ต้อนรับปีวัวด้วยหัวข้อสำหรับปีใหม่ที่น่าสนใจมาก ได้แก่ “5 เทรนด์ ตลาดจีนปี 2021” ซึ่งจะเป็นเทรนด์ที่มาพร้อมกับวิถีใหม่ในการทำธุรกิจภายหลังจากที่จีนและประเทศไทยได้ต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโควิด-19 และทำให้หลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้น MarketingOops! China Market Insight EP.17 จึงชวนมาฟัง “5 เทรนด์ ตลาดจีนปี 2021” สำหรับการทำการตลาดที่จีน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับคนต้องการทำธุรกิจในประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากไม่อัปเดทเทรนด์ให้เข้าใจก็อาจจะไม่สามารถเจาะหัวใจนักธุรกิจจีนหรือผู้บริโภคชาวจีนได้เลย
วันนี้หัวข้อที่เราจะมาพูดคุยกันคือ “5 เทรนด์ ตลาดจีนปี 2021” ที่นักธุรกิจไทยต้องรู้ แน่นอนว่าปีนี้และปีที่ผ่านมา โควิด-19 ได้ระบาดอยู่ และเราไม่สามารถบินข้ามไปข้ามมาได้ และเศรษฐกิจไทยก็ยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัว 100% แต่บริษัท McKinsey บริษัทที่ปรึกษา ได้ทำการเซอร์เวย์เพื่อดูว่าตอนนี้เศรษฐกิจกลับมาประมาณกี่เปอร์เซนต์แล้ว โดยในเมืองจีนอยู่ที่ประมาณ 50% ในอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 22% เท่านั้น ดังนั้น จึงเชื่อว่าอนาคตแล้วเมืองจีนน่าจะกลับตัวเร็วมากกว่าในหลายๆประเทศ จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่นักธุรกิจไทยควรเตรียมพร้อมรับมือให้ดี และสำหรับ 5 เทรนด์ที่เราจะนำมาฝากกันมีดังนี้
-
Digitization การก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล
ในเมืองไทยเริ่มมีการขายออนไลน์ เดลิเวอร์รี่ออนไลน์ หรือห้างสรรพสินค้ามี Chat and Shop ในเมืองจีนห้างหลายห้างได้ทำเซอร์เวย์ออกมา และก็เห็นว่ามีคนมาน้อยและการจับจ่ายใช้สอยก็น้อยลงถึง 50% เลยทีเดียว ทำให้เขาต้องหันมาขายออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น E-Commerce หรือว่าทาง Social Media ต่างๆ E-Commerce ถือว่าเป็น 35% ของยอดซื้อขายทั้งหมดในเมืองจีน และภายในนั้น 80% ยังมาจากมือถือ แสดงว่าการใช้มือถือจับจ่ายใช้สอย คล้ายกับที่เราซื้อ Lazada Shopee พวกนี้ สำคัญมากเลยในอนาคต แม้แต่แบรนด์ลักซ์ชัวรี่ เช่น Balenciaga Gucci Cartier ตอนนี้เขาก็เริ่มขายออนไลน์กันแล้ว สมัยก่อนเขาไม่เอากันเลยเพราะว่ากลัวเสียแบรนด์อิมเมจ และก็ขายพวกประสบการณ์ไม่ได้ แต่ว่าตอนนี้เขาเริ่มหันมาทำกันแล้ว อีกบริษัทหนึ่งคือ Nike เขาได้ทำแอปฯ ตัวหนึ่งเรียกว่า Nike Training App เป็นแอปฯ การออกกำลังกายในบ้าน ทำให้หลายๆ คนโหลดตัวนี้แล้วก็สามารถเพิ่มยอดขายทางออนไลน์ได้ถึง 30% เลยทีเดียว
เทรนด์ตรงนี้มองว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับแบรนด์ไทยเลย เพราะว่า E-Commerce ในเมืองจีนจะกลับมารีบาวน์เร็วกว่าประเทศอื่นๆ และจะมีการพัฒนาตัวและเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้น เราสามารถเอาของไทยไปขายที่เมืองจีนได้ ไม่ว่าจะเป็น เถาเป่า TMall หรือ JD.Com อะไรต่างๆ และคนจีน ก็ยังชอบสินค้าไทย เช่น รังนก ของแม่และเด็ก หรือหมอนยางพาราของไทย อย่างแบรนด์ไทยที่ทำได้ดีก็คือ Mistine ลองนำไปเป็นกรณีศึกษาได้ ผมชื่นชอบมากเลยเพราะยอดขายในเมืองจีนมากกว่า 4 พันบาทได้
2. กระแสชาตินิยม
เราเริ่มเห็นว่า US and China Trade war หรือการทะเลาะกันระหว่างอเมริกากับจีน ทำให้การซื้อของอิมพอร์ตและเอ็กซ์พอร์ตมันยากขึ้น และฐานการผลิตก็โดนดิสรัพท์ไป ทำให้หยุดบ้าง ฐานการผลิตไม่พอบ้าง ทำให้รัฐบาลจีนเพิ่มขยายฐานการผลิตให้มากขึ้น เพื่อให้พอเพียงให้พอกับการบริโภคในเมืองจีน แต่ว่าอีกกระแสก็คือ การที่ดีไซน์เนอร์จีน เอาลวดลายตัวหงส์หรือว่ามังกรพวกนี้เอาไปใส่ในโปรดักส์ ไม่ว่าจะเป็นตัวแพ็กเกจจิ้งด้านนอก หรือว่าตัวโปรดักส์หรือว่าตัวเสื้อผ้า ทำให้กลุ่ม Millennials หรือกลุ่มทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชอบหรือรักชาติมากขึ้น ตอนนี้มีกระแสว่าเขาชอบซื้อของจีนหรือของที่ผลิตในจีน ที่เป็นแบรนด์จีนกันมากขึ้น สมัยก่อนมักจะดูถูกของในประเทศของเขาเอง แต่ว่าตอนนี้เริ่มมีการรักชาติมากขึ้นแล้ว และก็ซื้อของพวกนี้มากขึ้น
ถามว่าตรงนี้เป็นโอกาสสำหรับเราอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าตอนนี้จีนกำลังโต และมีกำลังการซื้อขายกันมากขึ้น มีการให้เงินมากขึ้นในฐานการผลิต แต่ว่าของผลิตของเขาจะถูกลงและมีตัวเลือกที่เยอะขึ้น เราก็สามารถดูได้นะครับว่าเป็นโอกาสสำหรับเราในการซื้อมา แบรนด์จีนมาขายในเมืองไทยหรือเปล่า ผเริ่มเห็นว่ามีแบรนด์จีนหลายๆ แบรนด์ เริ่มจะมาตีตลาดไทยแล้ว ก็เลยอยากจะได้ตัวแทนไปขายใน Shopee Lazada หรือไปขายในออฟไลน์ก็ตาม เราลองดูก็ได้ว่าพวกนี้เขายอมให้เราเป็นตัวแทนในเมืองไทยหรือไม่
3. Creative Collaboration หรือการร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์
