“Subway” ร้านขายแซนด์วิชสีเขียวเหลืองสดใส หลาย ๆ คนคงจะเห็นผ่านตาทั้งในซีรีส์เกาหลี ตามปั๊มน้ำมัน หัวมุมถนน หรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขาเยอะที่สุดในโลกรวมกันประมาณกว่า 38,000 โดยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งที่ประสบผลสำเร็จขนาดนี้ แต่ทำไม “Fred Deluca” ถึงอยากขาย Subway ในบทความนี้ Marketing Oops! จะพามาย้อนรอยเส้นทาง รวมถึงหาสาเหตุเพราะอะไรทำไมถึงขายกิจการ
ภาพจาก : subwayisfresh
ย้อนประวัติของ Subway ร้านขายแซนด์วิชสีเขียวเหลืองสดใสสัญชาติอเมริกา
เรื่องราวของ Subway เริ่มต้นขึ้นในปี 1965 เมื่อ Fred Deluca อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ เพียงเพราะต้องการเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น Fred Deluca จึงตัดสินใจไปขอยืมเงินจาก Peter Buck ซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อแม่ของเขา แต่ Peter Buck ให้เงินมา 1,000 ดอลลาร์สหรัฐแล้วบอกว่าเงินก้อนนี้ไม่ได้ให้ยืม แต่ให้ถือว่าเป็นเงินลงทุนธุรกิจของ Fred แทน
ซึ่งนอกจากให้เงินลงทุนแล้ว Peter Buck ก็ยังเป็นผู้ให้ไอเดียการเปิดร้านแซนด์วิชและชื่อแบรนด์แก่ Fred อีกด้วย นี่จึงถือว่า Fred Deluca กับ Peter Buck เป็นจุดเริ่มต้นตำนานร้าน Subway ขึ้นสำหรับที่มาของชื่อ Subway นั้นมาจากการที่แซนด์วิชมีทรงยาวคล้ายเรือดำน้ำ เพราะ Peter Buck เป็นนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ ให้กองทัพสหรัฐฯ ในช่วงแรกจึงใช้ชื่อร้านว่า Pete’s Super Submarine
โดยทั้งสองคนเปิดร้านอาหารแห่งแรกในเมือง Bridgeport รัฐ Connecticut ให้บริการแซนด์วิชตามสั่งสดใหม่ในราคาที่ไม่แพง ซึ่งในปี 1968 ทั้งสองตัดสินใจเปลี่ยนชื่อร้านเป็น Subway เพื่อให้จดจำได้ง่ายขึ้น
ซึ่งในปี 1970-1987 Subway เติบโตอย่างรวดเร็วมีแฟรนไชส์แซนด์วิชมากกว่า 7,000 สาขา ขยายสาขาไปยังยุโรปและเอเชียมากขึ้น กลายเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยในปัจจุบัน Subway เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ที่ใหญ่มาก โดยมีสาขาประมาณ 38,000 สาขาใน 100 ประเทศทั่วโลก
ภาพจาก : subwayisfresh
Fred Deluca ทำไมถึงอยากขาย Subway
ทาง CNBC ได้รายงานว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมายอดขายของ Subway ลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะปัญหาหลาย ๆ ด้านที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อาทิ ปัญหาการพัฒนาเชิงรุกได้สร้างแรงกดดันต่อผลกำไรของบรรดาแฟรนไชส์ของ Subway และเครือ Subway อีกทั้งยังได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการพิจารณาคดีที่เป็นข่าวดังของ Jared Fogle อดีตโฆษกของ Subway และการเสียชีวิตของ CEO DeLuca ซึ่งเหตุการณ์ทั้งคู่เกิดขึ้นในปี 2015
โดยเมื่อถึงสิ้นปี 2022 Subway มีสาขาเปิดให้บริการประมาณ 20,600 แห่งในสหรัฐฯ ลดลงจากจุดสูงสุดที่เคยมีถึง 27,100 แห่งในปี 2015 (อ้างอิงจากเอกสารการเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์) การดำเนินธุรกิจก็ชะลอตัวลงอย่างมาก เครือร้าน Subway ปิดสาขาไป 571 แห่งในปีที่แล้ว ลดลงจากจำนวนสาขามากกว่า 1,600 แห่งที่ปิดในปี 2020
ภาพจาก : subwayisfresh
Roark Capital ซื้อกิจการเครือร้านอาหารมากกว่า 12 แบรนด์ โดย Subway เป็นแบรนด์ล่าสุด
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน Subway ได้ประกาศขายกิจการในราคา 10,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก ทำให้มีไม่กี่บริษัทที่สามารถซื้อได้ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าว The Wall Street Journal รายงานบริษัทลงทุนเอกชน (Private Equity) การเสนอราคาครั้งสุดท้ายของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 9.6 พันล้านดอลลาร์
สำหรับ Roark Capital ได้ซื้อกิจการเครือร้านอาหารไว้แล้วมากกว่า 12 แบรนด์ Subway เป็นแบรนด์ล่าสุด ซึ่งคาดว่าจะสร้างยอดขายต่อปีมากกว่าเครือร้านอาหารที่ Roark มีอยู่ทั้งหมด ยกเว้น Dunkin’ Donut
ปัจจุบัน Roark เป็นเจ้าของเครือร้านอาหารแบรนด์ต่าง ๆ ที่ซื้อไว้ ผ่านบริษัทลูกของตน โดยเครือร้านอาหาร Dunkin’, Baskin-Robbins, Sonic, Arby’s, Buffalo Wild Wings และ Jimmy John’s ผ่านบริษัท Inspire Brands ซึ่งบริษัทนี้ตั้งแยกต่างหากจาก Focus Brands ที่เป็นเจ้าของเครือร้านอาหาร Auntie Anne’s, Carvel, Cinnabon, Jamba, McAlister’s, Moe’s Southwest Grill และ Schlotzsky’s รวมถึง Roark ยังลงทุนอีก 200 ล้านดอลลาร์ใน Cheesecake Factory
ภาพจาก : subwayisfresh
John Chidsey, CEO ของ Subway กล่าวกับ Journal (The Wall Street Journal) ว่า Roark วางแผนที่จะแยก Subway ออกจากพอร์ตโฟลิโอของบริษัทอีกด้วย
แหล่งข้อมูล : CNBC