เดี๋ยวนี้ การขายของออนไลน์ไม่ยากเหมือนในอดีตแล้ว ปัจจุบันมีเว็บไซต์และแพลตฟอร์มจำนวนมากคอยรองรับการเติบโตของพ่อค้าแม่ค้า โดยแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน บางที่ก็เสียเงินสำหรับการวางขายสินค้า บางที่แทบไม่เสียค่าบริการอะไรเลยแต่อาจมีกิจกรรมการสนับสนุนการขายไม่มากนัก ซึ่งก็ต้องลองศึกษาหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนอีกที แต่ถ้าหากให้พูดถึงแพลตฟอร์มยอดฮิตในเวลานี้แล้วล่ะก็ Lazada กับ Shopee คือแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่อยู่ในดวงใจของใครหลายๆ คน เพราะมีการจัดกิจกรรมให้ผู้ขายอย่างต่อเนื่อง มีรูปแบบการใช้งานไม่ยุ่งยาก และมีผู้ซื้อแวะเวียนเข้าใช้งานจำนวนมหาศาลต่อวัน
แม้ Lazada กับ Shopee จะดังในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่อาจจะยังงงๆ อย่างบ้าง ว่าวิธีการสมัครจะต้องทำอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ต้องเสียเงินค่าลงขายของหรือเปล่า ซึ่งบทความนี้เสมือนเป็นไกด์ให้พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ได้เตรียมความพร้อม และสามารถเปิดร้านได้จริงแบบฉบับง่ายๆ ส่วนสิ่งที่ควรรู้มีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย
อยากขายของบน Lazada ต้องทำอย่างไร
ขั้นตอนการ Lazada*
1.โหลดแอปฯ Lazada Seller Center ได้ทั้ง IOS และ Android
2.เข้าแอปฯ Lazada Seller Center เลือกคำสั่งสมัคร
3.กรอกชื่อ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ตั้งชื่อร้านค้า และที่ตั้งร้านค้า แล้วกดยืนยัน
4.หลังจากผ่านการสมัครขั้นแรก สามารถเพิ่มสินค้าได้ที่ คำสั่ง “ลงรายการสินค้าของท่าน” และเพื่อให้ทาง Lazada โดนเงินถึงผู้ขายได้ ต้องกรอกของมูลบัญชีธนาคาร ที่คำสั่ง “กรอกข้อมูลธนาคาร”
* ขั้นตอนการสมัครสามารถใช้ได้ทั้งผู้ขายทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ ก็ใช้วิธีเดียวกัน
เอกสารที่ต้องใช้สมัคร Lazada
สำหรับผู้ขายทั่วไป
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ที่อยู่จัดส่งเอกสารเรียกเก็บเงิน
- อีเมล
- หมายเลขติดต่อ
สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
- หนังสือรับรองบริษัท
- ที่อยู่จัดส่งเอกสารเรียกเก็บเงิน
- อีเมล
- หมายเลขติดต่อ
- สำเนาใบอนุญาตการค้า
- สำเนาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ขายสินค้าบน Lazada ต้องเสียค่าธรรมเนียมการขายอย่างไรบ้าง
ทาง Lazada จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการวางขายสินค้าแรกเข้าต่างๆ แต่จะเก็บเป็นค่าบริการคอมมิชชันแทน
- ค่าคอมมิชชันขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละหมวดหมู่ ในอัตราตั้งแต่ 1-10% ใน LazMall
การเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่จัดเก็บจากผู้ขายทุกราย มี 3 ประเภท
- ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
- ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแบบจัดเก็บเงินปลายทาง คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแบบไหนได้บ้าง
ผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อเอง โดยวิธีการส่งจะมีอยู่ 2 แบบ คือ นัดรับสินค้าจากผู้ขาย(Pick Up) และ รับส่งสินค้าที่สาขา(Drop Off) โดยมีพาร์ทเนอร์ 3 ราย ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย, Kerry Express และ Lex ส่วนราคาจะคิดตามน้ำหนักจริงของสินค้าที่ผู้ขายระบุไว้ตั้งแต่แรก เทียบกับอัตราค่าจัดส่งของบริษัทขนส่ง
อยากขายแล้ว แต่ขายที่ไหนดีระหว่าง Lazada กับ LazMall
- Lazada จะเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าทั่วไป ที่สามารถขายสินค้าได้
- LazMall จะเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับร้านค้าที่ผ่านเงื่อนไข โดยร้านค้าจะได้รับตัวช่วยและกิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านแคมเปญต่างๆ อาทิ LazMall Badge, Flagship Store และ Seller Picks เพิ่มการเข้าถึงของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
อยากขายของบน Shopee ต้องทำอย่างไร
ขั้นตอนการ Shopee *
1.โหลดแอปฯ Shopee ได้ทั้ง IOS และ Android
2.กดเลือกเมนู “เริ่มขาย” ในหน้าโปรไฟล์
3.เลือกคำสั่ง “เพิ่มสินค้า”
4.ใส่รูปสินค้าที่ต้องการขาย และใส่รายละเอียดอื่นๆ เช่น ราคา, คำอธิบายสินค้า, จำนวนสินค้าที่มีอยู่ในสต๊อกของเรา และหมวดหมู่สินค้า เป็นต้น โดยสินค้า 1 ชิ้น สามารถใส่รูปได้สูงสุด 9 รูป จากนั้นกดคำสั่ง “ส่ง” มุมขวาบน เพื่อยืนยัน
5.คำสั่งสุดท้าย กดเลือก “ป้อน” เพื่อเพิ่มบัญชีธนาคาร ให้ Shopee สามารถโอนเงินมายังผู้ขายได้
* ขั้นตอนการสมัครสามารถใช้ได้ทั้งผู้ขายทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ ก็ใช้วิธีเดียวกัน
เอกสารที่ต้องใช้สมัคร Shopee
สำหรับผู้ขายทั่วไป
สำหรับการลงทะเบียนครั้งแรก ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องใช้ ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล, อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ กรอกลงในแอปฯ ได้เลย
เพื่อให้ธุรกรรมที่เกี่ยวกับการชำระเงินเป็นไปได้โดยง่าย และตรงตามมาตรฐานของอุตสาหกรรม ผู้ขายจำเป็นต้องส่งเอกสารอื่นๆ ดังนี้ สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร
สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์
ข้อมูลเบื้องต้นจะมีความคล้ายกับผู้ขายทั่วไป คือ ชื่อ นามสกุล, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร แต่เอกสารที่เพิ่มขึ้นมาคือ
- หนังสือรับรองบริษัท
- สำเนา ปพ. 20
- สำเนาใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ของผู้มีอำนาจในการลงนาม ใช้สำเนาบัตรประชาชนแทนได้
- เครื่องหมายการค้า หรือ โลโก้ร้าน
ขายสินค้าบน Shopee ต้องเสียค่าธรรมเนียมการขายอย่างไรบ้าง
ค่าธรรมเนียมที่หักจากราคาสินค้าตั้งต้นของผู้ขาย แบ่งเป็น 2 ประเภท (เก็บเฉพาะ ShopeeMall)
- ผู้ขายต้องเสียค่าเนียมการขาย 1% สำหรับสินค้าของราคาตั้งต้น ในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) อาทิ มือถือและอุปกรณ์เสริม (Mobile & Gadgets) กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ (Cameras), คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อป (Computers & Laptops), สื่อบันเทิงภายในบ้าน (Home Entertainment) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Home Appliances)
- ผู้ขายต้องเสียค่าเนียมการขาย 3% สำหรับสินค้าของราคาตั้งต้น ในหมวดหมู่ที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ (Non-Electronics) อาทิ เครื่องสำอาง, เครื่องแต่งกาย, เครื่องประดับแฟชั่น และอาหารเครื่องดื่ม เป็นต้น
การเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่จัดเก็บจากผู้ขายทุกราย มี 3 ประเภท
- ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
- ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อผ่อนชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต คิดเป็น 5% (2% จากค่าธุรกรรมบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต และ 3% จากค่าธุรกรรมการผ่อนชำระ) จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
- ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่เรียกเก็บจากผู้ขาย กรณีผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแบบจัดเก็บเงินปลายทาง คิดเป็น 2% จากราคารวมทั้งหมด(หลังหักส่วนลดและบวกค่าจัดส่ง)
ยกตัวอย่าง ลูกค้าซื้อสินค้าเครื่องสำอาง 1,000 บาท สมมุติมีค่าส่ง 50 บาท(ลูกค้าจ่ายเพิ่ม)
- ลูกค้าซื้อสินค้าเครื่องสำอาง 1,000 บาท วิธีคิด 1,000-3%(สินค้าหมวดหมู่ที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์) เท่ากับว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมการขายให้ Shopee 30 บาท
- ลูกค้าจ่ายผ่านบัตรเครดิต 1,000 บาท บวกค่าจัดส่ง 50 บาท วิธีคิด 1,000+50-2%(ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าโดยการใช้บัตรเครดิต) เท่ากับว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมด้วยบัตรเครดิตให้ Shopee 21 บาท
สรุปผู้ขายต้องจ่ายค่าธรรมเนียมทั้งหมดจากราคาตั้งต้น 1,000+50-30-21 = 999 หรือต้องจ่ายให้ Shopee เป็นจำนวน 1 บาท นั่นเอง
ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อแบบไหนได้บ้าง
ผู้ขายต้องจัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อเอง โดยวิธีการส่งจะมีอยู่ 2 แบบ คือ นัดรับสินค้าจากผู้ขาย(Pick Up) และ รับส่งสินค้าที่สาขา(Drop Off) โดยมีพาร์ทเนอร์ 4 ราย ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย, DHL, Kerry Express และ Ninja Van ส่วนราคาจะคิดตามน้ำหนักจริงของสินค้าที่ผู้ขายระบุไว้ตั้งแต่แรก เทียบกับอัตราค่าจัดส่งของบริษัทขนส่ง
อยากขายแล้ว แต่ขายที่ไหนดีระหว่าง Shopee Marketplace กับ Shopee Mall
สำหรับคนที่เพิ่งจะเริ่มขายของใน Shopee ก็อาจจะงงๆ หน่อยเพราะในแอปฯ จะแบ่งพื้นที่สำหรับขายของเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Shopee Marketplace กับ Shopee Mall
- Shopee Marketplace จะเป็นพื้นที่สำหรับร้านค้าทั่วไป ที่สามารถขายสินค้าได้
- Shopee Mall จะเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับร้านค้าที่ผ่านเงื่อนไข โดยร้านค้าจะได้รับสิทธิ์บริการฟรีค่าจัดส่งตามแคมเปญที่กำหนด ได้รับการส่งเสริมการขายผ่านแคมเปญต่างๆ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกจาก Shopee ให้ผู้ขายนำไปวิเคราะห์ปรับปรุงสินค้าและบริการ โดยวิธีการเป็นส่วนหนึ่งของ Shopee Mall คือ ต้องผ่านเกณฑ์ในการให้สิทธิ์ผู้ซื้อคืนสินค้าได้ภายในระยะเวลา 15 วัน และฟรีค่าจัดส่งอย่างน้อยหนึ่งช่องทางการขนส่ง