MarketingOops! Podcast Influencer Marketing ตอนที่ 5 หลังจาก episode ที่แล้ว ได้พูดถึง “Influencer Mix” ที่ประกอบด้วย 4 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่ม Maven คือผู้เชี่ยวชาญ / กลุ่ม Icon คนดัง เช่น Celebrity / กลุ่ม Tribe Leader ผู้นำกลุ่มใน community ต่างๆ / กลุ่ม Social Peers คนทั่วไป
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีศัพท์เกี่ยวกับ Influencer มากมายอย่างไร เช่น Net Idol, KOL (Key Opinion Leader, Blogger, Content Creator, Vlogger, Reviewer, Micro Influencer ต้องอยู่ภายใต้ Influencer Mix 4 กลุ่มนี้
ใน episode นี้ มาเจาะลึกคนที่มีฐานแฟนบนออนไลน์ สามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Content Creator, Life Influencer และ Brand Influencer
– “Content Creator” ในชีวิตจริง คนทุกคนเป็น Content Creator เพราะทุกคนสามารถสร้างคอนเทนต์ได้ เพียงแต่ว่าคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นนั้น อาจไม่ได้ถึงขนาด Influence แต่อาจโน้มน้าวในลักษณะของ Motivation เหมือนเช่นรายการหรือโฆษณาที่ไม่มีพรีเซนเตอร์
– “Life Creator” ในลำดับต่อมา เมื่อคนทำคอนเทนต์มีตัวตนที่คนจดจำได้ระดับหนึ่ง จะสามารถส่งอิทธิพลต่อคนอื่นได้ในชีวิตประจำวันได้ โดยใช้วิธีคัดกรองตามหลักคิดแบบ Influencer Mix
โดยทั่วไปแล้ว Life Creator จะสร้างคอนเทนต์ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง นำเสนอเรื่องที่ตัวเองสนใจ และเมื่อผสานทั้งตัวตนและคอนเทนต์ สามารถส่งอิทธิพลต่อคนในมุมทั่วไปได้ในระดับที่มากน้อยต่างกันไป
ดังนั้นคนที่จะมาเป็น Life Creator ต้องเป็น Somebody ที่เกิดขึ้นบนออนไลน์มาแล้วสักพัก มีฐานแฟน และคนให้ความเชื่อถือสิ่งที่เราพูด
– “Brand Influencer” ถึงแม้ Life Influencer สามารถส่งอิทธิพลในชีวิตประจำวันทั่วไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นตัวกลางที่่ช่วยส่งแรงอิทธิพลนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อแบรนด์ได้ด้วย ในขณะที่ Brand Influencer คือ Influencer ที่ร่วมงานกับแบรนด์ ซึ่งแบรนด์ต้องพิจารณาว่า Influencer คนไหนสามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ทางการตลาดของแบรนด์ได้
แต่ทั้งนี้ Influencer หนึ่งคน ไม่จำเป็นต้องมีอิทธิพลต่อฐานแฟน หรือ Audience ทุกคนในระดับเท่ากันก็ได้ เพราะระดับ Influence จะมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับมุมมอง – ความคุ้นเคยของผู้ที่ติดตาม และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ
สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่