บทสัมภาษณ์พิเศษ ม.รังสิต + ซัมซุง = Smart Classroom

  • 74
  •  
  •  
  •  
  •  

Samsung-Smart-Classroom-2

ห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท คลาสรูม (Smart Classroom) ความร่วมมือกันระหว่างซัมซุมประเทศไทย และมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในแบบให้กับนักศึกษาไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีทันสมัยจากซัมซุงมาเป็นอุปกรณ์หลักของการเรียนการสอน ทั้งซัมซุง กาแล็คซี่ โน๊ต 10.1 (Samsung Galaxy Note 10.1) และ ซัมซุง อีบอร์ด (Samsung E-board) มาเป็นตัวช่วยสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ในยุคดิจิตอล

โดยทางมหาวิทยาลัยและทางซัมซุงเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีในยุคดิจิตอลและการร่วมมือกันในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพทางการเรียนให้กับนักศึกษาอย่างแน่นอนจากอดีตที่อาจารย์สอน เขียนกระดานแล้วนักเรียนจดตาม ในอนาคตเราสามารถที่จะขึ้นกระดานเป็นคลิปเป็นภาพได้  ซึ่งแน่นอนว่าทำได้มากกว่าภาพนิ่ง นักเรียนหรือนักศึกษาที่อยู่แถวหลังอาจจะมองกระดานไม่เห็น เราก็สามารถดึงภาพอาจารย์และกระดานที่สอนภาพมาแสดงที่แท็บเล็ต ได้เลย หรือทางกลับกัน หากนักเรียนต้องการโชว์ผลงานของตนเอง เพื่อแชร์ให้ทั้งห้องได้เห็นก็สามารถทำได้ โดยโพสภาพที่อยู่บนจอแท็บเล็ต ของตัวเองขึ้นไปบนจอใหญ่กลางห้องเรียนผ่านแอพพลิเคชั่นได้

Samsung-Smart-Classroom-6 

“ ทางซัมซุงกับมหาวิทยาลัยรังสิต มีความสนใจตรงกันที่ต้องการให้ระบบการศึกษามีความทันสมัยในระบบดิจิตอล ซึ่งซัมซุงเองก็เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีรายสำคัญรายใหญ่รายนึงของโลก เราได้เตรียมโซลูชั่นที่เกี่ยวกับการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยรังสิต  โดยระบบนี้จะเป็นการเปลี่ยนนวัตกรรมของการศึกษายุคใหม่ เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนนวัตกรรมของการศึกษายุคใหม่ของโลกเลยก็ว่าได้   เราเรียกระบบนี้ว่า Interactive Learning คือ นักศึกษาใช้แท็บเล็ต สำหรับอาจารย์ใช้สมาร์ทอีบอร์ด (Smart E-Board) กระดานอีเล็คทรอนิกส์ อีกหนึ่งนวัตกรรมที่เปลี่ยนมาจากกระดานในอดีตมาเป็นกระดานอีเล็คทรอนิกส์    ซึ่งทั้งแท็บเล็ตและกระดานอีเล็คทรอนิกส์นี้จะมีการ Interact หรือสื่อสารกันได้  —  นายมณฑล มังกรกาญจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด

การร่วมมือในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นในวันเดียว หากเป็นความตั้งใจของทางมหาวิทยาลัยรังสิตที่มีความตั้งใจจะยกระดับการเรียนการสอนให้ทันสมัย ตามวิสัยทรรศน์ของทางมหาวิทยาลัยที่เคยประกาศไว้ว่าต้องการเป็น E University  และได้วางรากฐานมานาน  ด้วยการพัฒนาระบบ infrastructure มาตั้งแต่ในอดีต รวมถึงเรื่องของการทำความเข้าใจของอาจารย์ในการเลือกใช้สื่ออีเล็คทรอนิกส์  และการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบ eLearning — ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต

ชมวิดีโอ Samsung Education Solutions

ด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ของ Samsung ตอนนี้อาจารย์สามารถเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่­องโดยอาศัยนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี พร้อมด้วยระบบเชื่อมต่อ peer-to-peer ที่ก้าวล้ำ โดยใช้แท็บเล็ตอัจฉริยะ จอแสดงผลอินเทอร์แอคทีฟ โน้ตบุ๊ก และอุปกรณ์เสริมสำหรับการพิมพ์ได้พร้อมกัน

httpv://youtu.be/ULmUF2DE_uE

ชมวิดีโอ Samsung Student Management

Samsung นำเสนอโซลูชันเทคโนโลยีการศึกษาที่ปรับแต่­งเป็นพิเศษ ซึ่งสร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ­่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

httpv://youtu.be/bMBkfkEHJtc

บริการ B2B (Business to Business Solution) และความพร้อมเต็ม 100 ของซัมซุง 

เมื่อเทียบกับรายอื่น ซัมซุงมีจุดแข็งด้านโซลูชั่นที่ครบวงจร ซัมซุงมีสินค้าที่เป็นทั้งหมวดไอที ทีวี และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าทีวีซัมซุงเป็นผู้นำในตลาด ซึ่งก็ลูกค้าบางรายก็ต้องซื้อทีวีของซัมซุงเพื่อไปใช้ในองค์กรเหมือนกัน นอกจากนี้ ซัมซุงยังมี สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งตอนนี้ก็ถูกใช้มากในระบบการศึกษาที่ต้องการ Mobility  ประกอบกับความพร้อมของทางซัมซุงที่มีมากกว่า 100% จากประสบการณ์ของซัมซุงที่ทำงานด้านลูกค้าองค์กรมาหลายปี และมีการ set up เรื่องเซอร์วิสมานานพอสมควร  ซัมซุงจึงมีศักยภาพในการให้บริการ 

