พวก “เจเนเรชั่น แซท”(Generation Z หรือ Gen Z) คือกลุ่มคนที่เกิดในกลางยุค 90s หลังพวกมิลเลนเนี่ยม ฉะนั้นคนที่แก่ที่สุดในกลุ่มนี้คือคนที่มีอายุ 20 ปี
และถ้าดูเฉพาะในอเมริกา จะมีเด็ก Gen Z อยู่มากกว่า 25% ของประชากรทั้งหมดเลยทีเดียว เทียบกับไทยก็มีแค่ 1.4% เท่านั้นเอง
ชาว Gen Z เกิดมาในยุคดิจิตอล เทคโนโลยีเลยมีอิทธิพลต่อ Gen Z มากกว่าคนรุ่นก่อนๆเสียอีก Gen Z คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและใช้มันชำนาญ สมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในวัยเด็ก จนสามารถใช้สมาร์ทดีไวซ์ได้ 5 หน้าจอได้พร้อมกันด้วยซ้ำ ในขณะที่พวกมิลเลนเนี่ยมใช้สมาร์ทดีไวซ์อย่างมากแค่ 2 หน้าจอเท่านั้นแหละ
และนี่คือ พฤติกรรม 3 อย่างของ “Generation Z” ที่ต้องจำใส่ใจเพื่อทำการตลาดโดนใจ Gen Z
1. เร็วกว่า สั้นกว่า เห็นง่าย
เป็นเรื่องท้าทายมากหากเราจะดึงความสนใจจากพวก Gen Z เพราะความสนใจของ Gen Z นั้นมากที่สุดก็ 8 วินาทีเท่านั้นแหละ และ 11% ของพวก Gen Z ก็เป็นพวกไฮเปอร์สมาธิสั้นเสียด้วยสิ สูงกว่าปี 2003 ที่มีแค่ 7.3% เอง
พวก Gen Z จะสื่อสารกันเร็วมากไม่เหมือนพวกมิลเลนเนี่ยม Gen Z จะชอบสื่อสารกันด้วยภาพและอิโมจิแสดงอารมณ์ คุยกันแปปเดียว เผลอๆไม่คุยกันด้วยซ้ำ ใช้สื่อสังคมออนไลน์หลายช่องทางเชื่อมต่อผู้คน ทำให้พวก Gen Z กลัวที่จะโดนเพื่อนๆทิ้งหรือลืมด้วย
ฉะนั้นเนื้อหาที่เห็นได้ง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ก็เป็นวิธีที่ดึงความสนใจ Gen Z ได้ดีนักล่ะ
2. สร้างคอนเทนต์ขึ้นมาเองได้เลย
ในขณะที่พวกมิลเลนเนี่ยมชอบ “แชร์” คอนเทนต์ Gen Z ชอบ “ทำ” มันขึ้นมาดีกว่า
พวก Gen Z จะหาความเป็นตัวของตัวเองในโลกออนไลน์ พยายามที่จะนิยามตัวเองผ่านการทำคอนเทนต์ในหลายๆรูปแบบ แล้วค่อยแชร์เรื่องราวให้กันและกัน กลายเป็นชุมชนขึ้นมา รวมถึงคลิปวีดีโอที่พัฒนาจากเวอร์ชั่นธรรมดา กลายเป็นคลิปถ่ายทอดสดไปหาทุกคนได้
ทำให้เรานึกถึง Facebook Live ของ Facebook, Periscope ของTwitter และ YouTube live ที่แข่งขันกันให้บริการแพลตฟอร์มสดอย่าง musical.ly ก็ให้บริการผู้ใช้ได้ทำและแชร์มิวสิควีดีโอ ก็เป็นบริการที่ตอบโจทย์คน Gen Z ที่ต้องการสร้างคอนเทนต์เองเช่นกัน
ถ่ายทอดสดด้วยตัวเองง่ายๆผ่าน Facebook Live
musical.ly ทำมิวสิควีดีโอเองแล้วแชร์ได้เลย
3. เห็นแบบนี้พวก Gen Z มีความเป็นส่วนตัวสูงนะ
ถึงแม้ว่าความเป็นส่วนตัวแทบละสูญพันธุ์ไปแล้วในยุคดิจิตอล แต่พวก Gen Z กลับหวงความเป็นส่วนตัวสุดๆ พวก Gen Z ที่เติบโตในยุคติจิตอล เข้าใจดีว่าข้อมูลข่าวสารที่อยู่บนโลกออนไลน์สามารถมีผลเสียต่อแบรนด์ประจำตัวพวกเขาได้ด้วย
ลองคิดถึงความเสี่ยงที่ข้อมูลของผู้แข่งขันในการประกวดหรือการเมืองจะถูกแฉออกมาสิ ตั้งแต่ทุกอย่างตั้งแต่สมัยเด็กๆจนถึงตอนนี้ที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ตามผลสำรวจของบริษัทวิจัยอย่างChange Sciences ก็บอกว่า 81% ของ พวก Gen Z ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและกำหนดว่าใครสามรถเห็นโพสของตนด้วย
ไม่แปลกใจที่ “วิสเปอร์” (Whisper) และ “สแนบแชท” (Snapchat) จึงโดนใจ Gen Z อย่างคาดไม่ถึง เพราะบริการของสองรายนี้ตอบโจทย์ Gen Z ทั้งความชอบถ่ายและแชร์รูปและความเป็นส่วนตัว กว่าครึ่งหนึ่งของคนอายุ 16-24 ปีในอเมริกาใช้สแนบแชทแชร์ภาพได้ภายในพริบตา พอแชร์แล้วก็จะไม่ทิ้งร่องรอยให้สืบย้อนหลังได้อีกด้วย
พวกบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ก็เข้าใจความสำคัญของความเป็นส่วนตัวเช่นกัน ดังนั้นการทีฟังก์ชั่นแกะรอยรหัสผ่านหรือมีสัญลักษณ์สำหรับแอปพลิเคชั่นที่ส่งข้อความระหว่างกันจึงทำให้ผู้ใช้งานให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวอย่างแรกเลย
Snapchat แอปพลิเคชั่นบริการส่งข้อความ รูปภาพ นิยมในหมู่ Gen Z
ฉะนั้นไม่มีสูตรการตลาดที่ตายตัวหรอก การเข้าใจคนในแต่ละประเภททำให้เราปรับเปลี่ยนสินค้าบริการได้ดีขึ้นให้ตรงตามความชอบความพอใจของผู้ใช้แต่ละคนแต่ละประเภท จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คน Gen Z ซึ่งก็ต่างจากคนรุ่นอื่นๆ แม้เติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกัน กิจการจึงต้องวางกลยุทธ์ของสินค้าที่เราขายไปตามแต่ละประเภทของคน ใช้สูตรที่ตอบสนองความต้องการของพวกเขาที่แตกต่างกัน
ถ้าเราไม่รู้จักปรับตัว ก็ต้องถูกบังคับให้ปรับตัว
เลือกเอา
แหล่งที่มา
https://www.techinasia.com/talk/3-insights-generation-z