ออร์กานอน ประเทศไทย จับมือ กรมอนามัย และภาคี เดินหน้าภารกิจรับฟังเสียงผู้หญิง ขับเคลื่อนแนวทางการสร้างครอบครัวคุณภาพ วางรากฐานสู่ความยั่งยืนของประเทศ

  • 4.1K
  •  
  •  
  •  
  •  

[บทความนี้เป็น advertorial]

 

“สังคมที่ยั่งยืนเริ่มต้นจากหน่วยย่อยเล็ก ๆ อย่างครอบครัว การสร้างครอบครัวที่มีคุณภาพเริ่มต้นจากการวางแผนเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ตลอดจนการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมตั้งแต่เยาว์วัยโดยมีแม่เป็นขุมพลังที่ยิ่งใหญ่ ผู้หญิงจึงเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างครอบครัวคุณภาพ และเสียงของพวกเธอยังมีความหมายอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนความยั่งยืนของประเทศชาติ”

เสียงสะท้อนจากงานเสวนา เสียงของผู้หญิง “ครอบครัวคุณภาพสู่ความยั่งยืนของประเทศ”ซึ่งจัดโดย บริษัท ออร์กานอน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเปิดให้เป็นพื้นที่สำหรับรับฟังเสียงความต้องการของผู้หญิงจากตัวแทนภาคส่วนต่างๆ โดยมีองค์กรเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซียเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์การทำงานส่งเสริมสุขภาพของผู้หญิงไทย ตลอดจนแนวทางการสร้างครอบครัวคุณภาพจากพลังของผู้หญิง อันจะนำไปสู่ความร่วมมือ การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระดับนานาชาติ และเครือข่ายองค์กรเอกชน และเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสุขภาพผู้หญิงให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสภาพสังคมปัจจุบันของประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ

 

 

ในปี 2564 นี้ ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ สวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลง ซึ่งมีเพียง 600,000 คนในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะลดลงอีกในปีนี้ ด้วยปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น ค่านิยมอยู่เป็นโสด และความกังวลเรื่องความมั่นคงในหน้าที่การงาน จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นนี้ยังส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ เช่น แนวโน้มประชากรวัยทำงานที่ลดลง ซึ่งหมายถึงแรงงานในการพัฒนาประเทศที่น้อยลงตาม ขณะเดียวกัน อายุเฉลี่ยของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น โดยผู้ชายอยู่ที่ 73.5 ปี และผู้หญิงอยู่ที่ 80.5 ปี ยังส่งผลต่องบประมาณในการดูแลผู้สูงวัยที่อาจไม่เพียงพอ และนำมาซึ่งภาระพึ่งพิงที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยสถิติในปี 2551 พบว่าแรงงาน 6 คน ดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 จะมีแรงงานเพียง 1.7 คน ดูแลผู้สูงอายุ 1 คน การเสริมสร้างสังคมให้แข็งแกร่งเพื่อรับมือกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

 

การส่งเสริมสุขภาพของผู้หญิงเกี่ยวข้องอย่างไรกับการสร้างสังคมอย่างยั่งยืน?

การวางแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรเพื่อรับมือกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้หญิง เพราะจุดเริ่มต้นของการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพมาจาก “แม่” หรือผู้หญิงที่มีสุขภาพดี กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย จึงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินนโยบายที่มุ่งส่งเสริมให้การเกิดทุกรายมีการวางแผน ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ได้รับการดูแลหลังคลอดที่ดี ตลอดจนเด็กได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวที่มีคุณภาพเอื้อต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย พร้อมที่จะเป็นประชากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงวัยต่อไป

 

 

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “เพื่อบรรลุเป้าหมายการรับมือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จะมุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ ตลอดจนสนับสนุนการวางแผนครอบครัวอย่างยั่งยืน พร้อมเปิดรับความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคสังคมและเอกชน เพื่อรับฟังเสียงของผู้หญิงและผลักดันให้ผู้หญิงมีบทบาทในสังคมและเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่าผู้หญิงที่มีสุขภาพกายและใจที่ดีจะมีส่วนสร้างครอบครัวคุณภาพและนำไปสู่ความยั่งยืนของประเทศ”

