ Influencer จึงขึ้นอยู่กับ เราจะจัดการ Brand ของตัวเราเองยังไง ในฐานะที่เรียกว่าเป็นมุม minor change กว่าไม่ใช่เป็น major change เพราะว่าถ้าเราอยากจะเป็น Influencer มือโปรที่แบรนด์อยากจะร่วมงาน ดังนั้น เราจะต้องมีการปรับจูน เพื่อให้เข้ากับ Brand ที่เราอยากร่วมงานด้วย
นอกจากนี้ อีกสิ่งที่สำคัญก็คือ Brand ย่อมอยากร่วมงานกับ Brand ที่คล้ายคลึงกัน และทุก Brand สินค้า ส่วนใหญ่บนโลกนี้ เกือบทั้งหมด จะต้องเป็น Brand คนดี เพราะถ้าเป็นคนไม่ดีก็ไม่อยากที่จะสนับสนุน ก็ไม่มีใครอยากจะยอมเสียเงินให้ ดังนั้น เราจะไม่เคยเห็น Brand สนับสนุนเรื่องไม่ดีของสังคม สนับสนุนเรื่องผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม หรือ Brand ที่งมงายหรือทำอะไรจนเกินงาม หรืออาจจะเกี่ยวกับการแกล้งคนหรือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อสังคม
ความแตกต่างระหว่าง Content Creators VS. Brand Influencer
อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามาดูฝั่งของ Content Creators ก็ไม่แน่ เพราะว่าในโลกของ Content Creators เราก็อาจจะเห็นบางช่องที่มีอะไรที่แปลกๆ ด้วยความที่บนอินเตอร์เน็ตเป็นโลกที่ค่อนข้างอิสระเสรี ที่เราจะทำอะไรตามที่เราต้องการ แต่ถ้าเราอยากจะพอใจเป็นเพียงแค่ Content Creators แบบนั้น ไม่อยากยกระดับมาเป็น Brand Influencer จริง ๆ เราก็ทำแบบเดิมนั้นได้ เพราะว่าเราอาจจะทำสนุก ๆ หรือว่าทำแค่เป็น passion ที่เราก็ไม่ได้คิดอะไร แต่ถ้าเราอยากจะเป็น Brand Influencer มืออาชีพจริง ๆ เราอาจจะต้องปรับ Branding ของเราบ้าง อย่างน้อยก็ต้องอยู่ในระดับที่แบรนด์ยอมรับได้ อยากจะร่วมงานกัน
มีคำๆ หนึ่งจาก Youtuber ชื่อดังคนหนึ่ง คือ คุณ softpomz (ซอฟท์ปอมซ์) กล่าวว่า Content Creators ที่ดีจะต้องมี 2 ชอบ ชอบแรก คือ “ความชอบ” เพราะว่าการเป็น Content Creators ที่ดี จะต้องมีความชอบก่อน และอีกระยะหนึ่งถึงจะต้องมี “ความรับผิดชอบ” เมื่อไหร่ก็ตามที่เราทำคอนเทนต์ขึ้นมาบนอินเตอร์เน็ตเพื่อให้คนอื่นเห็น เราก็คือบุคคลสาธารณะคนหนึ่งไปเรียบร้อยแล้ว มันจะหนีไม่พ้นความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้ Brand จะให้น้ำหนักเกี่ยวกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เรียกว่าเข้มข้นขึ้น เราในฐานะ Content Creators หรือ Influencer ก็ควรที่จะระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้
บางคนอาจจะบอกว่าเขาทำคอนเทนต์แบบนั้นไม่เห็นจะผิดกฎหมายอะไร จริงๆ แล้วกฎหมายก็ไม่ใช่ทุกอย่างที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันได้ แล้วถ้าเราเทียบกฎหมายกับเรื่องของการที่เราอยู่ร่วมกันในสังคม กฎหมายก็เป็นเพียงแค่พาร์ทเดียวเท่านั้น ดังนั้น การที่เราอ้างถึงกฎหมายก็เป็นเพียงแค่การมองมิติเดียว และในความเป็นจริงเราไม่มีวันรู้ว่า วันใดวันหนึ่งคนที่จะทำตามอย่างเราจากคอนเทนต์ของเราจะถูกปลูกฝัง ซึมซับทัศนคติแบบไหนขึ้นมา จากคอนเทนต์ที่เราสร้างอย่างไม่รู้ตัวก็ได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่จะมาคุยกันเรื่อง จริยธรรมของ Influencer เพียงแต่อยากจะบอกว่าการสร้าง Brand ที่ดีต้องเกิดจากความตั้งใจที่ดีเป็นจุดตั้งต้น สุดท้ายแล้ว Brand สินค้าที่ดีก็ยังอยากที่จะร่วมงานกับ Influencer ที่ดีเช่นกัน
คำแนะนำสำหรับ Influencer ในการสร้าง Branding
ชีวิตจริงเราต้องมีการ Branding และต้องมีการปรับจูนตัวเราเองบ้าง หากเราต้องการเป็น Brand Influencer ที่มี Brand สินค้าอยากจะร่วมงานด้วย มีคำแนะนำเบื้องต้นง่ายๆ ที่เอาไว้ให้คิดกัน ต่อไปนี้
#1 หาตัวตนให้เจอ
อย่างแรก เราต้องหาแก่นของตัวเองให้เจอ เราต้องถามตัวเองว่า อะไรคือแก่นของเราที่จะไม่มีวันเปลี่ยน เป็นแนวทางของเรา หรือเป็นจุดยืนของเรา ยกตัวอย่าง คุณบี้ เดอะ สกา ซึ่งบอกว่าจะทำแต่คอนเทนต์ที่สร้างรอยยิ้มให้กับผู้อื่น สิ่งที่น่าถาม หรือเป็นคำถามในตอนนี้คือ ‘ทำไมช่องของคุณ ถึงต้องเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้’ อันนี้ถ้าเป็นโลกของธุรกิจมันคือหลักคิด ที่เรียกว่า Start With Why คือการถามถึงจุดเริ่มต้น ถามถึงจุด passion แรก อันนี้คือคำถามแรกที่จะต้องถาม
#2 คอนเทนต์เราคืออะไร
ต่อมาก็ต้องถามต่อว่า อะไรควรจะต้องอยู่ในคอนเทนต์ของเรา? และอะไรที่จะไม่มีวันทำในคอนเทนต์ของเรา? เพื่อแสดงจุดยืนของเรา ในจุดนี้เราอาจจะตีออกมาเป็นเช็คลิสต์เพื่อเช็คออกมาเป็น Do and Don’t เอาไว้บอกตัวเองก็ได้ เช่น เราจะไม่มีวันทำคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับดราม่า เกี่ยวข้องกับความรุนแรง หรือเรื่องการพนัน หรือไม่รับสปอนเซอร์ที่ผิดกฎหมาย
Influencer เปลี่ยน ‘ตัวตน’ ได้หรือไม่ ?
ต่อมาเมื่อเราค้นพบแก่นของเราแล้ว เราจะรู้ว่าอะไรที่เป็นแก่น และอะไรที่ไม่ใช่แก่นที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ ในจุดนี้เองเราสามารถต่อยอดหรือเปลี่ยนอะไรบางอย่างในตัวเราได้ ซึ่งบางคนอาจจะค้นพบว่า แท้จริงแล้วเราอาจจะไม่จำเป็นจะต้องเป็น Beauty Blogger เสมอไป เพราะว่าคนที่ติดตามเราชอบเราในมุมในความเป็นเรา หรืออาจจะเป็นมุมคาแรคเตอร์ของเรา เป็นมุมไลฟ์สไตล์ของเรา ซึ่งถ้าแก่นเราใหญ่พอ เราก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ที่เดิม หรือทำคอนเทนต์ที่เป็นแบบเดียวกันตลอดเวลาก็ได้ แต่สิ่งสำคัญในจุดนี้ก็คือว่าเราต้องไม่ทำให้แฟนของเรารู้สึกว่าเหมือนถูกหักหลัง ถ้ารู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด เพราะว่าต้องการทำเพื่อรับสปอนเซอร์ ดังนั้น จะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญก็คือ Brand เป็น asset ที่สำคัญของเรา โดยเฉพาะกับ Top Fan หรือแฟนเดนตาย เพราะถ้าพวกเขาไม่ยอมรับเท่ากับว่าเราเสียหัวใจ หรือสิ่งที่สำคัญที่สุดของเราไป ดังนั้น ถ้าเราจะทำอะไรเราก็ต้องแคร์คนเหล่านี้เยอะๆ จะต้องค่อยๆ ปรับและศึกษาไปเรื่อยๆ จนเราเจอแนวทางที่ตอบโจทย์ของเรา หรือเป็นในแบบที่แฟนของเราก็ชอบ แล้วก็ยังสามารถดึงดูด Brand สินค้าต่างๆ ได้ด้วย
อะไรคือ? Brand Essence – Brand Promise – Brand Identity
ในส่วนนี้ถ้าเราเข้าใจตัวเองดีพอ เราได้ทำสิ่งที่ภาษาการทำ Branding เป็นคำหลักอยู่ 2 คำก็คือ เรื่องของ Brand Essence และ Brand Promise
Brand Essence ก็คือ หัวใจ หรือที่เรียกว่า Heart and Soul ของ Brand ซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาไม่ว่าจะนานแค่ไหน เช่น Disney คือ “Fun, Family, Entertainment” หรือของ Starbucks คือคำว่า “Rewarding everyday moments”
Brand Promise ก็คือคุณค่าบางอย่างที่คนได้จากเรา คนที่ติดตามเราได้อะไรจากเรา คนที่เสพคอนเทนต์ของเราจะต้องได้สิ่งเหล่านี้กลับไปแน่ๆ มันคือสัญญาที่ให้ไว้ ถ้าเป็น Disney ก็คือคำว่า “Entertainment” ส่วน Starbucks คือความเป็น “Human” และความเป็น “Neighborhood” ส่วน Nike คือเรื่องของ “Inspiration”
ถัดมาที่เราจะพูดถึงก็คือ Brand Identity และมันคืออะไร
Brand Identity ก็คือการออกแบบดีไซน์ ตัวตนของเราให้ออกมาเป็นตัวเราอย่างชัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะผ่านมาด้วย รูปรสกลิ่นเสียง หรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่คนอื่นมีต่อเรา เช่น เราเคยเห็น คุณตัน ใส่หมวกกัปตันทุกครั้งที่ออกสื่อ หรือ Steve Jobs กับเสื้อคอเต่ากางเกงยีนส์ของเขา ก็มักจะมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของเขา ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่คนเห็นต่อเรา ทุกประสาทสัมผัสเลย ทุกจุดด้วย ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ ดีไซน์เว็บไซต์ เสื้อพนักงาน หรือฟอนท์ที่ใช้ ทั้งหมดคือองค์ประกอบหรือ Identity ของเรา
Influencer กับการออกแบบ Brand Identity ให้สร้างการจดจำ
ในมุม Influencer เราจะออกแบบ Identity ได้อย่างไร โดยจะแบ่งออกเป็น 2 มุมหลักๆ ดังนี้
1.สร้าง Identity ผ่าน Content
ก่อนหน้านี้ เราได้แก่นของเรามาแล้ว ต่อมาเป็นเรื่องของ การออกแบบคอนเทนต์ให้สะท้อนตัวเรา โดยเฉพาะการทำคอนเทนต์ที่เรียกว่า อยากทำอย่างต่อเนื่อง โดยคอนเซ็ปต์ที่กำลังจะพูดถึงคล้ายๆ กับสิ่งที่เรียกว่า Personal Branding ซึ่งก็คือการทำ Marketing ตัวเราเองให้โดดเด่นกว่าคนอื่นในวงการ คือถ้าคนพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คนทั่วไปจะต้องนึกถึงเราออกมาเป็นคนแรก ในจุดนี้ถ้าเป็นไปได้อยากแนะนำว่า ให้เลือกเป็นหมวดคอนเทนต์ที่เฉพาะเจาะจงค่อนข้างมาก ที่เรียกว่า Niche คือเฉพาะเจาะจงและโฟกัสในจุดนี้แล้วก็ทำมันไปเรื่อยๆ จนคนจำได้ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกหมวดคอนเทนต์ที่ยังไม่มีเจ้า (ประจำ) อยู่ ซึ่งถ้าเราทำตามเขายังไงก็ไม่มีทางโดดเด่น เราก็อาจจะไม่ได้เจอ Identity ที่เป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งจริงๆ แล้วมันยังมี หมวดคอนเทนต์ที่มีอะไรอีกเยอะมาก แค่หาเส้นทางของตัวเองให้เจอ และหลักการคือเราไม่ควรจะ mass เพราะว่า mass ก็คือไม่มีอะไรเลย และ mass ก็มีคนทำมาก่อนเยอะแล้ว เราจะต้องทำอะไรที่โดดเด่นในมุมเล็กๆ ของเรา อันนี้พูดถึงในสมัยนี้
2.ปรับแต่งตัวตน ให้ดึงดูด Brand หรือ Agency
