LINE แอปพลิเคชั่นแชทบนสมาร์ทโฟนกลายเป็นแบรนด์ที่คนไทยจดจำได้อย่างรวดเร็วภายใน 2-3 ปี ทั้งๆที่ LINE เพิ่งเริ่มกิจการมาในปี 2011 และเริ่มเปิดให้บริการในประเทศไทยในปี 2014 เท่านั้น ปัจจุบัน LINE เป็นแบรนด์ที่ติดอันดับ 2 ที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุดรองจาก Facebook และมีคนไทยทุกเพศทุกวัย ใช้ LINE กว่า 33 ล้านคน
ดังนั้น “อริยะ พนมยงค์” กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ LINE Thailand จึงออกมาเล่าเรื่องราวการเดินทางของ LINE THAILAND และทิศทางในอนาคตของ LINE ที่ไม่ใช่เพียงแค่แอปพลิเคชั่นแชทอย่างเดียวแล้ว
และนี่คือ 5 ทัศนคติจำเป็นสำหรับ “LINE THAILAND” ที่เหล่าสตาร์ทอัพต้องจำไว้
1. สร้างฐานผู้ใช้บริการให้ได้เยอะที่สุดเพื่อเป็นแหล่งรายได้ในอนาคต: รายได้ของ LINE หลักๆมากจากเกม สติกเกอร์ Business Solution และโฆษณา LINE จึงต้องเสริมบริการฟรีเพื่อกระตุ้นคนมาใช้ให้เยอะที่สุด เพื่อให้ LINE สามารถทำรายได้จากคนกลุ่มนี้ได้อีกในอนาคต
2. พัฒนา “Apps in App” เพื่อลดจำนวนแอปฯบนสมาร์ทโฟน: ในแอปฯ สโตร์มีแอปพลิเคชั่นอยู่ 1.5 ล้าน แต่โดยเฉลี่ยบนมือถือของคนทั่วไปจะมีแอปเพียง 39 แอปฯ ใช้จริง 17 แอปฯ และแอปที่ใช้บ่อยมีเพียงแค่ 4-5 แอปฯเท่านั้น อีกทั้งผู้บริโภคไม่มีทางลองใช้ทุก1.5 ล้านแอปฯ แน่นอน
ฉะนั้น LINE จึงพัฒนา Apps in App เอาบริการที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาฝังในแอปฯ เช่น ชำระเงิน ดูซีรีย์ ไว้ในแอปฯเดียว ทั้งบริการที่พัฒนาเอง และบริการที่ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อื่นๆให้เอามาลงใน LINE
3. บริการในแอปฯต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานจำนวนมากเสมอ: ทีมบริหาร LINE ไม่ได้ตกลงกับทุกพาร์ทเนอร์และสตาร์ทอัพหน้าใหม่ในทุกๆข้อเสนอ เพราะต้องมั่นใจว่าบริการที่รับมาจากพาร์ทเนอร์ต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งาน LINE กว่า 33 ล้านคนด้วย
LINE จึงร่วมมือกับ Rabbit ทำ Rabbit LINE Pay ซึ่งเป็น Joint Venture ที่มีวิสัยทัศน์กระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้สมาร์ทโฟนชำระเงิน นั้นเพราะ LINE มองว่า Rabbit เป็นบริษัทลูกของ BTS ที่มีคนใช้บริการ BTS กว่า 20 ล้านคน และคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มใช้ LINE ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
4. เริ่มจากออนไลน์แต่จบด้วยขายสินค้าและบริการในโลกออฟไลน์ (Online to Offline Service): เช่นแอปพลิเคชั่น LINE Man ที่ทีมงาน LINE Thailand พัฒนาเพื่อบริการผู้ใช้งานในไทย เช่นส่งของ จัดซื้อส่งอาหาร โดยจับมือกับ Wongnai ที่มีร้านทุกอย่างสั่งได้หมดเลย เรื่องอาหารเรื่องใหญ่คนไทย และสุดท้ายคือใช้ไปซื้อของสารพัด ซึ่ง LINE จับมือกับ 7-ELEVEN ซื้อของได้หมด ตลอด 24 ชั่วโมง
httpv://www.youtube.com/watch?v=STNGgzK-bQ0
5. ลองไอเดียใหม่ๆเพื่อเรียนรู้และพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น: LINE ทดลองให้บริการ Digest News บน Timeline และดูว่าผู้ใช้งานชอบเนื้อหาประเภทไหนมากที่สุด จากนั้นจึงพัฒนาฟังก์ชั่นที่จำเป็น คุณอริยะยกตัวอย่างบริษัทที่พัฒนาแว่นตาสำหรับคนตาบอดที่สแกนของและผู้ใช้รับรู้ได้ราคา 3 หมื่นบาท แต่มีผู้เสนอแนวคิดแว่นประเภทนี้ในไทยที่ใช้ระบบสแกนโค้ดง่ายๆให้ผู้ใช้งานรับรู้ได้เช่นกันราคา 3 พันบาทเท่านั้น เราอาจไม่ต้องคิดฟังก์ชั่นหรือใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่ขอให้ตอบโจทย์คนใช้งานได้
ฉะนั้นจะลองไอเดียใหม่ อย่าคิดเยอะ
ตลาดผู้ใช้งาน LINE กว่า 250 ล้านคนทั่วโลกอยู่ในเอเซียเป็นหลักเช่นญี่ปุ่น ไทย อินโดนิเซีย และไต้หวัน หากเราต้องการพัฒนาบริการ เราต้องคว้าตลาดเอเชียให้ได้ก่อนตลาดทวีปอื่น เพราะเราะเข้าใจวัฒนธรรมการแชทได้ดีว่าผู้ให้บริการแชทในฝั่งตะวันตก
การละเลยทวีปเอเชียและบุกตลาดทวีปอื่นในส่วนของบริการแชทจึงเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก
แหล่งที่มา