มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากฝากกัน เพราะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เข้าไปอยู่ใน Clubhouse ค่อนข้างเยอะ และได้สัมภาษณ์คนดังๆ มากมาย ที่เป็นแบรนด์ไทยบุกตลาดจีนมาแล้ว และก็ได้เรื่องราวและได้ประสบการณ์เยอะแยะ ที่จะเอามาแชร์กันในวันนี้ สรุปวิธีบุกอีคอมเมิร์ซจีน ปี 2021 จากประสบการณ์จริง
MarketingOops! Podcast China Market Insight Ep.18 จึงชวนมาฟัง วิธีที่จะบุกตลาดอีคอมเมิร์ซของจีน ซึ่งผ่านมาจากประสบการณ์ของแบรนด์ไทย อาทิ สเนลไวท์ และมิสทีน เป็นต้น
คนจีนเลิฟแบรนด์และสินค้าจากไทย โอกาสดีของคนไทย
อันดับแรกคือเรื่องของ “สินค้า” เมืองไทยถือว่าเรามีสินค้าคุณภาพดี จีนชอบแบรนด์ไทยค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็น คอสเมติก เช่น มิสทีน สเนลไวท์ บิวตี้บุฟเฟ่ต์ และก็ชอบขนมและอาหารไทย หรือผลิตภัณฑ์ไทยอื่นๆ เช่นหมอนยางพารา หรือยกทรงยางพาราก็ดี ซึ่งยอดขายก็เป็นไปด้วย ยกตัวอย่าง “มิสทีน” เขาเคยประกาศว่าเขาทำได้ 4,000 ล้านบาท ภายใน 1 ปี หรือ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ก็พบว่าใน “เถาเป่า” ที่ ทีมอลล์ มียอดขายสูงมาก ประมาณ 1 ล้านบาทต่อเดือน แสดงว่าตลาดนั้นใหญ่มาก จริงๆ แล้วมีอีกตัวคือแม่และเด็ก ไม่ว่าจะเป็นขวดนม หรืออุปกรณ์ซักผ้าของเด็กตอนนี้ก็กำลังมาแรง ถ้าอย่างนั้นใครอยากจะมีผลิตภัณฑ์ที่ส่งขายไปที่จีน ก็อยากให้ดูในเถาเป่าก่อนว่าขายดีหรือไม่
นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มก็คือ คนจีนชอบที่จะเปรียบเทียบราคา ดังนั้น เวลาเอาของไปขายก็ต้องเปรียบเทียบราคากับสิ่วที่อยู่ในตลาดยอู่แล้วด้วย รวมไปถึงแบรนด์คู่แข่งของจีนเอง หรือแบรนด์อินเตอร์เนชั่นแนลที่ส่งเข้าไปขายในจีนก็เล่นกัน โดยการวางราคา ก็ต้องเทียบกับคู่แข่ง คือถ้าไม่เท่ากันก็ต้องดีกว่า และอีกสิ่งที่สำคัญคือ ราคาจะต้องเป็นราคาที่รวมแล้ว ทั้งค่าขนส่งและค่าภาษีเพราะว่าคนจีนเวลากดซื้อเขาจะหวังว่าทุกอย่างจะรวมมาให้แล้ว
ช่องทางการขายในจีน
แน่นอนว่าในเมืองจีนมีอีคอมเมิร์ซเยอะแยะมากมาย แต่ว่าสิ่งที่เราโฟกัสคือ “ทีมอลล์” กับ “เถาเป่า” 2 อันนี้คืออยู่ในเครือ Alibaba โดย ทีมอลล์ เป็นแบบ B2C ส่วน เถาเป่า จะเป็น C2C เสียส่วนใหญ่
1.“ทีมอลล์”
หลายๆ แบรนด์ในเมืองไทยก็เปิดทีมอลล์ก่อน ไม่ว่าจะเป็น สเนลไวท์ คิงส์พาวเวอร์ หรือมิสทีนเอง ก็เปิดทีมอลล์ แต่คนที่จะเปิดได้ คือจะต้องเป็นแบรนด์ใหญ่มีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง และส่วนใหญ่ถ้าเป็นแบรนด์แบรนด์เดียวเขาก็จะเปิด Flagship Store ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของ ทีมอลล์ แต่ว่ามีอีกคนหนึ่งในประเทศไทย คือ ไทยพาณิชย์ ได้เปิดเป็น Specialty Stores เป็นแบรนด์ดิ้งของ SCB แต่ว่าข้างในก็ขายของไทยหลายๆ อย่างได้ ซึ่งวิธีนี้ยากมากเลยในการเปิดจะต้องเป็นบริษัทที่ใหญ่พอควรเลยและก็ใช้กำลังภายในเยอะพอสมควรเลย
นอกจากนี้ จะต้องมี warehouse ของตัวเอง นั่นคือ Bonded Warehouse คือ “ไช่เหนียว” เป็นเครือขายโลจิสติกส์ของเขา อีกส่วนหนึ่งก็คือต้องมี TP หรือ Trade Partner คอยดูแล ก็คือต้องจ้างบริษัทหนึ่งที่มีไลเซ่นในการช่วยบริหารหรือโอเปอเรท เพราะว่าเขาอยากให้มาตรฐานถึงระดับที่เขายอมรับได้ อีกอันคือเรื่อง Requirement ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อายุของผลิตภัณฑ์ก็ต้องมี เพราะมันมีผลทั้งนั้น อย่างเช่นกว่าห้ามเกิน 6 เดือน ส่วน Commission อยู่ที่ประมาณ 3-5% แล้วแต่ผลิตภัณฑ์
ข้อดีและข้อเสียของ ทีมอลล์
ทีมอลล์ จะได้เรื่อง Branding และการสร้าง awareness ที่ดี และที่สำคัญเลยคือ KOL และ Net Idol เจ้าใหญ่ๆ เขาจะให้การยอมรับหรือยินดีต้อนรับสำหรับการเอาไป Live มากกว่าที่เป็น เถาเป่า แต่ข้อเสียคืออาจจะมีการลงทุนที่สูงกว่า
2.“เถาเป่า”
สำหรับ SME ไทย เหมาะกับ “เถาเป่า” มากกว่า ซึ่ง เถาเป่า เป็น C2C คล้ายกับ Lazada Shopee ที่ใครๆ ก็เปิดได้ แต่ข้อดีของมันคือมันมีโกลบอลเถาเป่าด้วย หรือครอสบอร์เดอร์เถาเป่า คือว่าเราขายผลิตภัณฑ์เข้าไปในประเทศจีนได้โดยยังไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าอย่างถูกต้อง มันเป็นแบบช่วยส่งเสริม Cross border e-commerce กัน
เถาเป่าดีตรงไหน แน่นอนคือ 1.ต้องใช้ ไอดีการ์ดคนจีน ซึ่งคนไทยไม่สามารถเปิดได้ แต่ว่าถ้าเปิดได้ หรือถ้าเรามีเพื่อนคนจีนที่เรายืมมาได้ สิ่งที่น่าสนใจเลยคือรีไควเมนต์ต่างๆ ขั้นตอนต่างๆ มันง่ายขึ้นเยอะเลย ไม่ว่าจะเป็นการอัปโหลดที่เร็วขึ้น ไม่ต้องขออนุญาตอะไรมาก 2. คือมันไม่ค่อยมีเรื่องรีไควเมนต์ในเรื่องของอายุของผลิตภัณฑ์หรือของควอลิตี้อะไรมากมาย ดังนั้น เราสามารถเอาขึ้นได้ง่าย เหมาะสำหรับ SME ที่อยากจะบุกตลาดจีน