มุมที่ 2 ก็คือการปรับแต่งตัวตนของเราให้มีลุคส์ที่ดีเพื่อดึงดูด Brand หรือ Agency ที่จะเปิดโอกาสให้เราได้ร่วมงาน คล้ายๆ กับคนที่แต่งตัวสวยๆ หล่อๆ ทำให้คนอยากหันมามอง สำหรับวิธีการก็คือ อยากให้มองช่องของเราเหมือนเป็น resume แบบหนึ่ง ที่อยู่ตรงกลางระหว่างความเป็นตัวตนของเรากับความเป็น professional ถ้าถามถึงวิธีการเราก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก กึ่งๆ เข็มทิศนิดนึ่ง
- ปรับฟีเจอร์แพล็ตฟอร์มให้ดี อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็น Brand หรือ Content Creators หรือ Influencer ที่อยู่ในแพ็ลตฟอร์มไหน เพราะว่าแพล็ตฟอร์มแต่ละอันมีจุดที่ customize ไม่เหมือนกัน เราควรตั้งคำถามตัวเองก่อนว่า เราให้ข้อมูลที่เพียงพอหรือยังเวลาคนมาเจอเรา เราใช้คำที่ดูดีน่าอ่านหรือเปล่า เมื่อเจ้าของแบรนด์มาเห็นก็จะสามารถเข้าใจเราได้ในฟีเจอร์วิดีโอนั้นทันที หรือแพล็ตฟอร์มนั้นทันทีหรือไม่ เพื่อปรับตัวเราเองให้มันมีลุกส์ที่ดูดี ดูโอเค.ทำให้เขาอยากจะสนใจเรา
- มีช่องทางการติดต่อให้หรือไม่ เพื่อใหดูมีความเป็น professional รวมทั้งภาษาที่ใช้ในการให้ข้อมูลถ้าดูเป็นมือโปร ก็จะเปิดโอกาส Brand ต่าง ๆ อยากร่วมงานด้วย
การเตรียมข้อมูลแบบมือโปร ที่ Brand อยากวิ่งหา
ต่อมาเมื่อ Brand สนใจแล้ว ประตูเปิดแล้วมีการติดต่อเข้ามาแล้ว ก็จะเข้าสู่ฝั่งธุรกิจเต็มๆ แต่เราทำตัวเองอย่างไรให้ดู professional แต่เรามีไฟล์ที่เราควรจะมีให้กับเขาเตรียมไว้เลยหรือยัง เราสามารถให้ได้เลยไหมเวลาที่ถูกร้องขอขึ้นมา ซึ่งไฟล์หลักๆ ที่เตรียมไว้เสมอจะมีอยู่ 2 อย่าง
1.Credential ไฟล์แนะนำตัว
ซึ่งควรจะลงทุนทำเพื่อให้ออกมาดูดีมาก ๆ และถ้าเป็นไปได้ ควรจ้างดีไซนเนอร์มาทำด้วยซ้ำไป ซึ่งข้อมูลใน Credential เป็นการสื่อเลยว่าเรานั้น professional แค่ไหน สำหรับข้อมูลที่ควรจะมีใน Credential ได้แก่อะไรบ้าง
- การแนะนำตัวเองว่าเราเป็นใคร ทำคอนเทนต์แนวไหน ซึ่งเราสามารถใส่สิ่งที่เรียกว่า motto ประจำตัวของเราก็ได้ หรือเราจะใส่สิ่งที่เรียกว่า persona ของเราก็ได้ ก็คือ การอธิบายทุกแง่มุมของเราอย่างที่ทำให้คนรู้จักเราในทุกๆ มิติ เพื่อให้คนรู้จักตัวตนของเราดียิ่งขึ้น แต่ว่าเราต้องออกแบบไม่ให้มันดูเยอะหรือว่ารกจนเกินไป
- การบอกว่า audience profile ของเราคือใคร ผู้ติดตามของเราเป็นใคร มีช่องทางไหนบ้าง มีคนตามเท่าไหร่ และผู้ติดตามเรามีข้อมูลอะไรที่เราสามารถเข้าไปตามในแพล็ฟอร์มได้บ้าง มีผู้หญิงผู้ชายกี่เปอร์เซ็นต์ อายุเป็นอย่างไร อยู่ในจังหวัดไหนมากกว่ากัน เพราะนักการตลาดเองจำเป็นต้องรู้ว่าฐานแฟนของเรา เป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มเป้าหมายของเขาหรือเปล่า
- เราเคยมีผลงานที่เคยร่วมกับแบรนด์อะไรมาบ้าง แล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร มี success story หรือเปล่า เพื่อให้แบรนด์เห็นว่าเรามีประสบการณ์ไม่ใช่มือใหม่ และเราก็มีผลงานที่ดีด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเมื่อร่วมงานกับเรา
2.Rate Card หรือ ข้อมูลค่าตัว
บอกค่าเสียเวลาของเรา ซึ่งบางทีหลายๆ ท่านก็จะไปรวมอยู่ที่ Credential เป็นไฟล์เดียวกัน แต่ว่าตัว Rate Card คือส่วนที่สำคัญเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้เราควรบอกให้ชัดเจนเลยว่า ของเราแบ่งตามอะไรได้บ้าง เช่น แบ่งตามแพล็ตฟอร์ม เป็น Facebook ราคาหนึ่ง บน Instagram ราคาหนึ่ง หรือบน TikTok ราคาหนึ่ง และถ้าคอมโบเป็นราคาหนึ่ง ต่อมาคือภาพนิ่งหรืออัลบั้มภาพ เป็นวิดีโอแบบสั้นวิดีโอแบบยาว หรือ article ราคาก็ควรจะมีความแตกต่างกัน ก็คือควรจะระบุไปให้ชัดว่าเป็นอย่างไร หรือถ้าเราต้องทำคอนเทนต์ที่ยากกว่าปกติ หรือต้องออกกองต่างจังหวัดไปร่วมอีเวนต์ ก็ควรจะต้องมีเรตของราคาแต่ละแบบที่แตกต่างกัน
และนอกจากราคาหลักแล้ว ก็ต้องมีราคาอื่นด้วยเช่น ค่า fee (ค่าธรรมเนียม) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่า fee เมื่อ Influencer จะซื้อสื่อโฆษณาแทน Brand หรือ เงื่อนไขอื่นๆ ที่เราอยากบอกให้ทราบ Brand ทราบ เช่น เรื่องของ Credit Term ในการชำระเงินบอกให้ชัดเจนเลยว่า การชำระเงินของเราเป็นอย่างไร หรือระยะเวลาที่เราทำคอนเทนต์แล้วจะเก็บไว้ในแพล็ตฟอร์มของเรามีกำหนดเวลาหรือเปล่าว่ากี่วัน กี่เดือน กี่ปี แล้วเราจะลบออกไป หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่ควรติดไว้เพื่อให้เกิดความแฟร์กับเราและเกิดความแฟร์กับ Brand ก็ควรจะระบุให้ชัด
ทั้งหมดนี้ก็ควรจะระบุให้ละเอียดและชัดเจนแต่แรก ฝั่ง Influencer เองก็เช่นกัน ไม่อย่างนั้นก็จะเกิดปัญหาไม่ลงรอยกัน และท้ายที่สุดก็ต้องมีฝ่ายหนึ่งที่ win และฝ่ายหนึ่งที่ lose ในการทำงาน แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายมีรายละเอียดในการตกลงกันตั้งแต่ตอนบรีฟหรือตั้งแต่วันแรกโอกาสที่จะเกิดข้อขัดแย้งก็จะมีน้อย และงานที่ออกมาก็จะ win win กันทั้งสองฝ่าย
บทสรุป
Influencer ควรมองตัวเองเป็น Brand เพื่อดึงดูด Brand ให้อยากร่วมงานกับเรา และดึงดูด Brand ที่เราอยากร่วมงานด้วย ซึ่งการทำ Branding ของตัว Influencer ไม่ได้ซับซ้อนเท่ากับการทำ Branding ของสินค้า เพราะไม่ได้เริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ศูนย์ เพียงแต่ว่าเราแค่หาแก่นตัวตนที่แท้จริงของเราออกมาให้เจอ แล้วก็ตีมันออกมาเป็นภาษาที่มันดูยิ่งใหญ่
จากนั้นบอกตัวเองว่า อะไรคือสิ่งที่จะต้องอยู่ทุกครั้งในคอนเทนต์ของเรา และอะไรคือสิ่งที่เราจะไม่มีวันทำ อะไรเป็นสิ่งที่เราปรับเปลี่ยนได้ และอะไรคือสิ่งที่แฟน ๆ ของเรารับได้ หากต้องมีการเปลี่ยนแปลง
รวมถึงการการทำ Identity ของเราให้มันชัดเจน ดู Professional ไม่ดูเฟค ซึ่งมี 2 ส่วนหลักๆ ที่ต้องทำก็คือ การสร้างตัวตนของเราที่เป็นแบบ 1.Personal Branding ผ่านคอนเทนต์ของเรา ก็คือการออกแบบคอนเทนต์อะไรที่ทำให้เราโดดเด่น และคนนึกถึงเราเป็นคนแรก และ 2.การปรับแต่งตัวตนของเราให้มีลุกส์ที่ดี 3.ก็คือการเตรียม Credential และ Rate Card ของเราให้พร้อมและดูดีอยู่เสมอ มีข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอที่จะทำให้แบรนด์และเอเจนซี่มองหาและมันดูเป็นมืออาชีพ
สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่