วิเคราะห์แนวคิด Nissin กับของเล่น ‘ส่วนผสมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลอยน้ำ’ ทดลองลูกค้าเผื่ออยากเป็นราเมน

  • 35
  •  
  •  
  •  
  •  

Credit: Nissin Japan

 

เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาชาวทวิตเตอร์อาจจะเคยเห็นกันมาบ้างกับ Twitter official Nissin Japan (@cupnoodle_jp) ที่ลองปล่อยโพสต์หนึ่งเกี่ยวกับของเล่นใหม่เป็น ‘ส่วนผสมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลอยน้ำ’ คล้ายๆ ว่าเป็นการจำลองส่วนผสมต่างๆ ที่เราเคยเห็นในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย เช่น เนื้อสัตว์, กุ้ง, ไข่ โดยแปลงมาเป็นของเล่นเสมือนจริงที่แช่ในอ่างอาบน้ำกับเรา

โดยในโพสต์บน Twitter ได้พูดว่า ฉันได้ทำของเล่นอาบน้ำที่จะให้ความรู้สึกถึงส่วนผสมของบะหมี่ถ้วย”

 

 

โดยของเล่นที่ว่านั้น Nissin ทำมาจากฟองน้ำและสีที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน จุดประสงค์ของ Nissin แค่อยากลองให้คนจินตนาการดูว่า ถ้าเราอยากเป็นราเมน หรือบะหมี่ถ้วยที่เต็มไปด้วยส่วนผสมเนื้อสัตว์ต่างๆ และไข่ (หรือบางทีอาจจะมีผงปรุงรสกลิ่นเหมือนจริงแถมมาด้วย) มันจะน่าสนุกขนาดไหน!

อย่างไรก็ตาม Nissin ยังไม่ได้วางขายของเล่นดังกล่าวในตอนนี้ แต่เป็นเพียงการทดลองตลาดเพื่อดูปฎิกิริยาของผู้บริโภคกับสิ่งประดิษฐ์นี้เท่านั้น ซึ่ง Nissin ต้องการดูว่ากระแสตอบรับจะไปในทิศทางไหนหากแบรนด์สามารถออกผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่ของกิน ซึ่งเป็น flagship ของแบรนด์

ในมุมของผู้เล่น Twitter ดูเหมือนจะมีกระแสตอบรับที่ค่อนข้างบวก ไม่ว่าจะเป็นการพูดว่า “อยากให้มีขายเร็วๆ น่าสนใจ”, “Nissin ฉลาดในการทดลองตลาดก่อนบนโซเชียลมีเดีย” หรือ “การทำธุรกิจต้องกล้าที่จะลองและคิดนอกกรอบ”

บทความของ Monique Danao ให้มุมคิดอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับ Nissin ว่าการทดลองตลาดลักษณะนี้ ทำให้เข้าใจผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าของตัวเองดีขึ้น อย่างน้อยๆ ก็จับกลุ่มถูกว่าหากมีผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นกลุ่มลูกค้าอายุเท่าไหร่ที่น่าจะกลายเป็น main target ได้

นอกจากนี้ การเปิดโพสต์บนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลัก มีส่วนสร้างความรับรู้ต่อผู้บริโภคว่า แบรนด์นี้ที่เรารู้จักไม่เคยคิดอยู่ในกรอบ แต่มีความสร้างสรรค์ และชวนให้ติดตามแบรนด์ต่อไป กลยุทธ์การสร้างการรับรู้นี้จะทำให้ได้กลุ่มลูกค้าที่เกินคาด หรือกลุ่มคนที่ไม่คิดว่าจะเป็นลูกค้าของ Nissin ได้เหมือนกัน

 

Credit: Nissin Japan

 

 

 

 

ที่มา: must share news


  • 35
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม