พัฒนาการของวงการ Creator มีมานับ 10 ปี ตั้งแต่เรียกขานกันว่า เน็ตไอนอล, บล็อกเกอร์, อินฟลูเอ็นเซอร์ ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีหรือแม้ว่า อาชีพนี้จะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ยังมีหลายอย่างที่ทำให้อาชีพ Creator ยังไม่ได้รับสิทธิที่ดีเทียบเท่ากับอาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำในสายอาชีพนี้อย่างเต็มตัว “เอ็ม – ขจร เจียรนัยพานิชย์ ผู้จัดงาน iCreator Conference” ซึ่งคร่ำหวอดในวงการ Creator มาอย่างยาวนาน ขอเป็นตัวแทนในการนำเสนอ “7 นโยบายขับเคลื่อนวงการครีเอเตอร์ไทยสู่สภา” โดยมีเป้าหมาย สำคัญเพื่อยกระดับวงการครีเอเตอร์และสนับสนุนกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพครีเอเตอร์ในไทย ให้ได้รับการยอมรับและได้รับสิทธิและสวัสดิการที่ดีโดยที่มีกฎหมายรองรับอย่างถูกต้อง 7 ข้อเสนอดังกล่าว มีที่มาจากปัญหาสำคัญอะไรใวงการบ้าง
7 ปัญหาวงการ Creator สู่การผลักดัน 7 นโยบายขับเคลื่อนวงการ Creator ไทยสู่สภา
#1 ปัญหาที่ธุรกิจและ Creator ไทย พึ่งพาแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างประเทศมากเกินไป
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำคอนเทนต์ไม่ว่าจะออกมาจากแบรนด์หรือว่าตัว Creator เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค จำเป็นต้องทำบนแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบูสต์โพสต์ ทำให้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทั้งนี้ ปี 2023 โฆษณาบนสื่อดิจิทัล พบว่ามีมูลค่าสูงถึง 27,481 ล้านบาท และเติบโตมากขึ้นถึง 7% เฉพาะในบ้าน Meta (Facebook & Instagram) ก็รับเงินโฆษณาดิจิทัลมากถึง 9,230 ล้านบาท ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้แก่
- เม็ดเงินโฆษณาสื่อออนไลน์ออกนอกประเทศสูง
- ประเทศไทยหมดเงินไปกับการบูสต์โพสต์บนแพล็ตฟอร์ม
- ประเทศไทยไม่มีช่องทางหรือแพล็ตฟอร์มสนับสนุนสื่อ Creator หรือแบรนด์
- แบรนด์และ Creator จำเป็นต้องมีแพล็ตฟอร์มโซเชียลต่างประเทศเอาไว้โพสต์คอนเทนต์
#นโยบายข้อ1 นโยบายสนับสนุนลดหย่อนภาษีให้กับหน่วยงานที่ซื้อสื่อครีเอเตอร์ในประเทศ (Creator Tax)
- แบรนด์หรือภาคธุรกิจที่ทำการซื้อสื่อครีเอเตอร์ไทย สามารถหักภาษีได้ 200%
- มีการสร้างแพล็ตฟอร์มที่ Creator ฟรีแลนซ์ ติดต่อกับผู้จ้างได้โดยตรง
- สนับสนุนการซื้อสื่อของครีเอเตอร์ภายในประเทศมากขึ้น
ประโยชน์ที่วงการจะได้รับ
- ผลักดันให้แบรนด์ เอเจนซี่ สนับสนุนวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทยมากขึ้น
- ลดอันตราการบูสต์โพสต์และลดการจ่ายเงินออกนอกประเทศ
- มีการนำเงินเข้าประเทศมากขึ้น โดยรัฐบาลสามารถเก็บภาษี 7% ทำให้มีภาษีวนในประเทศและนำกลับมาพัฒนาประเทศได้
#2 ปัญหาของสายอาชีพ รวมถึงคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพ
พบว่าปัญหาในสายอาชีพนี้คือ Creator ในปัจจุบันส่วนใหญ่ เป็นฟรีแลนช์ ซึ่งทำให้ไม่ได้รับการบรรจุเป็นอาชีพ ส่งผลให้ยากต่อการผลิตบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ปัจจุบันเมื่อทุกคนสามารถเป็น Creator ได้เพียงแค่มีช่องทางของตัวเอง และไม่ต้องประกอบวิชาชีพ ทำให้หลายครั้งการผลิตคอนเทนต์มักมีปัญหาเรื่องของการขาดจริยธรรมและจรรยาบรรณ ยิ่งส่งผลทำให้ไม่ได้รับการยอมรับเป็นอาชีพ (นำมาสู่นโยบายข้อ 2)
#นโยบายข้อ2 บรรจุครีเอเตอร์เป็นอาชีพที่ได้การรับรอง (Creator as a Career)
มีข้อเสนอดังนี้
- บรรจุ Creator เป็นอาชีพ แทนการใช้คำว่า “ฟรีแลนซ์”
- สร้างความเข้าใจกับผู้คนเรื่องอาชีพ Creator
- มีการทดสอบเพื่อแลกกับใบประกอบวิชาชีพ
- สร้างจรรยาบรรณและสร้างตัวตนให้ Creator
ประโยชน์ที่ได้รับ
- Creator จะกลายเป็นอาชีพที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ
- อาชีพ Creator จะสามารถสร้างรายได้ ได้อย่างมั่นคง
- Creator มีสหภาพแรงงานรองรับ
#3 ปัญหาการขาดสวัสดิการและไม่ได้รับสิทธิ์ที่เหมาะสม
สืบเนื่องจากคำว่า “ฟรีแลนซ์” ทำให้ Creator ถูกจัดอยู่ในกลุ่มระบบประกันสังคม ม.40 (ผู้ประกอบอาชีพอิสระ) ซึ่งหากถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้แล้ว จะมีทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบและรับสิทธิประโยชน์ ทั้งหมด 3 ทางเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ประกันตน ม.40 ถูกบังคับให้จ่ายสูงสุดได้แค่ 300 บาท/เดือน ทำให้มีสิทธิ์ไม่เท่าเทียมกับผู้ประกันตนใน ม.39 ที่จ่าย 432 บาท/เดือน และที่สำคัญคือ เมื่อเกิดวิกฤตมีแค่บางอาชีพที่รัฐบาลหรือสมาคมช่วยเหลือหรือได้รับเงินเยียวยา
#นโยบายข้อ3 สร้างสวัสดิการ และประกันสังคมสำหรับอาชีพครีเอเตอร์ (Creator’s Social Welfare)
- เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกันตน ม.40 ที่ทำอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์
- สามารถสมัครใจจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อให้ได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกับผู้ประกันตน ม.39
- เพิ่มโอกาสให้รัฐบาลและสมาคม ออกเงินเยียวยาครีเอเตอร์
ประโยชน์ที่ได้รับ
- Creator หรือฟรีแลนซ์ สามารถมีทางเลือกจ่ายเงินรับประกันสังคมของตัวเองตามสมัครใจได้มากขึ้น
- Creator ได้มีประกันสังคมที่มั่นคงและครอบคลุมมากขึ้น
- ช่วยผลักดันให้ Creator สร้างผลงานและหารายได้เข้าประเทศเพิ่ม คนอยากทำอาชีพนี้มากขึ้นแล้วเพราะได้รับสวัสดิการและประกันสังคมที่ดี
#4 ปัญหาขาดสมาคมที่คอยกำกับและดูแลกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ Creator
ในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็น วงการโฆษณา ภาพยตร์ และการออกแบบ ต่างก็มีสมาคมที่ครอบคลุมด้านการให้คุณค่าทางผลงาน แต่ไทยยังไม่มีสมาคมครีเอเตอร์ ประเทศไทยอาจจะมี CUT เครือข่ายอิสระหรือสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ แต่ยังไม่มีสหภาพแรงงานครีเอเตอร์
#นโยบายข้อ4 การรวมกลุ่มสู่สมาคมครีเอเตอร์ (Creator Association)
- สร้างการรวมกลุ่มเป็น สมาคมครีเอเตอร์ไทย โดยมีกำหนดเกณฑ์การเป็น Creator ที่รับรู้ร่วมกันอย่างชัดเจน
- สร้างจรรยาบรรณวิชาชีพ Creator ให้ครอบคลุมทั้งการทำงานและสวัสดิการไปจนถึงทางกฎหมายและสุขภาพจิต
- ตั้งสมาคมครีเอเตอร์ พร้อมหน่วยงานที่สนับสนุนเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านทุน เช่น อุปกรณ์ และการให้เช่าพื้นที่หรือสตูดิโอ
ประโยชน์ที่ได้รับ
- Creator ไทยจะมีสมาคมที่คอยช่วยหลือ รองรับการทำงาน เสมือนอาชีพหนึ่งในทุกๆ ด้าน
- Creator สามารถสร้างผลงานและส่งออก Soft Power สู่ตลาดโลกได้มากขึ้น
#5 ปัญหาขาดแคลนการสนับสนุนด้านเงินทุนและอุปกรณ์
Creator ต้องใช้เงินทุนในการผลิตสูง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์หรือสถานที่ แต่กลับไม่มีโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์หรือสถานที่ที่ดีพอ ที่สำคัญ คือขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐทำให้มีข้อจำกัดในการทำคอนเทนต์ ยกตัวอย่าง โมเดลของ Center for Creative Economy & Innovation (CCEI) เป็น Creator Hub ที่จัดตั้งโดยรัฐบาลเกาหลีใต้ ร่วมมือกับ Korea Telecom เพื่อผลักด้านสตาร์ทอัปด้านนวัตกรรมสู่ Global Hub ซึ่งดูแลทั้งเรื่องกู้ยืมให้เงินทุน, บริการให้คำปรึกษาทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และยังมีบริการให้ใช้สถานที่ยืมอุปกรณ์อีกด้วย
#นโยบายข้อ5 จัดตั้งกองทุนสนับสนุนครีเอเตอร์ (Creator Fund)
- เพิ่มงบประมาณให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พร้อมขยายขอบเขตให้ครอบคลุมครีเอเตอร์มากขึ้น
- จัดตั้ง Creative Center เป็นศูนย์กลางให้ครีเอเตอร์สามารถขอทุนและยืมอุปกรณ์ภาครัฐสนับสนุนเงินค่าตอบแทนเมื่อ Creator สามารถส่งออก Soft Power ได้
- ผลักดันให้เกิดการแข่งขันและพัฒนาคอนเทนต์
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ภาครัฐสนับสนุนเงินทุนอุปกรณ์และโอกาสต่างๆ ทำให้ครีเอเตอร์มีโอกาสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพและส่งออกนอกประเทศ รวมถึงสร้าง Soft Power ของไทยได้
- Creator เข้าถึงอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์คอนเทต์มากขึ้น ทำให้สามารถยกระดับคุณภาพของคอนเทนต์ได้
- Creator ประหยัดต้นทุน อุปกรณ์ หรือสถานที่ได้มากขึ้น และสามารถนำเงินไปลงทุนกับส่วนอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพคอนเทนต์ได้
#6 ปัญหาการขาดการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง
ต้องยอมรับว่าการเป็น Creator จำเป็นที่ต้องพัฒนาทักษะและอัปเดทสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา แต่การพัฒนาทักษะด้านนี้ ไม่ได้ถุกจัดอยู่ในหลักสูตรพื้นฐานของสถานที่ศึกษา (ทั้งที่ติด Top 5 อาชีพในฝันของเด็ก) และหากไม่ใช่สายเรียนหรือคณะที่เกี่ยวข้องโดยตรง ก็ต้องไปหาคอร์สเรียนเสริมเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมเอง รวมไปถึงคอร์สเรียนเสริรมทักษะเกี่ยวกับการทำคอนเทนต์มีค่าใช้ที่ค่อนข้างจ่ายสูง
#นโยบายข้อ6 จัดคูปองเพิ่มทักษะการสร้างคอนเทนต์ให้กับประชาชน (Creator Voucher)
- เพิ่มสถานศึกษาหรือศูนย์ฝึกที่รวบรมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ให้คนสามารถนำ Voucher มาเรียนเสริมทักษะต่างๆ เกี่ยวกับการทำคอนเทนต์ได้
- แจก Voucher ให้เรียนเสริมทักษะนอกห้องเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับวงการครีเอเตอร์ได้ในงบฯ 2,000 บาท/ปี ต่อคน ภายใต้หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์คอนเทนต์เท่านั้น เช่น การเรียนยิง Ads, การเรียนวิธีการทำ SEO หรือการตัดต่อวิดีโอ เป็นต้น
- ให้ Voucher รายปี จะมีการกำหนดเกณฑ์ผู้รับ รวมถึงขอบเขตคอร์สเรียนชัดเจน โดยต้องมีอายุตั้งแต่ 18-30 ปี
- กระจายรายได้และสร้างแรงจูงใจให้ผู้เชี่ยวชาญในวงการหันมาพัฒนาการสอน โดยการพาร์ทเนอร์กับศูนย์ฝึกเอเจนซีหรือ Creator ที่เป็นเทรนเนอร์
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้รับ Voucher เรียนฟรีรายปี เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะสู่การเป็น Creator จากนอกห้องเรียน รวมถึงสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับวงการ Creator ได้
- เปิดโอกาสให้คนมีทางเลือก ในการเรียนรู้เสริมทักษะการทำคอนเทนต์เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนทักษะการสร้างคอนเทต์ของตัวเงอ
- เกิดการหมุนเวียนรายได้วงการ Content Creator เพราะคนทำ Voucher เรียนฟรีมาใช้กับพาร์ทเตอร์ที่ร่วมโครงการ
#7 ปัญหาขาดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับสามัญให้เป็น Creator
- นอกจากคณะตามมหาวิทยาลัยแล้ว น้อยมากที่ตามโรงเรียนจะมีหลักสูตรเปิดสอนทักษะเกี่ยวกับการเป็น Creator
- หลักสูตรคณะที่เกี่ยวข้องกับวงการ Content Creator เช่นคณะนิเทศศาสตร์บางแห่งยังไม่ครอบคลุม หรือตามทันโลก รวมถึงขาดการเข้าถึงอุปกรณ์ที่เพียงพอและเหมาะสม
- ประชาชนยังขาดการปลูกฝังเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสม ทั้งที่ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนควรมีความรู้เกี่ยวกับการเสพและผลิตื่อในทุกระดับการศึกษา
#นโยบายข้อ7 ยกระดับการศึกษาด้านการสร้างสรรค์คอนเทนต์สู่อาชีพครีเอเตอร์ในระดับอุดมศึกษา (Creator Class)
- ยกระดับเพิ่มวิชาทางเลือกที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะการเป็นครีเอเตอร์ในทุกระดับการศึกษา
- ยกระดับหลักสูตรการศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ และคณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะในการต่อยอดสู่การเป็น Creator
- รัฐบาลสนับสนุนสถานที่และอุปกรณ์ในการเรียนการสอนให้ครบถ้วน เพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมจริง
- จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนทักษะการเป็นครีเอเตอร์ เช่น จัดการประกวด, จัดค่ายอบรมหรือจัดกิจกรรม Workshop เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
- มีโอกาสได้เลือกวิชาเสริมทักษะการเป็น Creator แม้ไม่ได้เรียนคณะหรือสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรง
- มีโอกาสได้เลือกวิชาเสริมทักษะการเป็น Creator นักศึกษาในคณะที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างคณะนิเทศศาสตร์ได้มีโอกาสเข้าถึงหลักสูตรที่ตามทันโลก และอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมในการเรียนการสอน ซึ่งสามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริงในอนาคต
- มีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์การพัฒนาทักษะ ได้เข้าถุงและเข้าร่วมการพัฒนาทักษะการเป็น Creator ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะและศักยภาพในการสร้างสรรค์คอนเทนต์
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเกิดขึ้นผ่านสภาฯ เร็วนี้ๆ นี้ งาน “iCreator Conference 2023 Presented by SUPALAI” งานสัมมนาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับวงการ Content Creator เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจและ ผลักดันวงการครีเอเตอร์ไทยให้ไปไกลสู่ระดับโลก กลับมาอีกครั้ง สำหรับปีนี้จัดขึ้นในธีม “The Power of NEXT Gen” เพื่อแสดงพลังของคนรุ่นใหม่และเป็นการอัปเดต เทรนด์ในโลกครีเอเตอร์ยุคใหม่ไปด้วยกัน
สำหรับงาน iCreator Conference ถือเป็นงานที่รวมตัวแพลตฟอร์มระดับโลก และเหล่าครีเอเตอร์ชั้นนำไว้ด้วยกัน โดยในปีนี้ได้แบ่งออกเป็น 3 เวทีหลัก รวบรวมกว่า 40 Speakers, 29 Sessions กับอีก 10 Workshops ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้ ประสบการณ์ แนวคิด และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดีในอนาคต โดยจะจัดขึ้นใน วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BHIRAJ HALL. 1-3)
ผู้ที่สนใจสามารถซื้อบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ : http://www.icreatorconference.com