ข้อเสียของเถาเป่า คือมันดูไม่น่าเชื่อถือเพราว่า มันอาจจะไม่ใช่ชื่อแบรนด์ และมันอาจจะไม่ใช่ B2C แต่ว่าเราก็ต้องถือว่าก็ต้องชั่งน้ำหนักดูว่าอันไหนดีไม่ดี และด้วยความที่ชื่อเสียงมันไม่ค่อยดี แปลว่าแบรนด์ มันไม่ค่อยได้ สมมุติว่าเราเป็นแบรนด์ X มาเปิดในเถาเป่า มาเปิดในทีมอลล์ดีกว่าเยอะเลย
สรุปง่ายๆ คือ SME ควรจะไป เถาเป่า ก่อน และถ้าเป็น แบรนด์ใหญ่ คือทุ่มเงินเลย คือว่า ลุยตลาดอีคอมเมิร์ซจีนเลยคือ ทีมอลล์
โลจิสติกและแวร์เฮาส์ ในจีน
เรื่อง โลจิสติก กับแวร์เฮาส์ ในการเข้าจีนปกติแล้วจะต้องเข้าแบบเจเนรัลเทรด ถ้าอยากจะไปขายตามซุปเปอร์มารเก็ต หรือออฟไลน์ต่างๆ แต่หลายคนก็ติดปัญหาตรงนี้เพราะว่า การขออนุญาตนำเข้าค่อนข้างยาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมอะไรต่างๆ ทางสเนล์ไวท์แชร์มาว่าเข้ายากมาก รู้สึกว่าของสเนล์ไวท์ เข้าไปครอสบอร์เดอร์ขายแบบข้ามประเทศไปหลาย SKU มาก ประมาณ 12-14 SKU แต่ว่าตัวที่สามารถนำเข้าแบบเจเนอรัลเทรดได้มีอยู่แค่ 5 ตัวประมาณนี้ แปลว่าขอยากมากทีเดียว
ถ้าเราพูดถึงครอสบอร์เดอร์อีคอมเมิร์ซ ดียังไง ยังไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าอย่างถูกต้อง แต่สิ่งที่ต้องทำคือรีจิสเตอร์ หรือว่าลงทะเบียนกับ ตม. ในผลิตภัณฑ์ที่เราจะนำเข้าแล้วก็นำไปวางไว้ใน Bonded Warehouse หรือว่าคลังทัณฑ์บนนั่นเอง มันก็คือคลังสินค้านี่แหละ แต่ว่าอยู่ในความควบคุมของ ตม. แต่ว่าไม่สามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้ ต้องขายผ่านทางช่องทางอีคอมเมิร์ซทีบอกเท่านั้น เพราะว่าภาษีปกติแล้วเจเนอรัลเทรดจะต้องจ่ายภาษีอัปฟรอนต์ คือเหมาจ่ายตามจำนวนนั้นเลย แต่ว่าถ้าเป็นครอสบอร์เดอร์จะจ่ายเป็นชิ้นต่อชิ้น ซึ่งตอนนี้ภาษีอยู่ที่ 9.1% พอเราเอาของไปไว้ ไม่ว่าจะผ่านเครื่องบินหรือว่าทางเรือ แต่แนะนำว่าต้องเป็น SKU ที่ขายดีมีการวนหรือขายออกเร็วเพราะว่า การเข้าไปแล้วออกมาในการขายนี่โอเค.ถ้าหมดอายุแล้วหรือว่าเราอยากจะเอากลับคืนมาแล้วเอาอยากมาก บางคนส่งไปเฉพาะฮ่องกงก็สามารถทำได้แต่ก็ราคาค่าใช้จ่ายก็อาจจะแพงกว่าการที่ให้เขาทำลายอยู่ทีนั่น destroy มันทิ้งไป
และอีกสิ่งที่ควรรู้คือ “ค่าขนส่ง” ของเขาเป็น Fulfillment Center แปลว่าถ้ามีออร์เดอร์มาปั๊บเขาก็จะช่วยส่ง ไม่ว่าจะเป็น ทีพีช่วยส่ง หรือว่าเป็นของเครือไช่เหนียว เวลาเขาส่งจะมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ ส่วนใหญ่แล้วนอกจากแท็กที่เราจะต้องเสียไป ก็คือค่าขนส่ง last miles ตั้งแต่คลังสินค้าจนถึงหน้าบ้านลูกค้า ซึ่งตรงนี้ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ประมาณ 8-15 หยวนต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม คิดว่าเวลาทำจริงๆ การลงมือทำมันค่อนข้างง่าย ถ้าได้แพลนก่อนล่วงหน้าพวกนี้อาจจะดูยุ่งยากสักเล็กน้อย
