ก่อนหน้านี้มมักจะได้ยินคำว่า “Smart City” กันอยู่บ่อยซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาผสานการวิถีชีวิตของสัมคมเมือง ทั้งในเรื่องของการขนส่ง, พลังงาน, ระบบสาธารณูปโภค, ระบบความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้การใช้ชีวิตของคนเมืองสะดวกมากยิ่งขึ้นและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยภาครัฐมีการประกาศในหลายเมืองให้เป็นต้นแบบ Smart City ทั้งที่ จ.นครนายก จ.ภูเก็ต เป็นต้น
โดยสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) ยังได้ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) และ World Smart Sustainable Cities Organization (WeGO) ได้จัดงานเสวนาระดับเอเชีย-แปซิฟิคครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องสมาร์ทซิตี้และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดย Smart Cityหรือเมืองอัจฉริยะเป็นแนวโน้มการพัฒนาเมืองในอนาคตที่ได้กลายมาเป็นกลยุทธ์หลักของเมืองชั้นนำหลายแห่ง
ไม่เพียงเท่านี้ Smart City ยังเป็นวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองที่ผนวกเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจน Internet of Thing (IoT) มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเมืองในด้านต่างๆ อาทิ ระบบข้อมูลของหน่วยงานท้องถิ่น, โรงเรียน, ห้องสมุด, ระบบขนส่ง, โรงพยาบาล, โรงไฟฟ้า, การจ่ายน้ำ,การบังคับใช้กฏหมาย เป็นต้น โดยเทคโนโลยีจะเป็นตัวกลางที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับชุมชนและระบบสาธารณูปโภคของเมือง
รวมถึงยังสามารถติดตามสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเมือง รวมไปถึงแนวทางการทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และระดับความเป็นเมืองอัจฉริยะจะกลายเป็นตัวชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต่างๆ ของเมืองในอนาคต
อัลตร้าบรอดแบนด์ อินเทอร์เน้ตความเร้วสูง
โครงสร้างพื้นฐานของ Smart City
ในงานเสวนาดังกล่าว ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้นำด้านอุตสาหกรรมในเรื่องต่างๆ อาทิ บริการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และบริการดิจิทัลสาธารณะ การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน สังคมดิจิทัล นวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งมีสิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เครือข่ายอัลตร้าบรอดแบนด์เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการสร้างเมืองอัจฉริยะผ่านเทคโนโลยีไอซีที
ขณะที่หลายประเทศอย่าง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และจีน ได้พัฒนาและผลักดันให้อัลตร้าบรอดแบนด์เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ นั่นจึงทำให้เมืองที่ตั้งเป้าก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ จำเป็นต้องการวางยุทธศาสตร์อัลตร้าบรอดแบนด์ในระดับเมืองเป้นสิ่งแรกของการก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล โดย Huawei ได้ยกตัวอย่างกลยุทธ์ Gigaband City ในการสร้างเมืองอัจฉริยะ
Gigaband City ก้าวไกลสู่ยุคดิจิทัล
กลุ่ม Telco และภาครัฐต้องร่วมกัน
ในเซิ่นเจิ้น, สิงคโปร์, ฮ่องกงและเมืองชั้นนำอื่นๆ อีกหลายแห่ง ที่ใช้แนวคิดจาก Huawei ในเรื่อง Gigaband City ช่วยปรับโฉมโครงสร้างทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใหม่ เพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลของเมืองด้วยการขับเคลื่อนการลงทุนช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารเพื่ออนาคต และปูทางสู่นวัตกรรม Smart City เช่น ระบบแสงไฟถนนอัจฉริยะ กล้อง CCTV ความละเอียดสูง ระบบการบริหารการจราจร และโอกาสการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ในโรงเรียนต่างๆ
ส่วนในเมืองซูโจว ประเทศจีน มีการพัฒนาระบบไฟเบอร์บรอดแบนด์ให้สามารถเข้าถึงทุกบ้าน ส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เติบโตขึ้น 60%ในระหว่างปี 2554-2559 ทำให้ประชากรมีการใช้จ่ายเงินผ่านระบบ e-Payment ถึง 30% ของการใช้จ่ายทั้งหมด และสามารถลดเวลาที่ต้องใช้ติดต่อกับภาครัฐลงได้ถึง 90%
Huawei ยังชี้ว่าการสร้าง Gigaband City ผู้มีอำนาจของแต่ละเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองจำเป็นจะต้องตั้งเป้าหมายการพัฒนาบรอดแบนด์และให้ความสำคัญกับอินเอทร์เน็ตความเร้วสูงในระดับสูงสุด นอกจากนี้ยังต้องมีนโยบายเพื่อรองรับและรับมือกับความท้าทาย รวมถึงอุปสรรคในระหว่างการดำเนินการติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์ เช่นเจ้าหน้าที่ของภาครัฐต้องพร้อมในการการผสมผสานระบบอินเทอร์เน็ตกับระบบสาธารณูปโภคเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น และหาแนวทางที่จะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงง่ายขึ้น
โดยกำหนดให้โครงการก่อสร้างอาคารใหม่ๆ หรืออาคารเก่าควรปรับปรุงให้มีการเชื่อมต่อระบบไฟเบอร์, กำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนในการชดเชยด้านต่างๆ รวมถึงต้องสามารถออกกฏหมายกรอบโครงงานด้านไอซีทีที่ครบวงจร ซึ่งจากกรณีตัวอย่างความสำเร็จของเมืองต่างๆ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและโอเปอเรเตอร์ด้านโทรคมนาคมหรือกลุ่ม Telco ถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จที่สำคัญ นั่นเป็นเพราะกลุ่ม Telco มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในด้านบรอดแบนด์สำหรับGigaband City
ยกตัวอย่างเช่นในเมืองเซิ่นเจิ้น ที่มีไชน่าเทเลคอม โอเปอเรเตอร์ด้านโทรคมนาคมเป็นพันธมิตรและเป็นผู้ก่อสร้างโครงการ Gigaband City ขณะที่ในเกาหลีก็มี KT, SKT และ LGU+ที่เป็นโอเปอเรเตอร์ด้านโทรคมนาคม ล้วนให้การสนับสนุนโครงการGigaband Cityอย่างเต็มกำลัง
Huawei ยังชี้ว่าจุดที่สำคัญคือ การแบ่งปันคือ หนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ความเป็นผู้นำของรัฐบาลและการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือก็มีความจำเป็น เพื่อเร่งการส่งมอบบรอดแบนด์ให้เกิดการพัฒนา Smart City และสังคมแห่งการเชื่อมโยงสื่อสารที่ดีกว่า
Copyright © MarketingOops.com