นีลเส็น เผยสัดส่วนการใช้งบโฆษณา พร้อม 10 แบรนด์ที่ใช้งบเยอะที่สุดในเดือนพ.ย. 58

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

nielsen-11-2015

Nielsen ประเทศไทย เผยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งบโฆษณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2558 และการใช้งบโฆษณาตลอดปีนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 112,456 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่มีเพียง 107,921 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.20%

Year

โดยงบโฆษณาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ทีวีอนาล็อก 53,183 ล้านบาท (ลดลง 9.74%) ตามมาด้วยทีวีดิจิทัล 19,413 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 172.69%) และหนังสือพิมพ์ 11,145 ล้านบาท (ลดลง 6.54%)

สำหรับสื่ออื่นๆ ที่มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุ 5,165 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1.04%) สื่อในโรงภาพยนต์ 4,533 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 18.73%) สื่อนอกบ้าน 3,887 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 6.52%) สื่อรถประจำทาง 4,038 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 19.11%) และอินเทอร์เน็ต 976 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 12.83%)

ส่วนสื่อที่ใช้งบโฆษณาลดลง คือ เคเบิล/ทีวีดาวเทียม 5,592 ล้านบาท (ลดลง 17.40%) นิตยสาร 3,872 ล้านบาท (ลดลง 14.28%) สื่อณ.จุดขาย หรือสื่อในห้างสรรพสินค้า 607 ล้านบาท (ลดลง 66.13%)

งบโฆษณาเฉพาะเดือนพฤศจิกายน 2558

Month

สำหรับงบโฆษณาประจำเดือนพฤศจิกายน 2558 มูลค่ารวมทั้งสิ้น 10,643 ล้านบาท ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่เล็กน้อย 1.79% โดยงบเงินโฆษณาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ทีวีอนาล็อก 4,913 ล้านบาท (ลดลง 8.15%) ตามมาด้วยทีวีดิจิตอล 1,804 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 28.22%) และหนังสือพิมพ์ 1,138 ล้านบาท (ลดลง 6.41%)

ส่วนสื่อที่มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ได้แก่ เคเบิล/ทีวีดาวเทียม 524 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 5.65%) วิทยุ 576 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 6.67%) สื่อในโรงภาพยนต์ 474 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 39.82%) สื่อนอกบ้าน 377 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 13.55%) และสื่อรถประจำทาง 384 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.67%)

ด้านสื่อที่ใช้งบโฆษณาลดลง นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วก็มี นิตยสาร 328 ล้านบาท (ลดลง 26.13%) สื่อณ.จุดขาย 35 ล้านบาท (ลดลง 85.77%) และสื่ออินเตอร์เน็ต 90 ล้านบาท (ลดลง 3.23%)

10 แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2558

brand
1. Samsung Mobile Phone : 97,692,000 บาท
2. กรุงไทย แอกซ่า : 89,144,000 บาท
3. เครื่องดื่มโค้ก : 80,294,000 บาท
4. Happy Mobile Phone System : 74,787,000 บาท
5. โตโยต้า ปิ๊คอัพ : 73,408,000 บาท
6. ธนาคารทหารไทย : 64,278,000 บาท
7. อีซูซุ ปิ๊คอัพ : 61,194,000 บาท
8. ซูซูกิ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล : 56,236,000 บาท
9. MG รถยนต์นั่งส่วนบุคคล : 54,453,000 บาท
10. โตโยต้า Vehicles Product Range : 53,724,000 บาท

 

แหล่งที่มา Nielsen ประเทศไทย


  •  
  •  
  •  
  •  
  •