การทำ In Platform
เรื่องถัดมาคือเรื่อง In platform marketing ใน ทีมอลล์ และ เถาเป่า มีคนขายเยอะแยะ มากมาย เป็นล้านๆ ช้อปเลยทีเดียว ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือการโฆษณา In platform
ทั้งนี้ In platform คือเวลาที่คนเสิร์ชเข้ามาใน ทีมอลล์ หรือ เถาเป่า เป็นทราฟฟิกที่อยู่ในนั้นอยู่แล้ว และเราอยากจะทำให้เขาเห็นผลิตภัณฑ์ของเรา ซึ่งแปลว่าเราต้องทำการโฆษณาใน Key words ที่เราต้องการ เช่น เราทำเครื่องสำอาง เราก็ต้องใส่คำว่า “เครื่องสำอาง” หรือว่า “สกินแคร์” หรือว่า “แฮนด์ครีม” จากไทย ถ้ามีคนเสิร์ชมาของเราก็จะขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ แบบโฆษณา อันนี้เขาเรียกว่า “จื่อทงเชือ” เป็นวิธีการยิงโฆษณาแบบคีย์เวิร์ด จริงๆ แล้วนอกจากนี้ใน In platform ยังมีอีกเยอะเลย สิ่งที่จำไว้คือตัวคีย์เวิร์ดสำหรับเสิร์ช
นอกจากตรงนี้แล้วก็ยังมีในส่วนโซเชียลมีเดียทั่วๆ ไปด้วย ซึ่งก็ได้มีคำถามกับทางสเนลไวท์ และ SCB ว่างบประมาณในการยิงโฆษณาใน In platform เท่าไหร่และ Out platform เมื่อเทียบกัน ซึ่งสรุปมาได้คือ 70:30 ตอนแรกถ้าเป็นแบรนด์ที่ยังไม่มีคนรู้จักมากนักในเมืองจีน แต่เมืองไทยก็อาจจะดังแล้ว แต่ว่าพอเข้าเมืองจีนก็อาจจะยังไม่มีแบรนด์ดิ้งชัดเจน ดังนั้น ก็ควรจะใช้ Out platform ให้เยอะกว่า คือ Out platform สัก 70% และ In platform คือ 30% แต่ว่าถ้าสมมุติว่ามีคนที่รู้จักแบรนด์เราอยู่แล้ว ถ้าอยากแค่กระตุ้นกระแสของมัน ก็ควรจะลง In platform ประมาณ 70% ส่วน Out platform ก็คือ 30%
การทำ Out Platform
Out platform เน้นย้ำประมาณ 3 ตัว คือ ตัวแรกคือ “เสาหงชู” หรือ Little red book อันนี้ไว้สำหรับรีวิวโดยเฉพาะเหมือน คล้ายๆ IG รีวิวสินค้าประมาณนี้ อันที่ 2 คือ โต่วอิน หรือ TikTok โต่วอิน ตัวนี้คือดังมาก และอีกตัวคือ ไคว่โชว่ ก็ลองศึกษาดูว่า Short VDO Platform ของจีนตอนนี้อะไรดังบ้าง ซึ่งตรงนี้ทำให้ Awareness เกิดขึ้นง่ายมาก และ ไวรัลได้ง่ายมากเลย อันที่ 3 ของ WeChat ไม่สามารถยิงโฆษณาได้เยอะมากขนาดนั้นหรือเข้าถึงได้มากขนาดนั้น แต่ว่าสิ่งที่สำคัญคือไม่ว่าจะช่องทางไหน ถ้าดึงเข้ามาใน WeChat เพื่อปิดการขาย ไม่ว่าจะเป็น WeChat มินิโปรแกรม หรือว่า WeChat Shop ก็สามารถทำได้ดี และก็ เขาเรียกว่า Private Traffic ถ้าเราสามารถ ทำ CRM ดูแลลูกค้าผ่านทาง WeChat ได้ให้เขาซื้อซ้ำ ทำให้งบการตลาดของเราน้อยลงได้
