ต่อให้ได้เงินทุนจากพวก Angel Investor หรือนักลงทุน Accelerators หรือ Incubators ในรอบ Seed Stage สตาร์ทอัพส่วนใหญ่ก็หาเงินได้ไม่พออยู่ดี
การหาทุนสามารถเริ่มต้นจากรอบ Seed Round แต่ทำอย่างไรล่ะเราถึงจะพร้อม? เพราะการหาทุนในรอบ Series A มันยากเหลือเกิน
นี่คือ 10 ข้อที่คุณต้องรู้ก่อนไปหาทุนในรอบ Series A
1. ทำการบ้านมาก่อน
ต้องรู้จัก Venture Capital (VC) ที่จะมาให้ทุนสตาร์ทอัพของเราว่าอะไรที่พวก VC มองหาอยู่หรืออยากรู้ ไม่ว่าจะเป็น Unit economics, รายได้, โมเดลธุรกิจที่พิสูจน์แล้ว, ระบบที่พร้อมจะขยายสตาร์ทอัพให้เติบโต, สินค้าที่ตอบโจทย์ตลอด, กลยุทธ์ในการเข้าหาลูกค้า และคุณภาพของทีมงาน คุณต้องสะท้อนความพร้อมของปัจจัยพวกนี้ผ่านตัวชี้วัดต่างๆในสายตานักลงทุนในรอบ Series A ด้วย
2. เริ่มให้เร็วเข้าไว้
เพราะการหาทุนแต่ละครั้งก็กินเวลาพอสมควร อยากให้มองความเป็นจริงบ้าง คุณต้องมั่นใจว่าคุณต้องเตรียมพร้อมทุกอย่าง 7-8 เดือนล่วงหน้าก่อนออกไปหาทุนในรอบ Series A ลองทำแผนการเงินไว้ล่วงหน้าว่าก่อนได้ทุนแผนการเป็นอย่างไร หลังได้ทุนแผนการเงินเป็นอย่างไร และถ้าไม่ได้ทุนแผนจะเป็นอย่างไร หากไม่มีเวลาเตรียมพร้อมมากพอ แผนการเงินของเราก็ต้องเปลี่ยนด้วยเพื่อให้กิจการของเราอยู่รอดนั่นเอง
3. ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายให้เป็นประโยชน์
อย่างน้อยก็ต้องรู้จักและสานสัมพันธ์กับคนเยอะๆ ขยายเครือข่ายไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง Seed Round ก่อนรอบ Series A เพราะคนที่คุณสนิทอาจจะนำคุณไปมีทติ้งต่างๆที่ทำให้ได้คุยได้เจอนักลงทุนที่อาจจะให้เงินคุณในรอบ Series A ก็ได้ ที่สำคัญคนที่คุณรู้จักอาจช่วยพูดถึงและโปรโมตกิจการของเราต่อๆกันไป รับรองว่าการทำแบบนี้ช่วยกิจการของคุณได้
4. ฝึกนำเสนอให้โดนใจได้สาระ
มีงานหรือมีตติ้งอะไรก็ควรจะเข้าไปร่วมให้มากที่สุด ลองพูดคุยกับผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพที่ได้เงินทุนจากรอบ Series A มาแล้ว เอาความรู้และประสบการณ์ของคนพวกนี้มาใช้ และขอให้เริ่มจากการคุยกับนักลงทุนที่ยังไม่สำคัญกับสตาร์ทอัพของคุณก่อนเสมอ เพราะพวกนี้จะถามคำถามและช่วยให้ความเห็นตรงไปตรงมาให้คุณได้ เอาความรู้ที่คุณได้คุยได้ปรึกษากับคนต่างๆมาปรับใช้ในการนำเสนอสตาร์ทอัพของคุณเอง และซ้อมไปเรื่อยๆจนกว่าจะเพอร์เฟ็คที่สุด