ในเมืองไทยเราเริ่มเห็นว่า KFC ไป X กับทาง Lay’s มีเลย์รสเคเอฟซี แต่ในเมืองจีน KFC ร่วมมือกับบริษัทหนึ่งที่ชื่อว่า หลิวฉั่น เป็นบริษัททำยากันยุงกันแมลง เขาเอ็กซ์กันทำน้ำดื่มตัวหนึ่งเป็นกาแฟที่รสชาติหรือว่ากลิ่นเหมือนสเปรย์ฉีด และมีการแชร์ทางโซเชียลมีเดีย อีกแบรนด์หนึ่งทำพวกเจลาตินเป็นบริษัทผลิตอาหาร ได้เอ็กซ์กับทางบริษัทกาแฟที่ชื่อว่า แปซิฟิกคอฟฟี่ ออกมาเป็นกาแฟรสชาติใหม่ๆ ก็ดูน่าสนใจดี เพราะอยู่ในฟีลเดียวกัน อีกตัวคือ adidas ออกรองเท้าให้สำหรับ Hey tea (ร้านชานมไข่มุกที่จีนซึ่งดังมาก) adidas ก็เลยทำรองเท้ารุ่นลิมิเต็ดออกมาให้กับแฟนคลับทั้งสองแบรนด์ ก่อนหน้านี้ทาง Hey tea ก็ไปคอลแลบฯ กับเจ้าอื่นๆ เช่นกัน เช่น Airbnb ก็มีการไปตกแต่งห้องให้ ฯลฯ เราจะเริ่มเห็นการคอลแลบฯ อย่างนี้กันมากขึ้น เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการตลาดได้ดี มองว่าถ้าเราเป็นแบรนด์ไทยที่อยากจะขายจีน เราก็สามารถไปเอ็กซ์กับแบรนด์จีนได้เลย เป็นการผสมกับเทรนด์รักชาติเข้าไปด้วย
4. การเอาจริงของรัฐบาลจีน
เราเริ่มเห็นแล้วว่า Ant Financial จะเข้าตลาดหลักทรัพย์แต่ว่าเข้าไม่ได้ ทางรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามไว้ก่อน ซึ่งทางรัฐบาลมองว่าเริ่มทำตัวเป็นเหมือนแบงก์เลย ดังนั้น ก็ควรที่จะรัดกุมและใช้กฎหมายเช่นเดียวกับธนาคารด้วย จึงได้หยุดในการเข้าตลาดหุ้นไว้ก่อน อีกอันที่เราเห็นคือทั้ง Alibaba และ Tencent โดนรัฐบาลให้เสียค่าปรับเพราะว่าไม่ได้แจ้งหลายๆ อย่าง เช่นไม่ได้แจ้งว่าเข้าไปซื้อบริษัทต่างๆ อีกกฎหมายหนึ่งเพิ่งออกมาคือ กันไม่ให้ผู้ใช้ไปใช้อันอื่นได้ สมัยก่อนเราจะเห็นว่าถ้าใครอยู่ภายใต้ Alibaba ก็ห้ามไปใช้ Tencent หรือเวลาที่ขายของอยู่ที่ Tmall ก็ห้ามไปขายที่ JD.com เป็นต้น รัฐบาลจีนบอกว่าทำอย่างนั้นไม่ได้แล้วนะเพราะเป็น Antitrust Law ไม่อยากให้คนใดคนหนึ่งเป็นโมโนโพลี และอีกอันที่เราจะเห็นว่า รัฐบาลจีนเริ่มเอาจริงเอาจังแล้ว
และเป็นคอนเซ็ปต์มานานแล้ว ก็คือการใช้ DCEP (Digital Currency Electronic Payment) ของรัฐบาลเอง ก็คล้ายๆ Bitcoin ในเมืองไทย แต่ว่าตอนนี้จะโดนควบคุมโดยรัฐบาล จริงๆ แล้วเป็นโอกาสที่ดี เพราะว่ารัฐบาลจีนจะมีความรู้สึกว่า มันไม่ต้องพรินท์เงินเหมือนสมัยก่อนแล้วสามารถใช้ Cryptocurrency นี้ได้ ซึ่งตอนนี้เมืองจีนส่วนใหญ่ก็ใช้ Alipay WeChatPay อยู่ แต่ตัว DCEP น่าจะเข้ามามีบทบาทอยู่สำคัญพอสมควรเลย สำหรับด้านโอกาสเรายังไม่เห็นว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจไหนได้บ้าง แต่ว่าผู้บริโภคได้ประโยชน์แน่นอน แต่ว่าการทำการตลาดอาจจะยากขึ้น เพราะเราไม่สามารถใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของบางคนได้ อีกอย่างคือเราสามารถดูวิวัฒนาการของ DCEP ได้ ซึ่งพูดถึงกันมา 5 ปีแล้วแต่ตอนนี้เริ่มจะ Roll out จริงๆ กันแล้ว