การทำ LIVE สร้างยอดขายและปั้น Awareness
LIVE เป็นสิ่งที่เราไม่พูดไม่ได้เลย เพราะถ้าอยากจะได้ยอดขายจริงๆ จังๆ ก็คือทุกคนจะต้อง LIVE ขายของ วิธีการ LIVE มีสองส่วนด้วยกัน
วิธีแรก คือใช้ KOL หรือ Net Idol เมืองจีนที่ LIVE ผ่านทาง เถาเป่าหรือโต่วอินอยู่แล้ว วิธีที่เขาทำกันคือเขาจะมี 1 ชั่วโมง ในการ LIVE ในแต่ละช่วง เสร็จแล้วเขาก็จะไปรวมในนั้น ถ้าเป็น หลี่จาฉี หรือ ออสติน ลี หรือว่า วีย่า พวกนี้คือคนที่ LIVE ขายของได้เก่งที่สุดในโลกเลย วิธีการจ้างเขาก็เข้าไปในเถาเป่าได้ การจ้างก็จะมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นก่อน ไม่ว่าจะเป็น 5 แสนบาท หรือ แสนบาท แล้วแต่ตกลง จากนั้นคือ เขาจะเลือกว่าเป็น ทีมอลล์หรือเปล่าและเป็นแบรนด์ที่น่าสนใจหรือไม่ 3 โดยจะเอา จีพี หรือค่าคอมฯส่วนแบ่งประมาณ 20%-30% สุดท้าย เราจะได้ LIVE ของเขาประมาณ 5-10 นาทีเท่านั้นเอง แต่ว่าจากที่ได้สัมภาษณ์หลายๆ แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น ปราณปุริ หรือสเนล์ไวท์ เขาก็จะบอกว่ายอดขายถล่มทลายเลยเป็นสิบๆ ล้านเลย
ข้อดีของการ LIVE คือทำให้คนเห็นเยอะ แบรนด์ดิ้งเร็ว ขายของได้จริง แต่เราต้องเมคชัวร์ว่าของๆ เรา มีหลายเคสมากมีขายดี จนเทน้ำเทท่า แต่ว่าเราต้องเมคชัวร์ว่าของๆ เราต้องพร้อม เพราะว่ามีหลายเคสมากเลย ที่ขายดีเทน้ำเทท่าจนของหมดแล้วโดนต่อว่า ทำให้แบรนด์นั้นเสียไป แต่ว่าหลายๆ คนบอกว่า การ LIVE ขายของได้เงินก็จริงแต่ว่าด้วยค่าตัวแล้วหรือด้วยคอมมิสชั่นแล้ว ก็อาจจะไม่ได้กำไรมากนัก แต่ข้อดีของมันคือ ranking หรือการจัดอันดับสินค้าของเราที่จัดอันดับในหน้าเถาเป่าและทีมอลล์มันก็ขึ้นอยู่กับยอดขายด้วย ดังนั้น ถ้าเราให้เขา LIVE แล้วยอดขายเราดี ช่วง 30 วันย้อนหลัง ก็ทำให้ ranking ของเราอยู่อันดับต้นๆ เลย
วิธีที่สอง นอกจากการใช้ KOL แล้ว ตอนนี้ก็มีกระแสคือการใช้ “ดารา” คือ “ดาราไทย” ที่คนจีนรู้จักที่เขาจะมีโซเชียลมีเดียในจีน ที่มีฐานฟอลโลวในจีนมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ตอนนี้มี Series Y หรือแนว Boy Love เช่น มิว-กัฟท์ พีพี-บิวกิ้น ไบรท์-วิน ทำให้คนจีนโหมกระหน่ำเข้ามาดู ข้อดีคือ LIVE ผ่านทางช่องทางเรา คือถ้า KOL เขาจะ LIVE ผ่านทางช่องทางของเขา ซึ่งมีคนดูเยอะจริง แต่อันนี้ถ้าเราจ้างดารามาจะ LIVE ผ่านทางช่องทางเรา ทีนี้ช่องทางเราจะดีตรงไหน คือช้อปของเราก็จะมี Follower เพิ่มขึ้นด้วย และเราสามรถต่อรองราคาเพื่อให้ขายสินค้าหลายๆ อันได้ และ 1 ชั่วโมงเต็มๆ เป็นของเราเลย อันนี้น่าสนใจมากเลยใช้ดาราไทยปั้นกระแสปั้นยอดเราได้ ทั้งสองอันนี้ทำให้ยอดเราดี ranking ดีในอนาคต
สรุปโดยรวมแล้ว มันก็มีโอกาสที่แบรนด์ไทยบุกตลาดจีน ผ่านอีคอมเมิร์ซไม่ว่าจะเป็น ทีมอลล์ หรือ เถาเป่า และก็มีช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย แต่ว่าอยากจะให้คำแนะนำว่า ถ้าเป็นแบรนด์ใหญ่ลุยทีมอลล์เลย ถ้าเป็น SME ลุยเถาเป่าก่อน และถ้าเป็นแบรนด์ใหญ่ก็อยากให้ดูลองเทิร์มซัสเซสก่อน อาจจะดูไป 3-5 ปี ว่าเราอยากจะลุยตลาดจีนจริงหรือไม่ ไม่ใช่แค่ 1-2 ปี แล้วถอนทัพกลับบ้าน เพราะว่ามีหลายคนแชร์ หรือหลายๆ แบรนด์แชร์กันว่ายอดขายมันมาจริงแต่ว่าอยากจะได้กำไรกลับมาถือเป็นเรื่องยาก เพราะว่าช่วง 1-2 ปีแรกยังเป็นการสร้างแบรนด์ดิ้งให้คนจีนรู้จัก พอติดลมบนทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น อย่างเช่น “มิสทีน” เป็นต้นตอนนี้เขาก็มี 200 คนอยู่ที่เมืองจีน และก็มีออฟฟิศ 4 แห่งอยู่ที่นั่นด้วย และมีทีมอลล์โกลบอลที่เป็นครอสบอร์เดอร์ สเต็ปต่อไปหลังจากที่ทำครอสบอร์เดอร์ ถ้าสามารถปั้นยอดได้ ทำได้ก็โอเค. แต่ว่าถ้าเราเห็นว่าผลิตภัณฑ์ไหนขายดีมากๆ มีการศึกษาวิธีนำเข้าอย่างถูกต้องแล้ว อย่างเช่นเป็น เจเนรัลเทรด เพราะข้อดีของมันคือ เราสามารถหาดิสทริบิวเตอร์และยิงไปในออฟไลน์ชาแนลต่างๆ ของจีนได้ ต้นทุนก็จะถูกกว่าด้วย
สุดท้ายนี้ ขอทิ้งท้ายเรื่องการผลิตในจีน เพราะตอนนี้มีกระแสมาเยอะมากเลยว่าของผลิตในจีนมีคุณภาพดีกว่าถูกกว่า ก็ลองศึกษากันดู มิสทีนเองก็ประกาศออกมาแล้วว่า จะลองหาบางตัวที่ผลิตในจีนเพราะว่า สามารถลดต้นทุนได้มากถึง 30% เลยทีเดียว
เชื่อว่ามันเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน เพราะว่าช่วงโควิด ช่วงนี้หลายๆ คนก็ควรหาโอกาสใหม่ๆ ผมคิดว่าอีคอมเมิร์ซจีนเป็นตัวที่น่าสนใจเพราะว่าโดยรวมแล้วจีนก็ยังชอบเมืองไทยชอบผลิตภัณฑ์ไทย ผลิตภัณฑ์ไทยมีคุณภาพ ราคาไม่ได้แพงมากด้วย เราต้องบริหารทุกสิ่ง ค่าใช้จ่ายทุกตอนให้ดี ลองบุกตลาดจีนช่วงปีถึงสองปีนี้ หลังจากนี้ก็ทะเยอทะยานไปในออนไลน์และออฟไลน์ของจีนได้เลย
สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่