(สรุป) วิกฤตราคาอาหารทั่วโลกพุ่ง 30% ในรอบ 1 ปี เรื่องใกล้ตัวที่ผู้บริโภคควรรู้

  • 27
  •  
  •  
  •  
  •  

 

หากใครสังเกตเวลาไปซื้อของที่ตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่ว่าจะผัก ผลไม้ หรือสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น จะรู้เลยว่าราคาสินค้าบางอย่างแพงขึ้น และเราไม่ได้คิดไปเองเพราะมีข้อมูลยืนยันจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ระบุว่า ราคาอาหารทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ

โดยดัชนีราคาอาหารของ FAO ที่ติดตามมาตลอดทั้งปี (ถึงเดือนก.ค. 2021) ราคาอาหารเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 30% เทียบกับเดือน ก.ค.ของปี 2020 ส่วนราคาอาหารเพิ่มขึ้นติดกัน 3 เดือนตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เฉลี่ยประมาณ 3%

ทั้งนี้ ในแต่ละประเทศจะเห็นว่าสินค้าหลักๆ มีราคาแพงขึ้น อย่างในสหรัฐอเมริกาที่ราคาข้าวสาลี และพืชผลทางการค้าอื่นๆ พุ่งขึ้น 5% ในเดือน ต.ค. ขณะที่ FAO ระบุว่า ราคาข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวันก็เพิ่มราคาสูงขึ้นเช่นกัน

หรืออย่างในไทยราคาผักหลายๆ ชนิดมีราคาแพงขึ้น เช่น ผักชี, หอมแดง ฯลฯ เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรคล้ายๆ กับไทยก็มีราคาแพงขึ้นเหมือนกัน

ทาง FAO ได้พูดยกตัวอย่าง ‘มาเลเซีย’ ว่าราคาน้ำมันปาล์มพุ่งขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับการผลิตที่ชะลอตัว ส่วนหนึ่งเพราะการขาดแคลนแรงงานข้ามชาติ เหตุจากการแพร่ระบาด COVID-19

นอกจากนี้ FAO ได้พูดถึงอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาอาหารทั่วโลกแพงขึ้น นั่นก็คือ สภาพอากาศที่รุนแรง อย่างในไทยที่เกิดเหตุน้ำท่วมในหลายจังหวัด รวมไปถึงผลกระทบเรื่องซัพพลายเชนทั่วโลกจากวิกฤตโควิดด้วย

 

 

ทั้งนี้ ในบทความของ CNN ได้ยกตัวอย่างบางแบรนด์ที่ปรับเพิ่มราคาสินค้าขึ้นเล็กน้อยในช่วงที่ผ่านมา เช่น Unilever, Kraft Heinz และ Mondelez เจ้าของแบรนด์ขนมดังอย่าง โอริโอ้ ที่ปรับขึ้นราคาสินค้ายอดนิยมทั้งหมด (แต่คงราคาเดิมไว้ในบางพื้นที่/บางประเทศ)

แม้ว่าราคาสินค้าอาหาร และอื่นๆ อาจจะปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก จนอดไม่ได้ที่จะอัพเดทให้ผู้บริโภคเข้าใจเกี่ยวกับห่วงโซ่อาหารทั่วโลก เพราะอย่างน้อยๆ เราก็รู้ที่มาที่ไปของราคาหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น

 

 

 

ที่มา: CNN


  • 27
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม