เรารู้ดีว่าผู้บริโภคไม่ได้ยอมควักกระเป๋าสตางค์เพื่อซื้อแอปพลิเคชันของเรา แต่ซื้อวิธีแก้ไขปัญหา ซื้ประสบการณ์การใช้งาน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเอง ฉะนั้นทุกธุรกิจต้องเข้าใจลูกค่ให้มากที่สุดไม่เว้นแต่สตาร์ทอัพ อย่างไรก็ตาม การทำสตาร์ทอัพนั้นต้องแข่งกับเวลา ฝ่าฟันความไม่แน่นอนนานัปการ การเข้าใจลูกค้าและพัฒนาแอปฯจึงต้องโดนใจที่สุดและรวดเร็วที่สุด ที่สำคัญต้องทำงานเป็นทีมให้เป็น มาดูสูตรลัดออกแบบแอปฯ 7 ขั้นแบบสตาร์ทอัพได้ใจผู้ใช้งานเต็มๆ กัน
1. ร่าง Persona ขึ้นมาคร่าวๆก่อน
หยิบกระดาษมาแผ่นหนึ่ง ตีตารางแบ่งเป็น 4 ช่อง (ตามรูป) ช่องซ้ายบนวาดรูปของคนที่เราต้องการแก้ไขปัญหาให้ สมมติชื่อให้เขา เขาคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำหรือไม่ทำอะไรตอนประสบปัญหา วาดออกมา ช่องซ้ายล่างเขียนข้อมูลพื้นฐานของคนๆนั้นว่าน่าจะมีอายุเท่าไร่ อยู่เมืองไหน สถานะครอบครัวเป็นอย่างไร ทำงานอะไร มีรายได้เท่าไร่ ยิ่งระบุเจาะจงเท่าไหร่ยิ่งดี ถัดมาเป็นช่องขวาบน ระบุพฤติกรรมของคนๆนั้น ระดมสมองกับคนในทีมเพื่อหาคำตอบว่าเขากำลังทำอะไรอยู่เพื่อแก้ไขปัญหาที่เขามี พฤติกรรมที่เราสามารถตอบสนองหรือช่วยเขาได้มีอะไรบ้าง เมื่อได้ไอเดียทั้งหมด ให้ลองแยกว่าไอเดียไหนสำคัญที่สุด และตัดหรือยุบไอเดียที่ไม่สำคัญทิ้งไป สุดท้ายเป็นช่องขวาล่าง ให้ระดมสมองอีกครั้งหนึ่งเพื่อช่วยกันคิดว่าคนๆนั้นจริงๆแล้วต้องการอะไรหากเขาแกปัญหาได้ ทำไมเขาถึงทำแบบนั้น และเขากำลังแก้ไขปัญหาที่เขามีอย่างไรใน “ตอนนี้”? เมื่อได้ไอเดียทั้งหมด ให้ลองแยกว่าไอเดียไหนสำคัญที่สุด และตัดหรือยุบไอเดียที่ไม่สำคัญทิ้งไปเช่นเดียวกับช่องขวาบน และสุดท้าย หลังจากเขียนครบทั้ง 4 ช่องแล้ว ถามตัวเองด้วยว่า คนแบบนี้มีเยอะพอหรือไม่ เราพอจะหาพวกเขาเจอและคุยกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ลองทบทวนข้อมูลทั้ง 4 ช่องก่อน ถ้ามีคนที่เรารู้จักและเป็นคนเดียวกับคนๆนั้นก็ต้องทบทวนปรับแก้ทั้ง 4 ช่องเช่นกัน 2. ทำ Topic Map สิ่งที่เขียนมาทั้งหมดใน Persona นั้นล้วนเป็นข้อสมมติฐานทั้งหมด ดังนั้นเราต้องสำรวจพฤติกรรมของคนที่มีแนวโน้มคล้าย Persona ที่เราทำขึ้น ฉะนั้นก่อนที่จะไปสัมภาษณ์ เราต้องทำ Topic Mapช่วยให้เรารู้ขอบเขตของข้อสมมติฐานที่เรามีเกี่ยวกับ Persona ของคนๆนั้น 3. พูดคุยสัมภาษณ์ผู้ที่มีแนวโน้มจะใช้งานจริงๆ คุณเคยมีประสบการณ์นั้นหรือเปล่า? ช่วยเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์นั้นได้มั้ย? ต่อมาเกิดอะไรขึ้น? ทำไมคุณถึงทำแบบนั้น? คุณทำแบบนั้นอย่างไร? จากประสบการณ์ของคุณ คุณชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง ถ้าคุณทำทุกอย่างได้(เหมือนมีเวทมนตร์) ประสบการณ์ของคุณจะเป็นอย่างไร? พวกนี้คือคำถามเบื้องต้นที่คุณต้องพูดคุยสัมภาษณ์คนที่มีแนวโน้มจะเป็นเหมือน Persona หรือคนที่คุณสมมติคาดเดาขึ้นมา ไม่ใช่สัมภาษณ์ใครก็ได้ และอีกหลายๆคำถามที่ทีมของเราต้องช่วยกันระดมสมอง และแยกกันไปสัมภาษณ์คนละ 3-5 คนเพื่อจับแนวทางที่คล้ายๆกัน ขณะที่พูดคุยกับเขา ให้จดโน้ต ถามคำถามเปิดเข้าไว เข้าใจเรื่องราวที่เขาเล่าให้ฟังจำไว้ว่าอย่าได้พูดเกี่ยวกับแอปฯหรือบริการของเรา อย่าขายของ อย่าถามคำถามนำ ที่สำคัญ อย่าพูดมาก เพราะคุณมาฟังพวกเขา ไม่ใช่ให้เขามาฟังเราพูด เมื่อสัมภาษณ์เสร็จแล้ว ลองสรุปไอเดียที่ได้จากการสัมภาษณ์บนโพสต์อิทของแต่ละคน ลองนึกดูว่าเราได้ยิน ได้เห็น ได้เข้าใจอะไรบ้าง จากนั้งจึงจะรวมทีม รวบรวมจับยุบไอเดียและข้อมูลที่คล้ายๆกัน คาดการณ์เทรนด์และความคาดหวังของผู้บริโภคในอนาคต 4. ทำประวัติ Primary Persona ขึ้นมาอย่างน้อย 20 คน ทำไมต้อง 20 คน? ก็เพราะว่า 20 คนก็เป็นจำนวนที่เพียงพอแล้วที่จะเป็นตัวแทนของตลาดที่ที่เราต้องตอบโจทย์ด้วยแอปฯและบริการของเรา ข้อตอนนี้ให้ทำ Persona ขึ้นมาให้ละเอียดและสมจริงมากกว่านี้ การใช้รูปจริงก็เพื่อให้สื่อสารและจดจำไอเดียง่ายขึ้น รวบรวมรายละเอียดต่างๆให้เข้าใจง่ายขึ้น รายละเอียดที่ต้องมีได้แก่ชื่อ อายุ อาชีพ ที่อยู่ เบอร์โทร สมาร์ทดีไวซ์ที่มี แบรนด์ที่ชอบ กิจกรรมที่ทำ ปัญหาที่เผชิญอยู่ ความต้องการ คนที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจ และทางแก้ปัญหา เท่านั้นยังไม่พอ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ให้ทำ Persona สำหรับคนที่ไม่มีทางและไม่มีวันใช้แอปฯและบริการของเราด้วย
5. อย่าลืมวิสัยทัศน์สตาร์ทอัพของเรา
การทำธุรกิจต้องคิดถึงปัญหาและความต้องการของลูกค้าก่อนเสมอ เราจึงต้องเข้าใจลูกค้าให้มากที่สุดใน 4 ขั้นตอนแรก จากนั้นจึงมาดูความต้องการของสตาร์ทอัพของเรา ซึ่งสะท้อนผ่านวิสัยทัศน์ของคนในทีม ฉะนั้นลืมประโยคยาวๆไว้เขียนวิสัยทัศน์ไปได้เลย นอกจากคนในทีมจะจำไม่ได้ ยังทำให้ลูกค้าไม่เข้าใจสตาร์ทอัพของเราด้วย เอาสั้นๆ กระชับ แต่ต้องมีความหมายเพื่อให้คนในทีมเข้าใจและจำง่าย นี่คือตัวอย่าง Federal Express: “Peace of mind” Nike: “Authentic athletic performance” EBay: “Democratize ecommerce” Disney: “To make people happy” Oxfam: “A just world without poverty”
6. ลิสต์มา 6 ข้อว่า Persona ของเราจะทำอะไรกับแอปฯของเราได้บ้าง (Uses)
ไม่ใช่แค่ลิสต์เป็นตัวอักษร แต่ให้แต่ละคนในทีมวาดออกมาด้วยว่า Persona ของเราจะทำอะไรกับแอปฯของเราได้บ้าง ตามรูปข้างล้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของตัว Persona และวิสัยทัศน์สตาร์ทอัพของเราทั้งคู่ ไอเดียการใช้งานที่ได้จะช่วยให้เรารู้ว่าฟีเจอร์ที่เรากำลังจะคิดต่อไปเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญที่สุด จากนั้นให้แต่ละคนทำจุดสามสี สมมติว่ามีสีเหลือง น้ำเงิน และแดง ให้ทำจุดสีเหลือง และจุดสีน้ำเงินกับไอเดียการใช้งานของคนอื่นในทีมที่เราชอบมากที่สุด ฉะนั้นไอเดียการใช้งานของทีมจะเหลือแค่ไอเดียที่มีจุดสีเหลืองและสีน้ำเงินเท่านั้น และทำจุดสีแดงให้กับไอเดียการใช้งานที่มีจุดสีเหลืองหรือจุดสีน้ำเงินที่เราคิดว่าใช่ที่สุด ไอเดียที่มีจุดมากที่สุดสองไอเดียแรกจะเป็นไอเดียที่นำมาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ของแอปฯต่อไป
7. ระดมสมองคิดฟีเจอร์
ใช้เวลาสักพัก ระดมสมองกันอีกรอบเพื่อคิดฟีเจอร์ให้มากที่สุดแต่มีเงื่อนไขว่าฟีเจอร์ที่คิดนั้นต้องสอดคล้องกับไอเดียการใช้งานที่ชนะโหวดจากขั้นตอนที่แล้ว จากนั้นลองเอาไอเดียฟีเจอร์ทั้งหมด ย้ำว่าทั้งหมด อย่าได้ยุบรวมไอเดีย มาวางบนกราฟตามรูปนี้ แล้วขยำไอเดียที่ตกอยู่ในพื้นที่ที่มีแล้วทำให้เสียหรือไม่มีประโยชน์ทิ้งไป เราจะตกใจทุกครั้งเวลาระดมสมอง ตอนเห็นว่าไอเดียหลายๆตัวที่เราคิดได้นั้นใช้ไม่ได้ และมีไอเดียฟีเจอร์แค่บางตัวที่ใช้ได้ เหตุผลคือเราต้องการ “ทำฟีเจอร์ให้น้อยที่สุดเพื่อเรียนรู้มากที่สุด” เอาฟีเจอร์ที่เหลือไปทำแอปฯตัวต้นแบบหรือ Minimum Viable Product เพื่อเรียนรู้พัฒนาแอปฯของเรา ไม่ใช่ผลิตแอปฯสมบูiณ์แบบแล้วขายสู่ตลาดเลย แล้วรออะไรอยู่ รีบคลิกที่นี่เพื่อทำ Minimum Viable Product ต่อไปกันเลย! Source: Copyright © MarketingOops.com