5. Net Idol สายพันธุ์ใหม่
สมัยก่อนเราก็เชื่อดาราที่แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ตอนนี้เขาเริ่มมาเชื่อเน็ตไอดอลกันมากขึ้น โดยเน็ตไอดอลพวกนี้ที่จีนเขาจะเรียกว่า KOL หรือว่า Key Opinion Leader เจ้าใหญ่ๆ ก็เช่น วีย่า หรือ หลีจาฉี ชายที่สามารถขายลิปสติกได้เป็นอันดันต้นๆ เลย และเขาทำการ Live Stream ด้วย เชื่อหรือไม่ว่าได้ยอดขายสูงถึง 4 พันล้านบาทเลย แม้ว่า Live Stream ยังเป็นที่นิยมอยู่แต่ก็มีการใช้ตัวเลขปลอม คือมีการใช้เครื่องในการปั่นยอด ซึ่งทำให้หลายๆ ครั้งที่มีการใช้ KOL มายอดจะไม่รีเทิร์น จะไม่คุ้มค่ากับการที่จ้างมา เพราะว่าการจ้าง 1 ครั้งสูงถึงประมาณ 1-5 แสนบาท หลังจากนั้นก็ยังโดน GP อีก 20-30% ดังนั้นการ Live นั้นไม่มีทางรีเทิร์นแน่นอน จนกระทั่งเราทำให้คนเก่ามาซื้อซ้ำ 2-3 รอบได้ แต่ถ้าเราเห็นว่า KOL มันมีการปลอมกันเกิดขึ้น เราจะทำอย่างไร เราเริ่มเห็นแล้วว่ามี KOL ที่เป็นตัวเล็กลง มีฟอลโลวเวอร์น้อยลง เขาเรียกว่า KOC (Key Opinion Customer) อาจจะมีฟอลโลวเวอร์น้อยแต่ว่าทุกฟอลโลวเวอร์นั้นเป็นตัวจริง ถ้าเราหาคนแบบนี้เราก็จะให้เขาช่วย Live เราได้
เพราะฉะนั้นใครที่มีการขายของที่เมืองจีน ก็แนะนำว่าให้ใช้ KOL หรือ KOC ที่เราเชื่อมั่นว่าเขาเป็นตัวจริง เพื่อให้เขา Live สร้าง awareness ให้การขายสินค้าของเราให้คนกลับมาซื้อสินค้า แต่เขามีกฎอย่างหนึ่งคือก่อนเราจ้าง KOL เขาจะดูว่าคอมเมนต์มาเยอะหรือเปล่า และแฟนคลับของเขาตรงกับกลุ่ม target หรือไม่ ตอนนี้เราต้องดูให้ลึกลงแล้วว่า เช่น เป็นผู้หญิงในเมืองนี้แต่เป็นคนที่ชอบสปา และจับจ่ายใช้สอยกี่หยวนก็ว่าไป ก็สามารถทำให้มีรีเทิร์นได้มากกว่านั้น การลงทุนหรือจ้างเน็ตไอดอลที่เป็น KOC จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า KOL ดังนั้นแล้วเราสามารถเริ่มต้นจ้าง KOC ได้โดยไม่ต้องควักเงินออกไปเยอะโดยไม่ต้องตื่นเต้นมากว่ามันจะขายได้หรือไม่ตั้งแต่ตอนแรก
และทั้งหมดนี้ก็คือ 5 เทรนด์ปี 2021 ที่นักธุรกิจไทยต้องรู้
สามารถติดตามรับฟัง Marketing Oops! Podcast
ผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้ที่