มหาวิทยลัยรังสิต ก็พร้อมเช่นกัน

สำหรับวันนี้ ระบบการเรียนการสอนสามารถตอบโจทย์และเติมเต็มได้มากขึ้น ทางมหาวิทยาลัยจึงไม่รอให้นักศึกษาซื้อแท็บเล็ตเอง แต่เลือกที่จะแจกแท็บเล็ตให้กับนักศึกษาปีหนึ่ง และเพื่อให้แพลตฟอร์มการทำงานของระบบแท็บเล็ตที่เหมือนกัน รวมคุณสมบัติต่างๆของเทคโนโลยีที่จะช่วยอำนวยการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทางมหาลัยฯจึงเลือกใช้อุปกรณ์ของซัมซุง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางมหาลัยฯให้ความมั่นใจในคุณภาพ และเชื่อว่าปีการศึกษานี้ จะเป็นปีที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้นใช้การเรียนการสอนผ่านแท็บเล็ต 

การเรียนในรูปดิจิตอลจะมาทดแทนการเรียนในห้องเรียนหรือไม่

ทางมหาวิทยาลัยได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่า การเรียนการสอนแบบดิจิตอล ไม่ได้มีขึ้นเพื่อทดแทนการเรียนการสอนในห้องเรียน  อย่างไรก็ตาม เรายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ และมีห้องเรียน  เพียงแต่มีการมีอุปกรณ์และระบบการเรียนแบบดิจิตอล จะช่วยให้การเรียนไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จะสามารถขยายวงออกไปโดยไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดเวลา  ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน หรือเมื่อมีเวลาว่าง และอยากจะเข้ามาเรียนจากสถานที่ไหนก็ได้ ในเวลาที่นักศึกษาคิดว่าสะดวกที่สุด และนี่คือปัจจัยสำคัญที่ทางมหาวิทยาลัยได้วางวิสัยทรรศน์ไว้ตั้งแต่ต้น 

Samsung-Smart-Classroom-4

Samsung-Smart-Classroom-3

ซัมซุง กาแล็คซี่ แท็บ 10.1 (Samsung Galaxy Tab 10.1) และ ซัมซุง อีบอร์ด (Samsung E-board) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้กับนักศึกม.รังสิตอย่างไร

1. ประหยัดเวลาในการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน แล้วเพิ่มเวลาการเรียนการสอนมากขึ้น

โดยปกติก่อนเริ่มเรียน นักศึกษาและอาจารย์จะต้องมีการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน ซึ่งหากมีนักศึกษาเข้าเรียนจำนวน 80 คน  ก็จะเสียเวลาไปกับการเช็คชื่อประมาณ 15 นาที  ปัจจุบัน นักศึกษามีแท็บเล็ต และแอพพลิเคชั่นเช็คชื่อจากทางมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาสามารถเช็คชื่อเข้าเรียนได้พร้อมๆ กัน โดยใช้เวลาเหลือเพียง  30 วินาที

แอพพลิเคชั่นดังกล่าวมีชื่อว่า “แอพฯ มาครับ” นักศึกษาที่มีแท็บเล็ตและเดินเข้าจุดรับสัญญาณ Wi-Fi ของชั้นเรียน  แอพพลิเคชั่นจะถามนักศึกษาทันทีว่าต้องการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนหรือไม่ หากต้องการ นักศึกษาก็เพียงเขย่าแท็บเล็ตเพื่อเช็คชื่อได้ทันที  ส่วนหน้าจอแท็บเล็ตของอาจารย์ก็จะเห็นจำนวนเช็คอินและชื่อของนักศึกษาในแบบเรียลไทม์

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการแชร์ไฟล์และการส่งงานในห้องเรียน

โดยปกติ  เมื่อนักศึกษาเรียนจบคลาส นักศึกษามักจะมาต่อแถวขอไฟล์จากอาจารย์  แต่ปัจจุบัน นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดไฟล์จากแท็บเล็ตของอาจารย์ได้ทันที  และไม่จำเป็นต้องพิมพ์เอกสารออกมาเพื่อซีร็อกส์ให้เพื่อน  แต่สามารถแชร์ไฟล์กับเพื่อนได้เช่นกัน

ในลักษณะเดียวกัน  หากอาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาหลังเรียนจบ นักศึกษาสามารถทำและส่งไฟล์งานไปยังเครื่องของอาจารย์ได้ในทันที  และอาจารย์ก็สามารถตรวจงานและส่งกลับได้ภายในวันเดียว โดยไม่ต้องขนงานกลับไปตรวจที่บ้าน

3. จดโน๊ตผ่านแท็บเล็ต

อย่างที่เราทราบกันดีว่า Samsung Galaxy  Note เป็นอุปกรณ์ที่ดีที่สุดในขณะนี้ สามารถเขียนโน๊ตลงบนจอ และ Save เก็บได้ในทันที ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  นักศึกษาและอาจารย์สามารถพกแท็บเล็ตแทนกระดาษ ปากกา  และสามารถจดโน๊ตเก็บเป็นรายวิชา รายวันได้ตามต้องการ

4. เพิ่มประสิทธิภาพของการโหวตและการทำวิจัยในชั้นเรียน

ในเวลาที่นักศึกษามีแท็บเล็ต อาจารย์มีอีบอร์ด และทางมหาวิทยาลัยมีแอพพลิเคชั่นที่ดีสำหรับการเรียนการสอน จะสามารถช่วยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นผ่านแท็บเล็ตได้ทันที โดยไม่ต้องยกมือตอบในห้อง  วิธีนี้จะช่วยให้นักเรียนที่ไม่กล้าตอบคำถาม สามารถแสดงความคิดเห็นมากขึ้น  นักศึกษายังสามารถเห็นคำตอบของนักศึกษาในห้องทั้งหมด  และสามารถเปรียบเทียบกับคำตอบของตัวเองได้  อาจารย์เองก็สามารถตั้งคำถามเพื่อดูว่านักศึกษาคิดอย่างไร  มีกี่เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาที่เข้าใจ และกี่เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เข้าใจ  ซึ่งตรงนี้จะทำให้อาจารย์เข้าใจว่านักศึกษาคิดอย่างไร มีความรู้ความเข้าใจแค่ไหนและอาจารย์ก็สามารถสร้างโจทย์ใหม่ให้นักศึกษาตอบอีกครั้ง หลังจากการเรียนการสอนผ่านไป เพื่อดูว่านักเรียนเข้าใจการเรียนการสอนมากขึ้นหรือไม่ อาจารย์ประสบความสำเร็จในการสอนหรือไม่  ซึ่งหากว่าเป็นสมัยก่อนก็จะใช้เวลามาก เพราะอาจารย์ต้องนำคำตอบกลับไปตรวจแล้วค่อยกลับมาที่ชั้นเรียนใหม่ ปัจจุบันสามารถทำได้ทันที

5. ระบบห้องสมุดที่ทันสมัย

ระบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยจะค่อยๆ เปลี่ยนไป แต่เดิมทางมหาวิทยาลัยมีงบประมาณจำกัด ในการซื้อหนังสือเล่ม (Hard copy) ซึ่งมีราคาสูง   ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ลดสัดส่วนของหนังสือ แต่เปลี่ยนการสั่งซื้อเป็นหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ซึ่งมีราคาถูกกว่ามาก วารสารก็เช่นเดียวกัน ก็เป็นวารสารอีเล็กทรอนิกส์ ราคาถูกขึ้น ค้นหาง่ายขึ้นกว่าเดิม เพียงแค่พิมพ์ชื่อหนังสือ หรือสิ่งที่เราสนใจ  ระบบจะสามารถบอกได้ว่าข้อมูลที่พิมพ์มานั้น อยู่ในวารสารฉบับไหน และพร้อมที่จะให้นักศึกษาทำเรื่องขอยืมและดาวน์โหลดหนังสือ หรือวารสารฉบับนั้นจากห้องสมุดได้เลย

ปัจจุบันสัดส่วนของหนังสืออีเล็กทรอนิกส์มีอยู่ประมาณ 80-90% เรายังคงมีระบบของหนังสือเล่มอยู่ แต่ระบบของอีเล็คทรอนิกส์จะต้องถูกพัฒนาไปเรื่อยๆระบบการยืมหนังสือในห้องสมุดก็จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิตอลด้วย

ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เริ่มแจกแท็บเล็ตให้กับนักศึกษาปีที่ 1 ที่เข้าใหม่ทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 7,500 คน ซึ่งคาดว่า ในอีก 4 ปีข้างหน้า นักศึกษาม.รังสิต จะไม่จำเป็นต้องพกหนังสือมาเรียน แต่จะพกเพียงแท็บเล็ตเพียงเครื่องเดียว

ส่วนทางซัมซุง ยังได้เตรียมศูนย์บริการทั่วประเทศ และศูนย์บริการภายในมหาวิทยาลัยรังสิต สำหรับนักศึกษาที่ต้องการบริการหลังการขาย  นิสิตนักศึกษา สามารถนำเครื่องมาส่งซ่องที่ศูนย์มหาวิทยาลัยรังสิตได้เมื่อต้องการ  ปัญหาเครื่องเสีย การพลาดการเรียนก็จะสามารถสานต่อได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลา

การร่วมมือกันระหว่างซัมซุงประเทศไทย และมหาวิทยาลัยรังสิตในครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับการศึกษา ทั้งการเรียนการสอนไปสู่ยุคดิจิตอลยุคปัจจุบันได้อย่างแน่นอน


  • 74
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