เครื่องอ่าน e-Book ของเล่นใหม่ที่หลายแบรนด์ต่างเปิดตัว

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ebook_1-2ในยุคแห่งการศึกษาไร้พรมแดนนี้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้การศึกษารุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายขึ้นเพราะผู้เรียนที่ไม่ว่าจะเป็นใคร จากที่ใด และเวลาใดก็ได้ ก็เรียนรู้ได้ตลอดวันละ 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ทั้งนี้ ในแง่ของเทคโนโลยีสื่อการเรียนรู้ก็มีมากมาย อาทิ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ไอทูนส์ ไอพอด และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น รวมทั้งเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ “อีรีดเดอร์ (eReader)”

Forrester รายงานการซื้อเครื่องอ่านอีบุ๊กในสหรัฐอเมริกาเมื่อสิงหาคม 2552 ว่าผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ชาวอเมริกันร้อยละ 13 สนใจที่ซื้อเครื่องอ่านอีบุ๊กในราคาประมาณ 6,800 บาท  และ ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ชาวอเมริกันร้อยละ 26 มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่ซื้อเครื่องอ่านอีบุ๊กในราคาประมาณ 6,800บาทและมีแผนจะซื้อเครื่องอ่านอีบุ๊กภายในหกเดือน  นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ. 2551 ยอดขายเครื่องอ่านอีบุ๊กในสหรัฐอเมริกาสูงถึงหนึ่งล้านเครื่องแล้วมีการคาดการณ์กันว่าในปี พ.ศ. 2552 นี้น่าจะมียอดขายเพิ่มเป็นสองล้านเครื่อง

ถึงปี พ.ศ. 2552 สื่อการเรียนรู้ประเภทหนังสือเป็นเล่มๆ ก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่หนังสือดิจิทัล หรือ    “อีบุค (eBook)” ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าผู้คนทั่วโลกหันไปอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้นซึ่งถึงต้นปี พ.ศ. 2552 ก็มีประมาณ 1,600 ล้านคนแล้ว นอกจากนี้ก็เป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วยเนื่องจากอีบุ๊กช่วย ลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำไปผลิตกระดาษทำเป็นหนังสือให้ได้อ่านกัน และช่วยลดภาระการหิ้วถือหนังสือหลายเล่มต่อวันด้วย    สำหรับอีบุ๊กนั้นแต่เดิมก็มีอีรีดเดอร์เป็นตัวอ่านซึ่งเป็นซอฟต์แวร์แบบให้ใช้ฟรี  สำหรับโทรศัพท์มือถือมือถือและอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ก็มีรุ่นที่รองรับอีรีดเดอร์ได้ อาทิ ไอโฟน  ปาล์มโอเอส  ซิมเบี้ยน  แบล็คเบอร์รี่  และโทรศัพท์อัจฉริยะที่ใช้วินโดว์สโมบาย เป็นต้น

e-Reader สามารถอ่านแฟ้มเอกสารที่บันทึกเป็นแฟ้มประเภทต่างๆ ได้ อาทิ PDF, Microsoft Word, Excel และ Powerpoint เป็นต้น ถึงปี พ.ศ. 2552 จากอีรีดเดอร์ที่เป็นเพียงตัวอ่านที่เป็นซอฟต์แวร์ให้ใช้ฟรีแบบจิ๋วก็พัฒนาไปเป็นเครื่องอีรีดเดอร์ที่เปรียบเสมือนห้องสมุดเล็กๆ พกพาได้เพราะจัดเก็บอีบุ๊กได้เป็นสิบเป็นร้อยเล่มในเครื่องเดียว

eBook ของ Amazon Kindle

ebook_1-1

มีการจัดอันดับเครื่องอ่านอีบุ๊กหรืออีรีดเดอร์สามอันดับแรกในปี พ.ศ. 2552 เมื่อเดือนมีนาคมจาก    เว็บท็อปอีบุ๊กรีดเดอร์ส (http://www.topebookreaders.com/)  โดยอันดับที่หนึ่งคือ คินเดิลทู (KindleTM2) ของอะเมซอน  มีรูปลักษณ์ที่บางและแบตเตอรี่ใช้ได้นานกว่าคินเดิลวัน  รองรับระบบ 3G ประมวลผลเร็วกว่าคินเดิลวันร้อยละ 20  ซึ่งดาวน์โหลดอีบุ๊กใช้เวลาน้อยกว่า 60 วินาที และมีรายการหนังสือกว่า 230,000 เล่ม นอกจากนี้ยังรองรับรูปแบบการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ  แฟ้มเอกสาร และเอชทีเอ็มแอล เป็นต้น   อันดับที่สองคือ โซนี่รีดเดอร์พีอาร์เอส 700 (Sony® Reader PRS 700) เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊กแบบสัมผัสและสามารถเก็บอีบุ๊กได้ถึง 350 เล่ม  และอันดับที่สามคือ โซนี่รีดเดอร์พีอาร์เอส 505 (Sony® Reader PRS 505) เก็บอีบุ๊กได้เพียง 160 เล่ม  จะเห็นได้ว่าทั้งอะเมซอนและโซนี่ไล่ตามกันมาติดๆ หากโซนี่หากลยุทธ์เด็ดๆ ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นกว่าคู่แข่งอย่างอะเมซอนก็คาดว่าไม่นานก็น่าจะตีตื้นหรืออาจจะแซงหน้าอะเมซอนก็เป็นได้ ในทางตรงกันข้ามหากอะเมซอนไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาหากลุยุทธ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ก็อาจจะทำให้อะเมซอนแซงหน้าโซนี่และบริษัทอื่นๆ ที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งนั้นตามแอมะซอนไม่ทัน

eBook ของ Sony

ebook_1-4

เมื่อสิงหาคม 2552 โซนี่เปิดตัวเครื่องอ่านอีบุคราคาถูกที่สุดในสหรัฐอเมริกาเพื่อตีตลาดและตัดราคา   แข่งกับอะเมซอน นั่นคือ เครื่องอ่านอีบุครุ่น “พีอาร์เอส 300 (PRS-300)” ราคาประมาณ 6,800 บาท มีหน่วยความจำขนาด 512 เมกะไบต์ หน้าจอขนาด 5 นิ้ว และเก็บอีบุ๊กได้ถึง 350 เล่ม  และ  “พีอาร์เอส 600 (PRS-600)” ราคาประมาณ 10,000 บาท มีหน่วยความจำขนาด 512 เมกะไบต์  หน้าจอขนาด 6 นิ้ว และเก็บอีบุ๊กได้ถึง 350 เล่ม  การตัดราคาของโซนี่นั้นเป็นกลยุทธ์หนึ่งเพื่อที่จะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นและยึดส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องอ่านอีบุ๊กมาจากอะเมซอน

นอกจากอะเมซอนและโซนี่แล้ว  ซัมซุงก็ได้เปิดตัวเครื่องอ่านอีบุ๊กเครื่องแรกของบริษัทไปตีตลาดแข่งกับอะเมซอนและโซนี่ นั่นคือ “เอสเอ็นอี50เค (SNE-50K)” เป็นเครื่องอ่านอีบุ๊กแบบหน้าจอสัมผัสขนาด 5 นิ้ว    มีหน่วยความจำ 512 เมกะบิต นอกจากนี้ยังสามารถเขียนข้อความด้วยลายมือได้ด้วยราคาประมาณ 9,400 บาท     ซึ่งในช่วงแรกวางจำหน่ายในเกาหลีใต้เท่านั้น  ทั้งนี้ ซัมซุงได้ร่วมมือกับร้านหนังสือเคียวโบที่มีอีบุ๊กให้บริการอยู่ถึง 2,500 รายการ เพื่อร่วมกันออกแบบตัวประสานผู้ใช้ (User Interface) และทำการตลาด  อย่างไรก็ตามเคียวโบก็คาดการณ์ว่าตลาดอีบุ๊กในปี พ.ศ. 2553 น่าจะเติบโตมีมูลค่าประมาณ 27,000 ล้านบาท  และในปี พ.ศ. 2555 น่าจะเติบโตมีมูลค่าประมาณ 64,900 ล้านบาท 

eBook ของ Samsung

ebook_1-3

จากซอฟต์แวร์เล็กๆ ที่พัฒนาเป็นเครื่องอ่านอีบุ๊กอย่างเต็มตัวก็เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผู้สนใจจะใช้เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่ชอบอ่านหนังสือจะได้ไม่ต้องพกพาหนังสือจำนวนมากแต่สามารถดาวน์โหลดหนังสือใส่เครื่องอ่านไปอ่านที่ใดก็ได้  เมื่ออ่านแล้วก็ดาวน์โหลดเล่มใหม่เข้าไปเพิ่มหรือเข้าไปแทนที่เล่มเก่าก็ได้แล้วแต่ว่ามีหน่วยความจำเท่าใดและต้องการจะเก็บหนังสือไว้จำนวนเท่าใด  ท่านผู้อ่านที่ยังไม่เคยใช้อีบุ๊กก็น่าจะเข้าไปค้นหาข้อมูลจากกูเกิลไปศึกษาแล้วจะซื้ออีบุ๊กหรือไม่ก็แล้วแต่ปัจจัยอื่นๆ หลายประการ อาทิ มีเงินเหลือจะไปซื้ออีบุ๊กหรือซื้ออย่างอื่นดีกว่า   และชอบอ่านจากหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มๆ หรืออ่านจากหน้าจอ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในอนาคตก็คงจะมีผู้สนใจใช้อีบุ๊กและอีรีดเดอร์เพิ่มมากขึ้น  แล้วถึงตอนนั้นผู้ที่ไม่ยอมซื้อตอนนี้ก็อาจจะต้องเปลี่ยนใจก็ได้ 

Source:  Telecom Journal
logo_telecomjournal


  •  
  •  
  •  
  •  
  •