4 ข้อแนะนำสำหรับ Startup ในการตรวจสอบว่า พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงหลังสิ้นสุดวิกฤติโรคระบาดหรือยัง?

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

Startup New Normal

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังสิ้นสุดวิกฤติ COVID-19 ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและกลยุทธ์เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะกลายเป็นการ Disruption ระลอกใหม่ ทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และกลุ่มธุรกิจ SME ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจ Startup ที่จะต้องปรับเปลี่ยนทั้งแนวคิดและกลยุทธ์รองรับความเปลี่ยนแปลง

และแน่นอนว่า Startup ล้วนมีข้อจำกัดมากมายมากกว่าหลายๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องเงินทุน ซึ่ง Startup สามารถศึกษาได้จาก Case Study ของบริษัท Sequoia Capital India บริษัท Startup ที่ประสบความสำเร็จในการระดมเงินทุนสูงถึง 2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมี 4 ปัจจัยสำคัญที่ Startup ต้องพิจารณาให้ดี เพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ตรวจสอบเงินทุน อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า เงินทุนสำหรับ Startup สำคัญมากด้วยขัอจำกัดด้านเงินทุน ดังนั้น Startup ต้องพิจารณาแผนการพัฒนาและสร้างรายได้ให้เหมาะสมกับจำนวนเงินทุน ยิ่งเงินทุนน้อยก็จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาที่สั้นลงและสร้างรายได้ให้เร็วขึ้น แต่ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทำให้ Startup ต้องปรับแผนใหม่แม้จะมีเงินทุนที่มากก็ตาม เพราะแผนเดิมที่วางไว้อาจใช้ไม่ได้ผลแล้ว โดยจะต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนั้น เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

Startup Change 02

ปิดการระดมทุนให้ไวที่สุด ในช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ หลาย Startup เน้นการระดมทุนที่ให้ได้เงินทุนก้อนใหญ่เพื่อใช้ในการสร้างธุรกิจ แต่ในยุคที่มีความไม่แน่นอนการปิดการระดมทุนให้ไวเพื่อนำเงินทุนเหลานั้นมาพัฒนาอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่ต้องทำที่สุด ยิ่งใช้ระยะเวลาในการระดมทุนยาวนาน โอกาสก็ยิ่งสูญเสียไปมากขึ้น

มองหาโอกาสที่เปลี่ยนไป แม้ความเปลี่ยนแปลงจะกลายเป็นอุปสรรคครั้งใหญ่ แต่ในวิกฤติย่อมต้องมีโอกาส เพียงแต่ต้องมองหาโอกาสสำหรับธุรกิจผ่านความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การซื้อขายผ่านระบบออนไลน์, การเชื่อมต่อประชุมทางไกล, การตรวจสอบด้านสุขภาพ เป็นต้น โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างการทำงาน

Startup Change 03

โดยการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมผู้บริโภคจะเน้นไปที่เรื่องของเทคโนโลยีออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ การเรียนผ่านออนไลน์ การออกกำลังกายผ่านออนไลน์ เป็นต้น ขณะที่การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างการทำงาน เป็นผลมาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เช่น การทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from Home) การรักษาโรคผ่านระบบ Video Conference เป็นต้น

มองหาแนวโน้มการเติบโต เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงด้านการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ในชีวิตประจำวันจะเพิ่มขึ้น โอกาสของ Startup ผ่านระบบออนไลน์ก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น Startup จึงต้องมองหาโอกาสในการเติบโต และเมื่อมองเห็นแล้วจะช่วยให้ Startup สามารถวางกลยุทธ์ เพื่อสร้างแนวโน้มการเติบโตและหลีกเลี่ยงการแข่งขันได้ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับ Startup

Startup Change 01

อย่างที่กล่าวว่าเราว่า ในวิกฤตย่อมมีโอกาส อยู่ที่ใครจะมองเห็นและสามารถคว้าโอกาสนั้นไว้ได้ ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจ SME บางประเภท มีเงินทุนและระยะเวลาที่เพียงพอในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน แต่ความคล่องตัวและความรวดเร็วในการดำเนินงานอาจเป็นรองกว่า Startup ดังนั้น Startup จึงควรใช้จุดเด่นของตัวเองในการเร่งพัฒนา เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

 

Source: CNBC


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา