อุตสาหกรรมยา จากสถานการณ์ COVID-19 ธุรกิจจะเปลี่ยนทิศทางไปทางไหน พบทางออกและพลิกธุรกิจก้าวไกลสู่ระดับโลก ตอนที่ 3

  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

เราได้พูดคุยถึงสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยา ทางออก และวิธีการในบทความทั้ง 2 ตอนกันไปแล้ว

ครั้งนี้เราจะมาพูดถึงกลยุทธ์สำคัญและทัศนคติมุมมองในแง่บวกที่จะปฏิรูปธุรกิจ Business Transformation ด้วยนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดและประสบความสำเร็จ เรามาลองฟังแนวคิดกับผู้บริหารฯ ทั้ง 3 ท่านจากสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ พรีม่า

กลยุทธ์ที่ใช้ในการทำ Business Transformation ในครั้งนี้ มีอะไรบ้าง

ดร.อาร์มิน: สำหรับผม วิกฤตนี้ไม่ได้ทำให้แก่นของธุรกิจเปลี่ยน แก่นธุรกิจของเราคือ การสร้างคุณค่าให้กับคนไข้และสังคมนั้นยังเหมือนเดิม แต่วิกฤตนี้ได้ทำให้เราต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือกลยุทธ์ใหม่ กลยุทธ์ที่สำคัญในการทำ Business Transformation คือ ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven) อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างนวัตกรรมได้อย่างมากมาย เราจำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง เราเห็นแล้วว่าโลกจะต้องเผชิญโรคระบาดใหม่ๆ สิ่งที่จำเป็นคือ การสร้างนวัตกรรมที่สามารถรับมือกับโรคระบาดนั้นได้อย่างรวดเร็ว

เข้าใจและเข้าถึงลูกค้า โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรม (Customer Focus) เราต้องกลับมาคิดใหม่ สร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา จากการคว้าโอกาสในท่ามกลางวิกฤตนี้ ด้วยชุดความคิดที่มีประสิทธิภาพและ การมองโลกในแง่ดี (Optimistic) การมองโลกในแง่ดีเป็นอีกกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดในยามวิกฤตนี้ เพราะทุกๆวิกฤตมีโอกาสเสมอ และทำให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยความคิดเห็น (Sentiment) ที่มีพลังมากๆ

“ปัจจัยสำคัญคือ การมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ใส่ใจลูกค้าและยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และมองโลกในแง่ดี” — ดร.อาร์มิน เวสเลอร์ รองประธานสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)

คุณเควิน : กลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับผมคือ

ความยืดหยุ่นในการปรับตัว (Flexibility) เราจะเห็นว่าองค์กรที่ล้มเหลว คือองค์กรที่ปรับตัวไม่ได้หรือปรับตัวได้อย่างเชื่องช้า เท่าที่ผมเห็นบางองค์กรทำแผนธุรกิจที่เข้มงวดและมีตัวเลือกน้อย ทำให้ยากต่อการจะปรับตัวและตอบสนอง ด้วยวิกฤติไวรัสโคโรนาเป็นโจทย์ใหม่และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราจำเป็นต้องปรับตัวให้ได้อย่างรวดเร็ว สร้างแผนกลยุทธ์ใหม่เพื่อทำให้ทุกคนปลอดภัยและขับเคลื่อนธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้และส่งมอบยานวัตกรรมและวัคซีนให้ถึงมือผู้ที่ต้องการมันมากที่สุด

การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven) ในอุตสาหกรรมยา นวัตกรรมคือหัวใจสำคัญ เรามุ่งมั่นที่จะทุ่มเทในการลงทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมยาและวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมฯ ใช้เวลาไม่กี่เดือนในการค้นหาระดับโมเลกุลของวัคซีน (Vaccine candidate) หลายตัวที่กำลังทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโคโรนา ผลความก้าวหน้าเหล่านี้มาจากการทุ่มเทในการสร้างนวัตกรรมใหม่และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ของอุตสาหกรรมยาชีวเวชภัณฑ์

“ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม” — คุณเควิน ปีเตอร์ รองประธานสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)

คุณบอยด์ : เหรียญมีสองด้านเสมอ ในช่วงเวลานี้หลายคนมองว่าเป็นบททดสอบที่หนักหน่วง แต่ในมุมมองที่ดีอีกด้านหนึ่งคือ เราจะได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงหรือ Transform  อุตสาหกรรมยาไประดับโลกได้ในวิกฤตที่ผ่านมา ระบบการขนส่งต้องหยุดชะงักทำให้ระบบโลจิสติกส์ไม่สามารถขับเคลื่อนส่งยาได้ ส่งผลให้ระบบห่วงโซ่อุปทานชะงัก  ถ้าเราใช้โอกาสนี้ในการคิดใหม่ สร้างใหม่ (Rebuild) หรือ เปลี่ยนแปลง (Reform) ระบบห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นระดับสากลหรือ Global Supply Chain ทำให้สามารถรองรับภาวะวิกฤตได้จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมยาในประเทศให้พัฒนาก้าวไกลไประดับโลกได้

“สร้างระบบ Global Supply Chain ให้ทัดเทียมระดับสากล” —- คุณบอยด์ จงไพศาล ประธานสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)

ครั้งต่อไปถ้าพูดถึงอนาคตของอุตสาหกรรมยา ในประเทศไทยใน จะไปในทิศทางไหน ฟื้นฟูอย่างไรในระดับประเทศสู่ระดับโลก รอติดตามตอนถัดไปในวันพรุ่งนี้

สามารถอ่านบทความอื่นได้ที่ http://www.prema.or.th/site/th/healthcare-post-covid-19-part-3-th/


  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •