(สรุป) Seoul Vision เป้าหมายใหญ่เปลี่ยนเมืองหลวงเป็น Metaverse City ที่แรกของโลก

  • 319
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ช่วง 2-3 วันมานี้มีกระแสข่าวใหญ่เกี่ยวกับ ‘โซล’ (Seoul) เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ หลังจากที่รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ประกาศเป้าหมายใหญ่(มาก) นั้นก็คือ Metaverse Seoul (เมตาเวิร์สแห่งโซล) อธิบายเพิ่มก็คือ การสร้างโลกเสมือนจริงในกรุงโซลนั่นเอง

ในส่วนของรายละเอียดเป้าหมายนี้เราจะมาสรุปให้อ่านกันว่ามีไรบ้าง และวิเคราะห์ถึงโอกาสของเป้าหมายนี้ว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

  • SMG จัดแบ่งงบประมาณในการสร้าง Metaverse นำร่องในกรุงโซลอยู่ที่ 3.9 พันล้านวอน (ประมาณ 108 ล้านบาท)
  • นายกเทศมนตรีโอเซฮุน (Oh Se-hoon) เรียกเป้าหมายนี้ว่าเป็น “เมืองอารมณ์แห่งอนาคต” (future emotional city)
  • ตัวอย่างแพลตฟอร์ม Metaverse ในกรุงโซล เช่น ศาลากลางเสมือนจริง, สถานที่ท่องเที่ยวเสมือนจริง, ศูนย์บริการสังคมเสมือนจริง ฯลฯ ที่ประชาชนจะเข้าถึงด้วยแว่นตา VR headsets เพียงอันเดียว
  • ในกรุงโซลต่อจากนี้จะให้บริการต่างๆ ผ่านเจ้าหน้าที่อวตารเพื่อขอคำปรึกษา หรือคำแนะนำอื่นๆ
  • โครงการนำร่องที่จะเริ่มปลายปีนี้ (ช่วงทดสอบ) เช่น สำนักงานเสมือนของนายกเทศมนตรี, FinTech Lab เสมือนจริง, ศูนย์การลงทุนเสมือนจริง, Seoul Campus Town, บริการสาธารณะต่างๆ
  • สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังจะกลายเป็น Metaverse เร็วๆ นี้ เช่น Gwanghwamun Plaza, พระราชวังถ็อกซูกุง (Deoksugung Palace), ตลาดนัมแดมุน(Namdaemun Market) โดยจะเปิดบริการในรูปแบบ Virtual Tourist Zone
  • สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สูญหายไป อย่างเช่น ประตู Donuimun หนึ่งในป้อมประตูเมืองของกำแพงเมืองโซล ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ 600 ปีก่อน จะถูกสร้างอีกครั้งทางดิจิทัล
  • เทศกาลโคมไฟกรุงโซล (Seoul Lantern Festival) หนึ่งในเทศกาลชื่อดัง ประกาศจะจัดขึ้นในรูปแบบ Metaverse ในปี 2023 เป็นต้นไป
  • คาดว่าจะเปิดตัวคอนเสิร์ตในฮอลล์ ‘Chapel of Sound’ ในรูปแบบ Metaverse แต่ยังไม่มีกำหนดชัดเจน
  • แพลนการเป็น Metaverse City จะมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน โดยจะเริ่มจริงๆ ในปี 2022
Credit: sayan uranan/Shutterstock.com

วิเคราะห์ถึงโอกาสที่โลกจะเห็น Metaverse Seoul

ในปัจจุบันเกาหลีใต้โดยเฉพาะในกรุงโซลถือว่าเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ ไม่น้อยหน้าชาติฝั่งตะวันตกเลย โดยเฉพาะโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Metaverse เดินหน้าได้อย่างไม่สะดุด

หากใครที่เคยไปกรุงโซลจะรู้เลยว่า ความไวของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างจุดนั้นเร็วมากขนาดนั้น ลองคิดเล่นๆ ดูว่าเวลาที่เรานั่งรถบัสอยู่แล้วเราเชื่อมต่อ Wi-Fi ของแต่ละป้ายรถเมล์ไปด้วย ระบบการเชื่อมต่อจะสามารถ run ไปได้ป้ายต่อป้าย

หรืออย่างการใช้ Chat Bot ในเกาหลีใต้ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้วในบริการต่างๆ ทั้งยกให้เป็นเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกสาธารณะ, แผนกำลังพัฒนา AI ให้เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบท่อระบายน้ำและศูนย์บำบัดน้ำเสียในอนาคต ฯลฯ แผนการและการปฏิบัติใช้จริงในปัจจุบัน เป็นข่อบ่งชี้อย่างหนึ่งว่า เกาหลีใต้ได้ก้าวข้ามอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีไปมาก เช่น ภาษา(มนุษย์และ AI), ข้อจำกัดเรื่องเวลา, ข้อจำกัดเรื่องพื้นที่-โครงสร้าง

Park Jong-soo ผู้อำนวยการทั่วไปของนโยบายเมืองอัจฉริยะของกรุงโซล ได้พูดว่า แพลนใหม่เกี่ยวกับ Metaverse จะทำให้กรุงโซลกลายเป็น ‘ผู้บุกเบิก’ ในโลก Metaverse City โดยต้องเชี่ยวชาญในด้านการผสมผสานความต้องการสาธารณะให้เข้ากับเทคโนโลยีส่วนตัวได้ไม่มีอุปสรรค นั่นถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ หรือเข้าใกล้ความสำเร็จนั่นเอง

 

Credit: DiegoMariottini/ Shutterstock.com

 

 

 

ที่มา: hypebeast, euronews


  • 319
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม