บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN GROUP ผู้นำธุรกิจอาหารชั้นนำของประเทศไทย เปิดเกมรุก พร้อมดันเป้าหมายปี 2566 ให้แตะ 4.5 พันล้านบาท ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ที่จะตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง รวมถึงแผนขยายสาขาของร้านอาหารในเครือและแฟรนไชส์ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ตลอดจนการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าในธุรกิจอาหารค้าปลีก หลังเปิดเผยความสำเร็จในปี 2565 ผ่านการดำเนินงาน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ภาพรวมธุรกิจเติบโตกว่า 51% ชูรายได้รวม 3,413 ล้านบาท กำไร 154 ล้านบาท
4 สิ่ง ความเติบโตในรอบ 32 ปี ของ ZEN GROUP
-
- การเติบโตของสาขาสูงสุด (ขยายไปแล้วกว่า 45 สาขา)
- รายได้สูงสุด (เติบโตจากปี 2564 – 2565 ถึง 51% หรือเติบโต 1,000 ล้านในปีเดียวกัน)
- กำไรสูงสุด (ทำกำไรได้ถึง 269% หรือ 154 ล้านบาท หลังจากสถานการณ์โควิด-19)
- อัตราการทำกำไรสุทธิสูงสุด Net profit margin
คาดว่าในปี 2566 จะมีการเติบโตของธุรกิจในเครือ ZEN GROUP ด้วยทิศทางองค์กรและการวางแผนกลยุทธ์ที่ดีของ 5 เสาหลักธุรกิจ พุ่งเข้าสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน
- ธุรกิจร้านอาหาร เรียกได้ว่าเป็นพระเอกของ ZEN GROUP เพราะมีสัดส่วนกว่า 70% ของธุรกิจทั้งหมด ตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจกว่า 32 ปี ปัจจุบันมีร้านอาหารในเครือกว่า 10 แบรนด์ 345 สาขา ซึ่งปี 2565 ที่ผ่านขยายไปแล้วกว่า 45 สาขา ทั้งสาขาที่ลงทุนเองและแฟรนไชส์ ครอบคลุมในไทยและต่างประเทศ โดยในปีนี้ธุรกิจนี้จะขยายเพิ่มอีกกว่า 90 สาขา ด้วยการใช้กลยุทธ์ ดังนี้
Growth Strategy มุ่งเน้นการขยายสาขาบนพื้นที่ใหม่ ๆ เช่นพื้นที่ต่างจังหวัด เมืองหลักและเมืองรอง ให้ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและครอบคลุมการให้บริการทั่วประเทศ
กลยุทธ์การบริหารจัดการร้านอาหาร ร้านอาหาร บริษัทได้ขยายการนำวัตถุดิบคุณภาพที่มีมาตรฐานของบางแบรนด์ไปต่อยอดกับทุก ๆ แบรนด์ในเครือฯ ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการต้นทุนสินค้าได้ดีขึ้น ทั้งในแง่ของการจัดซื้อ การวางแผนและการบริหารจัดการสาขาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพต่อการทำงานของสาขา ไม่ว่าจะเป็น Robot, QR Ordering/Payment, Cashless และ CRM เข้ามาใช้ ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในด้านบุคลากรของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ZEN GROUP ได้มีการตั้งเป้าขยาย Customer Base ให้กว้างขึ้น ด้วยกลยุทธ์การทำการตลาดแบบ Insightful Marketing ที่ไม่ใช่แค่รู้จักลูกค้า แต่ต้องเข้าใจความต้องการที่ซ่อนอยู่ภายในผู้บริโภค ให้กลายมาเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ นั่นเอง
- Insightful Product ช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ จากการนำข้อมูลเชิงลึกของการขายและการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค มาพัฒนาเป็น Product ที่ออกแบบบริการใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า เช่น เซ็น เรสเตอร์รอง มีกลุ่มเป้าหมายในใจที่ต้องการขยายอย่างกลุ่มคนวัยทำงาน ที่ชื่นชอบความหลากหลาย ทำให้ออกเมนู Lunch Set ที่จะอร่อยได้ 2 เมนู ใน 1 เซ็ต ราคาก็สามารถจับต้องได้ หรือในส่วนของ เขียง ออกเมนู “กระเพราสองรัก” เพราะเข้าใจผู้บริโภคว่าในหนึ่งมื้ออยากทานหลากหลายเมนูในงบที่จำกัด จึงออกเป็นกะเพรา + ไก่กระเทียม
- Insightful Promotion เข้าใจและเข้าถึงลูกค้าใหม่ จากการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าในทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้ามาทานอาหาร และช่วงเวลา นั่นเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะต่อยอดแต่ละแบรนด์ได้ เช่น อากะ ยากินิกุ ออกแคมแปญ “ป่ะ ทาน นักเรียน” เอาใจน้อง ๆ นักเรียนที่อยากเติมพลังในงบที่เข้าถึงได้ง่าย และตำมั่ว ที่ออกโปรโมชัน “เบิ้ลเครื่อง” เพราะลูกค้ามักชอบเพิ่ม Topping ในการทาน เพื่อเพิ่มอรรถรสและรสชาติความฟิน