5.คุยกับนักลงทุนหลายๆคน กองทุนหลายๆเจ้า
พยายามติดต่อพบเจอนักลงทุนที่สนใจสตาร์ทอัพของคุณไว้ มันไม่ง่ายหรอก แต่นั่นจะทำให้คุณมีข้อต่อรองที่เหนือกว่า ทำให้มูลค่าของสตาร์ทอัพของคุณเพิ่มขึ้น และได้ข้อเสนอดีๆ ฉะนั้นคุณควรจะคุยกับนักลงทุนหลายๆคน กองทุนหลายๆเจ้า ยิ่งเจอนักลงทุนที่สนใจสตาร์ทอัพของคุณเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี
6. รู้แนวทางปฏิบัติในตลาด
คอยติดตามข้อเสนอที่เป็นมาตรฐาน เป็นที่รู้กันดีระหว่างสตาร์ทอัพกับนักลงทุนในรอบ Series A เพราะบางทีข้อเสนอเวอร์ชั่นแรกๆที่คุณร่างมา คนก่อตั้งสตาร์ทอัพก็ไม่ค่อยจะชอบเท่าไร่ ทางที่ดีที่สุดคือไปคุยกับผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ให้รู้เรื่องว่าข้อเสนอข้อไหนที่ขัดหรือไม่มีในแนวทางปฎิบัติที่เป็นมาตรฐาน
7. ตรวจสอบข้อเสนอของคุณทุกครั้ง
นอกจากจะต้องตรวจสอบข้อเสนอให้ตรงกับแนวทางปฎิบัติแล้ว ต้องดูด้วยว่าข้อเสนอไปในแนวทางเดียวกับธรรมชาติของสตาร์ทอัพที่คุณทำอยู่หรือไม่ ถ้าข้อเสนอของคุณดีและน่าสนใจตั้งแต่รอบ Series A รอบต่อไปก็จะใช้ข้อเสนอที่ไม่ต่างจากรอบ Series A เท่าไหร่นัก
8. หาที่ปรึกษากฎหมายประจำตัวบ้าง
ช่วยให้คุณได้วางโครงสร้างของเงินทุนที่ได้จาก VC เพราะนักกฎหมายจะเข้าใจข้อเสนอต่างๆของนักลงทุน รวมถึงความแตกต่างเล็กๆน้อยๆในรายละเอียด ดูว่าข้อเสนอไหนที่สำคัญสำหรับนักลงทุน อะไรคือแนวทางปฏิบัติในตลาด ทำความเข้าใจเรื่องพวกนี้กับนักกฎหมายก่อนที่จะไปหา (หรือหยุดคุยกับ) นักลงทุน คุณจะประหยัดเวลาได้มากขึ้น
9. เตรียมงานเอกสารให้พร้อม
ยิ่งคุณมีธุรกรรมน้อย งานเอกสารก็น้อยตามด้วย คุณต้องมั่นใจว่าเอกสารทุกชิ้นต้องอัพเดท ทั้งบันทึกลูกจ้าง การเงิน โครงสร้างองค์กร สัญญากับลูกค้า ทรัพย์สินทางปัญญา และอื่นๆ เวลานักลงทุนขอดูจะได้มียื่นพร้อมสรรพเพื่อนัดหมายนักกฎหมายต่อไป
10. หาเงินทุนให้ได้มากกว่างบทำกิจการอีก 10-15%
เพราะกิจการของเราก็อาจจะใช้เงินไม่ได้ตามแผนการใช้งบประมาณ เงินที่หาได้มากขึ้นจะช่วยต่อลมหายใจให้สตาร์ทอัพของเราให้อยู่รอดจนถึงการหาทุนในรอบต่อไป และมีเวลามากขึ้นไปโฟกัสการสร้างธุรกิจและสเกลสตาร์ทอัพให้ถูกทาง
เพราะอย่างที่บอกไปว่าการหาเงินทุนนั้นยาก กินเวลาพอสมควรและทำให้คุณลืมเป้าหมายที่แท้จริงของการทำสตาร์ทอัพของคุณได้ นี่ยังไม่นับต้นทุนที่คุณปิดดีลได้ด้วย
แหล่งที่มา