ส่อง Half Year Trends: Business and Economy โดย “ป้อม ภาวุธ – หมูอุ๊คบี” เมื่อเงินไทยไหลเพราะแพล็ตฟอร์มนอก แล้วไทยจะใช้อะไรสู้กลับ

  • 47
  •  
  •  
  •  
  •  

ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อย สำหรับงานทอล์กแห่งปี AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024” Creative Generation หรืองาน #CTC2024 งานสัมมนาใหญ่ประจำปีที่บรรดานักธุรกิจ นักการตลาด ผู้มีไอเดียสร้างสรรค์จากหลากวงการกว่า 100 ท่านมาเป็นวิทยากร เพื่ออัปเดทหลากเทรนด์ให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับธุรกิจ รองรับการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่โอกาสสร้างการเติบโต

 

หนึ่งในเวทีที่น่าสนใจได้แก่ เวที Half Year Trends: Business and Economy ซึ่งมี 2 Speaker คนสำคัญในวงการธุรกิจด้านไอที ได้แก่  “ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง Creden.co, PaySolutions และ Gash.ai และ ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ CEO & Co-Founder Ookbee หรือ “หมูอุ๊คบี” ให้มุมมองถึงเทรนด์การทำธุรกิจและภาพรวมของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเราสรุปสาระสำคัญให้ดังนี้

 

คุณภาวุธ กล่าวถึงการเติบโตของ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยประเทศไทย ซึ่งเต็มไปด้วยยักษ์ใหญ่ เช่น Shopee Lazada ยังมีบริการโลจิสติกส์ เช่น ไปรษณีย์ไทย แฟลชเอ็กซ์เพรส(Flash Express) เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ฯ บริการเดลิเวอรี เช่น แกร๊บฟู้ด ฟู้ดแพนด้า โรบินฮู้ด และไลน์แมน ฯ ที่หลายบริษัท แพลตฟอร์มเริ่มพ้นภาวะ “ขาดทุน” มีศักยภาพทำกำไร บริการออนไลน์ที่คนไทยไม่ได้มีแค่ช้อปปิง รับส่งสินค้า แต่ยังมีการรับชมรายการหรือคอนเทนต์โปรดผ่านแพลตฟอร์มรับชมวิดีโอออนไลน์ ฟังเพลงหรือสตรีมมิ่งต่างๆ ด้วย เช่น เน็ตฟลิกซ์(Netflix) สปอทิฟาย(Spotify) แม้กระทั่งรับชมคอนเทนต์ผู้ใหญ่ผ่านโอนลี่แฟน(OnlyFans) รวมถึงสื่อสังคมออนไลน์ สื่อโฆษณาต่างๆ

 

“เคยสำรวจตัวเองหรือไม่ว่าแต่ละเดือน หรือปีค่ายใช้จ่ายเหล่านี้คิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ในมิติด้านเศรษฐกิจ “ภาวุธ” ยกให้เป็น “เศรษฐกิจใหม่” ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และยังสะท้อนพฤติกรรมคนไทยมีการใช้เทคโนโลยีที่เติบโตมากขึ้น ทว่า อีกมิตินี่เป็นเหมือน “ภัยคุกคาม” เศรษฐกิจของไทย เพราะคนไทยมีการใช้จ่ายให้กับแพลตฟอร์มเหล่านี้ไปสู่ต่างประเทศ กลายเป็นภาพบิ๊กผู้ให้บริการออนไลน์ “กระชากเงินไหลในกระเป๋าคนไทยออกไปนอกประเทศ” คาดมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับการส่งออกข้าวไทยปี 2564 มีมูลค่ากว่า 1.07 แสนล้านบาท เทียบปริมาณการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปปี 2564 มูลค่ากว่า 1.72 แสนล้านบาท สะท้อนภาพดุลการค้าที่ไทยสูญเสีย และถูกกระชากออกไปจากเงินในกระเป๋าหลายคน”

 

หากพิจารณารายชื่อบริษัทแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศที่มาจดทะเบียนกับกรมสรรพากร 188 ราย เช่น Netflix OnlyFans Google Zoom Amazon Spotify Apple HubSpot DigitalOcean ฯ และการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริการอิเล็กทรอนิกส์ จากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศ(VAT for Electronic Service : VES)ปี 2566 จำนวน 6,727.72 ล้านบาท จากรายได้ 96,110.29 ล้านบาท โดย VES มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ก.ย.2564 ที่ผ่านมา

 

ด้านคุณหมูอุ๊คบี เสริมว่าการจะทำโปรดักส์ให้สู้กับแพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่ เป็นเรื่องยากมาก ถ้าดูขนาดของ Netflix ต่อให้เราลงทุนมหาศาล แต่เสกลของการทำ โปรดักส์ก็เป็นเรื่อง global ก็อาจจะยาก ลงทุนเท่า Netflix แต่ได้รายได้ไม่เยอะ อาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนขนาดนั้น

“การจะเปลี่ยนประเทศอาจจะยาก สิ่งที่พอทำได้คือ ใครมี platform ดี ๆเราใช้ไปก่อน คุณหมูบอกว่าพอได้มีโอกาสไป Shark Tank แล้วพบว่าเมืองไทย ธุรกิจพวก F&B น่าสนใจมาก ขายดีกว่า start up  อีก โอกาสเหล่านี้จับต้องได้และอยู่ใกล้ตัว ดังนั้น สำหรับส่วนตัวแล้วมองว่า ไม่ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำที่สุด แต่เป็นความใส่ใจ innovation แบบไทย ๆ ก็จะมีที่ยืนบนเศรษฐกิจโลกได้”

 

เทรนด์เศรษฐกิจไทยปี 2024

สำหรับเทนรด์ในการทำธุรกิจปี 2024 เพื่อฟันฝ่าเศรษฐกิจประเทศไทย ที่ดูเหมือนว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่อไปนั้น ไม่ว่าจะเป็นค่า GDP ที่น้อยแค่ดิจิเดียว หรือตลาดหุ้นประเทศไทยที่อาจจะแย่เป็นอันดับสองของโลก ทั้งสอง 2 ท่านแบ่งปันมุมมองเอาไว้ โดยสรุปดังนี้

  • ในเรื่องของการลงทุนจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่การลงทุนของเราเปิดกว้างมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่รูปแบบสินทรัพย์และประเทศ ผู้คนเข้าถึงการลงทุนในตลาดได้ง่ายมากขึ้น ทุกคนสามารถศึกษาหาความรู้และเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
  • อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจ digital โตขึ้นอย่างมาก แต่เงินไหลออกต่างประเทศเยอะ โดยเฉพาะกับเด็กรุ่นใหม่ที่โตมากับ subscription model คนทำธุรกิจก็ต้องปรับตัวตามให้ทัน
  • ขณะที่ การนำเข้า ‘สินค้านำเข้า’ ไปจัดอันดับ จะพบว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าของ ‘สินค้าดิจิทัล’ อยู่อันดับที่ 6 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด (ข้อมูลจากคิดค้า)
  • จับตา Brand innovation ซึ่งจะสำคัญต่อไปตั้งแต่วันนี้และอนาคต เช่น F&B ที่เป็นรายได้หลักในการพัฒนาประเทศ
  • และนอกจาก Brand Innovation ก็ควรเพิ่มความ Special Brand Innovation เข้ามาด้วย โดยอาจจะโฟกัสหนึ่งเรื่อง (Specialist Innovation) และเพิ่ม AI เข้าไป ก็อาจจะทำให้อยู่รอดในยุคที่ยากลำบากนี้ได้

.


  • 47
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!