- Insightful Communications สื่อสารถูกใจในรูปแบบใหม่ เมื่อการสร้าง Awareness แบบทั่วไม่เพียงพอ ทาง ZEN GROUP เองจึงต้องพึ่ง “Call Attention with Engagement” นำมาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสื่อสารให้ผู้บริโภคหันมามองแบบเข้าอกเข้าใจแบรนด์ เมื่อต้นปีประเดิมด้วยแบรนด์ เซ็น เรสเตอร์รอง ที่ออกแคมเปญ “Dear Boss” ที่เชิญชวนเหล่าบอสทั่วไทยเปิดโอกาสให้ชาวออฟฟิศ ลุกจากหน้าคอม ไปทานมื้อเที่ยงที่ เซ็น เรสเตอร์รอง เพื่อสร้าง Work Lunch Balance ให้ชีวิตชาวออฟฟิศ ส่วน ออน เดอะ เทเบิ้ล ก็มีแผนที่จะนำไปขยายต่อหลังจากเปิดตัว “โต๊ะจัง” Brand Character ตัวแทนของสาวรุ่นใหม่ ที่ปีนี้เตรียมคอลแลปและ Create กิจกรรมสนุก ๆ ให้เข้าถึงใจสาว ๆ
Insightful Marketing ทั้งหมดที่ทาง ZEN GROUP เลือกมาใช้ มีจุดเด่นสำคัญก็คือเน้นการสื่อสารและสร้างการรับรู้ ให้เข้าถึง Lifestyle แบบรู้ใจ รวมถึงสร้างแบรนด์ให้ดูมี Character แต่ยังแสดงถึงความแข็งแรงในการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ รสชาติอาหาร และการบริการที่เป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินธุรกิจอาหารอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง Awareness ของแบรนด์ให้เป็น Top of mind ในกลุ่มเป้าหมาย
- ธุรกิจแฟรนไชส์ ZEN GROUP เตรียมแผนที่จะขยายฐานลูกค้าใหม่และมองหาตลาดใหม่ เพื่อผลักดันแบรนด์ ตำมั่ว และเขียง รุกตลาดหลักในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งกับตลาดหลัก เช่น ไทย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม ลาว และยังมองหาโอกาสที่จะเติบโตกับตลาดใหม่ให้ครอบคลุมประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่าง เกาหลีใต้ ซึ่งในปี 2565 ก็คาดว่าจะสามารถต่อยอดให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตได้ตามเป้าหมาย และมุ่งเน้นเรื่องการขาย วัตถุดิบให้แฟรนไชส์ เพื่อสร้างมาตรฐานเดียวกันให้เกิดขึ้นในทุกสาขา
- ธุรกิจอาหารค้าปลีก หลังจากที่ ZEN GROUP ได้ดึง “คิง มารีน ฟู้ดส์”และ “เซ็น แอนด์ โกสุม อินเตอร์ฟู้ดส์” มาเป็นกำลังเสริทพอร์ทธุรกิจอาหารในเครือ สามารถสร้างรายได้ของบริษัท ไปไม่น้อยในปีที่ผ่านมา โดยปีนี้ได้มีการวางแผนที่จะเร่งสร้างยอดขายธุรกิจอาหารค้าปลีกให้ได้ตามเป้าหมาย พร้อมกับการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายและศูนย์กระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการปรับปรุงโรงงานและคลังสินค้าให้รองรับกับยอดขายที่เติบโตขึ้น เพราะ “Food Service ไม่ใช่แค่การทำร้านอาหาร แต่เป็นการนำวัตถุดิบเข้าไปอยู่ในผู้บริโภค”
- ธุรกิจจัดส่งอาหารและอีคอมเมิร์ช มีการปรับปรุงระบบสนับสนุนการขายให้คล่องตัวมากขึ้น ปักหมุดขยายธุรกิจจาก B2C (Business to Customer) เป็น B2B (Business to Business) โดยเน้นการขาย Voucher แก่ลูกค้าที่เป็นองค์กร และทำให้แอปพลิเคชัน ZEN GROUP ให้เป็นที่รู้จัก สร้างการรับรู้ระบบและเพิ่มยอดสมาชิก อีกทั้งยังสร้างความแตกต่างให้กับ 1376 Delivery บริการจัดส่งอาหาร โดยเน้นรูปแบบ Big Order ที่มีศักยภาพในการจัดส่งอาหารจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้แตกต่างจาก Food Aggregator
- ธุรกิจใหม่ ในตอนนี้ทาง Zen Group มองหาการลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและให้อัตราผลตอบแทนที่คุ้มค่าเสริมทัพพอร์ทธุรกิจอาหารในเครือให้มีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งมากขึ้นต่อไป แต่ยังคงต้องรอดูจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม
ในปี 2565 ZEN GROUP คาดว่าสัดส่วนรายได้ของแต่ละธุรกิจ จะแบ่งเป็นรายได้จาก
- ธุรกิจร้านอาหาร 74%
- ธุรกิจแฟรนไชส์ 7%
- ธุรกิจอาหารค้าปลีก 13%
- ธุรกิจจัดส่งอาหารและอีคอมเมิร์ซ 6%
จากความเติบโตครั้งนี้ทำให้ ZEN GROUP สามารถขยายตลาด เพื่อสร้างความมั่นคงในระยะยาว อาจถือได้ว่าช่วงเวลาการทำธุรกิจเป็นความได้เปรียบ แต่การที่ไม่หยุดที่จะเติบโตและพยายามเข้าใจผู้บริโภค เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจให้ยั่งยืน และครองใจกลุ่มผู้บริโภค