ธุรกิจ ‘Ride-hailing’ ในไทยเป็นอย่างไร? เมื่อ ‘Bolt’ ขอลงแข่งด้วย โดย 6 เดือนแรก ไม่เก็บค่าคอมมิชชั่นคนขับ-ลดค่าโดยสาร 20%

  • 161
  •  
  •  
  •  
  •  

ธุรกิจ Ride-hailing  หรือเรียกง่าย ๆ ว่า แอปฯเรียกรถในบ้านเราที่มีการประเมินมูลค่าของธุรกิจอยู่ที่ 21,000 ล้านบาท ดูท่าจะร้อนแรงขึ้นอีก เพราะล่าสุด ‘Bolt’ แพลตฟอร์มให้บริการการขนส่งในยุโรปและแอฟริกา ได้ประกาศทดลองเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

สำหรับ Bolt เป็นแพลตฟอร์มผู้ให้บริการขนส่งผู้โดยสารจากยุโรป มีผู้ใช้บริการกว่า 30 ล้านคนใน 35 ประเทศทั่วยุโรปและแอฟริกา โดยเปิดให้บริการครอบคลุมตั้งแต่บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยยานยนต์ขนาดเล็กอย่างสกูตเตอร์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า ตลอดจนการให้บริการส่งอาหารและพัสดุ

ขณะที่การเปิดให้บริการในไทยนั้น ได้เริ่มทดลองในพื้นที่กรุงเทพฯ และมีคนขับพร้อมให้บริการกว่า 2,000 คน ซึ่งหากคนขับรถที่สนใจเข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้ เพียงมีรถยนต์เป็นของตัวเองพร้อมใบอนุญาตต่าง ๆ ที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ

อย่างไรก็ตาม ด้วยการเป็นน้องใหม่ของตลาดในไทย ทาง Bolt จึงขอแข่งขันด้วยการสร้างบริการที่คุ้มค่า โดยใน 6 เดือนแรก จะยกเว้นการเก็บค่าคอมมิชชั่นจากคนขับและให้ส่วนลดค่าโดยสาร 20% โดยช่วงแรกของการเปิดตัว ยังจ่ายค่าโดยสารด้วยเงินสดก่อน

คาดมูลค่าธุรกิจจะอยู่ที่ 4.33 แสนล้านบาทในปี 68

สำหรับภาพรวมธุรกิจ Ride-hailing ในไทยนั้น ทางศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เคยประเมินไว้ว่า

– ในปี 2661 มีมูลค่าตลาดประมาณ 21,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6% ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทย และคาดว่า จะเติบโตสูงขึ้นเป็น 4.33 แสนล้านบาทในปี 2568 หรือคิดเป็น 27% ของ GDP ภาคขนส่งทางบกไทย

– จำนวนผู้ใช้บริการ ในปี 2561 อยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านคนต่อเดือน และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคนต่อเดือนในปี 2568

– จำนวนผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารเพื่อให้บริการ Ride-hailing ในปี 2561 มีประมาณ 105,000 คนต่อเดือน และคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 590,000 คนต่อเดือนในปี 2568


  • 161
  •  
  •  
  •  
  •