4 เหตุผลง่ายๆที่ต้องเข้าร่วมโปรเจคพัฒนา “ฟินเทคสตาร์ทอัพ” อย่าง “กรุงศรี ไรส์” สักครั้ง

  • 78
  •  
  •  
  •  
  •  

เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมที่เรียกว่า “Cashless Society” มากขึ้นเรื่อยๆ หรือที่เรารู้จักกันในนามของ “สังคมไร้เงินสด” ทำให้ฟินเทคสตาร์ทอัพกลายเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนสังคมแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก พร้อมกับเทคโนโลยีอย่าง AI, Machine Learning และ Blockchain สถาบันทางการเงินทั่วโลกโดยเฉพาะธนาคารต่างก็ปรับองค์กรของตัวเองให้เป็น “Data Company” ที่มีข้อมูลเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด

 

ทำให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญและหันมาทำฟินเทคสตาร์ทอัพกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจากการรวมทีมและหาโครงการดีๆที่ช่วยทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

 

C

รวมฟินเทคสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ “กรุงศรี ไรซ์” รวมๆกันแล้วมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท

 

และนี่คือ 4 เหตุผลง่ายๆที่คุณควรจะเข้าร่วมโครงการพัฒนาฟินเทคสตาร์ทอัพสักครั้งในชีวิต

 

1. ได้ติวเข้มทำฟินเทคสตาร์ทอัพใน Intensive Bootcamp  เร่งสปีดให้ธุรกิจเติบโต

จาก 8 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 16 สัปดาห์เต็ม จนได้เรียนรู้ความต้องการของสตาร์ทอัพแต่ละเจ้าผ่านโปรแกรมแบบเฉพาะเจาะจง (Tailor-made Program for Each Startup)

2. ได้เรียนรู้จากเมนเทอร์และผู้เชี่ยวชาญ

เราจะได้เรียนรู้ฝึกฝนจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา กลุ่มนักธุรกิจสตาร์ทอัพที่อยู่ในแวดวงฟินเทค และเทคสตาร์ทอัพ ผู้บริหารระดับสูงมืออาชีพ สตาร์ทอัพรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญจากกรุงศรีฯและเครือข่าย เคล็ดลับ แนวคิด การใช้เทคโนโลยีด้านการเงินให้โดนใจผู้ใช้บริการและนักลงทุน เน้นประสบการณ์จริง นำไปประยุกต์ทำธุรกิจได้จริง

3. เพิ่มโอกาสสร้างเครือข่ายสังคมทางธุรกิจ

ได้เจอเหล่ากูรู นักธุรกิจระดับชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญการทำธุรกิจด้านการเงินที่หาตัวจับยาก มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับบรรดาฟินเทคสตาร์ทอัพ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้มากที่สุด ด้วยกิจกรรมเวิร์คช็อปนอกสถานที่จุใจ

4. ได้ร่วมมือด้านเงินทุนทั้งในและต่างประเทศ

เชื่อมต่อกับนักลงทุน ส่งเสริมให้ฟินเทคสตาร์ทอัพสามารถเติบโตพัฒนาไปได้ก้าวไกลสู่ระดับภูมิภาค

 

ทำอย่างไรให้ทีมของคุณเข้ารอบในโครงการพัฒนาฟินเทคสตาร์ทอัพ?

ถ้าทีมของเราครบ 3 คน ทำให้บริการฟินเทคสตาร์ทอัพจนมียอดขายเข้ามาในระดับหนึ่ง หรือมีแค่ไอเดียแต่มีของ มีเทคโนโลยี “ว้าวๆ” อย่าง AI, Blockchain, Machine Learning ลั Big Data อยู่แล้ว รับรองว่าทีมของคุณก็มีโอกาสผ่านการคัดเลือกมากขึ้น

E

อย่างโครงการของ “กรุงศรี ไรส์” (Krungsri Rise) ซึ่งถ้าทีมของเราผ่านแล้วล่ะก็ งานนี้ฟรีตลอดโปรแกรมและไม่ต้องเข้าร่วมถือหุ้นด้วยกับฟินเทคสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโปรแกรม แถมค่าตัวของแต่ละคนในทีมก็เพิ่มเป็นสองเท่าด้วยจาก 200,000 บาทเป็น 400,000 บาท!

 

แนะนำโครงการ “กรุงศรี ไรส์” จุดเริ่มต้นสำหรับนักธุรกิจฟินเทคหน้าใหม่

ปรกติแล้วโครงการที่สนับสนุนฟินเทคสตาร์ทอัพจพช่วยเร่งสปีดการเติบโตของธุรกิจฟินเทคแบบก้าวกระโดดเป็นสองเท่าตัว พัฒนาองค์ความรู้และการลงทุนให้กับธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพ ยกระดับขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่เข้าสู่ภาคธุรกิจดิจิทัล ติวเข้มทุกหลักสูตร อัดแน่นทุกเนื้อหาและกิจกรรม ก้าวล้ำด้วยวิธีทำธุรกิจนำเทรนด์

กรุงศรี ไรส์ ก็เป็นหนึ่งในโครงการด้านการส่งเสริมและพัฒนาการสร้างนวัตกรรมที่บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในเครือกรุงศรี กรุ๊ปจัดขึ้น ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่งจะคัดเลือก เฟ้นหา และติวเข้มฟินเทคสตาร์ทอัพจำนวน 10 ทีม ใน Intensive Bootcamp ตลอด 16 สัปดาห์ กับผู้เชี่ยวชาญในวงการสตาร์ทอัพ

ได้เรียนรู้จริง ได้ลงมือทำจริง ได้ประสบการณ์จริง!

 

d

กืจกรรมหลักในโครงการ “กรุงศรี ไรส์ รุ่น 2 

 

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

 “กรุงศรี ไรส์ รุ่น 2 นี้ จะมีความเข้มข้นขึ้น และเราเชื่อมั่นว่าเมื่อทั้ง 10 ทีมได้ผ่าน Intensive Bootcamp ในระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนี้ เราจะมีโอกาสเห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเราประมาณการ Market Value ที่จะเกิดขึ้นได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท”

 

ตารางเวลาของโครงการ “กรุงศรี ไรส์” รุ่น 2

1. รับสมัคร: 3-31 พฤษภาคม 2560

2. คัดเลือก: 1 – 30 มิถุนายน 2560

3. เข้า Bootcamp: กรกฎาคม – ตุลาคม 2560

4. Demo Day: ปลายเดือนตุลาคม

A

 

 

หากสนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.riseaccel.com/krungsririse/ ตั้งแต่วันที่ 3-31 พฤษภาคม 2560 และติดตามรายละเอียดความเคลื่อนไหวของ “กรุงศรี ไรส์ รุ่น 2” ได้ที่ www.facebook.com/Krungsri-Finnovate


  • 78
  •  
  •  
  •  
  •