 

การส่งเสริมสุขภาพและรับฟังเสียงของผู้หญิงอย่างจริงจัง จะต้องเกิดขึ้นในสังคมไทย

นอกจากบทบาทในระดับครอบครัวอย่างการเป็นแม่ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มอัตราการเกิดของประชากรแล้ว ผู้หญิงยังมีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ รวมถึงภาคสังคม โดยปัจจุบันมีองค์กรเพื่อสังคมที่มีความพยายามสนับสนุนบทบาทสตรีมากขึ้นผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ  Women’s Empowerment Principles โดยองค์กรเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ที่มุ่งเพิ่มศักยภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในภาคธุรกิจ อันจะนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และ โครงการ UN Women Care Accelerator ซึ่งมุ่งสร้างโอกาสในการจ้างงานและโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้หญิงที่อยู่ในภาคส่วนการดูแลบ้านและครอบครัวซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมไปถึง โครงการ WeEmpower Asia โดยมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ซึ่งมีการทำงานภายใต้หลักแห่งการเสริมแกร่งเศรษฐกิจไทยด้วยพลังสตรีโดยเฉพาะ เพื่อผลักดันความเท่าเทียม หนุนการเติบโตทางธุรกิจให้แก่องค์กรอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

 

 

ภก.สิทธิพงษ์ เลี่ยมสุวรรณ ผู้อำนวยการแผนกการเข้าถึงนโยบายและการสื่อสาร บริษัท ออร์กานอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมในประเด็นความสำคัญของการรับฟังเสียงของผู้หญิงว่า “ออร์กานอน ต้องการเคียงข้างสนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในทุกช่วงวัย เราจึงพร้อมรับฟังทุกปัญหาสุขภาพผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นภาวะฮอร์โมนที่ซับซ้อน การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยรุ่น ปัญหาความเครียดในผู้หญิงในวัยทำงาน ตลอดจนภาวะเข้าสู่วัยทอง ความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนของผู้หญิงวัยสูงอายุ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาเฉพาะของผู้หญิงที่ต้องการการรับฟังและทำความเข้าใจเป็นพิเศษ  เพราะเราเชื่ออย่างยิ่งว่าผู้หญิง คือรากฐานสำคัญที่จะทำให้โลกมีสุขภาวะที่ดีขึ้น การทำให้ผู้หญิงมีสุขภาพที่ดีขึ้น จึงหมายถึงการสร้างสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้าให้กับครอบครัวและสังคมรอบตัวของพวกเธอ เราจึงให้ผู้หญิงเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งที่เราทำ”

 

 

ด้าน มร. คุง คาเรล เคราท์บ๊อช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์กานอน ประเทศไทย จำกัด กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า “เราเชื่อว่าผู้หญิงในทุกช่วงวัยมีคุณค่า และพวกเธอมีส่วนสำคัญในการสร้างสังคมที่แข็งแรง ออร์กานอนจึงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความตั้งใจที่จะรับฟังและทำความเข้าใจทุกความต้องการด้านสุขภาพของผู้หญิง โดยเราจะใช้ความเชี่ยวชาญทั้งในระดับโลก และระดับภูมิภาค เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมและทำให้ผู้หญิงไทยและครอบครัวได้ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกวัน ออร์กานอนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐ และภาคสังคมในทุกมิติเพื่อเป้าหมายในการสร้างโลกที่มีสุขภาวะดีขึ้นสำหรับทุกคน”

เพราะผู้หญิงคือรากฐานของสังคมที่ยั่งยืน และผู้หญิงมีเรื่องเล่ามากมายที่ต้องการการรับฟังเป็นพิเศษ เพื่อช่วยให้พวกเธอได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น การรับฟังเสียงความต้องการด้านสุขภาพของผู้หญิงอย่างตั้งใจจึงเป็นก้าวแรกในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสุขภาพผู้หญิงอย่างเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การสร้างครอบครัวคุณภาพให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนตามมา

#HereForHerHealth #เคียงข้างเพื่อสุขภาพเธอ

[บทความนี้เป็น advertorial]


  • 4.1K
  •  
  •  
  •  
  •