LinkedIn แนะนำ 3 ตัวช่วย สำหรับนักเรียน นักศึกษา เสริมสร้างความมั่นใจในอนาคต

  • 1
  •  
  •  
  •  
  •  

linkedin

LinkedIn เว็บไซต์ออนไลน์ที่เน้นด้านเครือข่ายธุรกิจ และคนทำงาน ได้เปิดตัว 3 ตัวช่วยสำหรับนักเรียน และนักศึกษา ในการข้ามผ่านอุปสรรคที่จะต้องพบเจอในการค้นหาทางเลือกในอนาคต ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยรวบรวมข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับอาชีพแต่ละอาชีพโดยมาจากสมาชิกของ LinkedIn อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและมืออาชีพ ว่าเมื่อเรียบจบแล้วจะเลือกประกอบอาชีพอะไร หรือจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

Decision Boards

บอร์ดช่วยตัดสินใจ เหมาะสำหรับนักเรียนที่กำลังค้นหาตัวเองว่าต้องการทำงานแบบใด และควรเรียนด้านไหนเพื่อให้เป็นไปตามที่ตั้งใจ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจครั้งใหญ่ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ค้นพบมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ และยังได้รับคำแนะนำจากบุคคลที่เชื่อถือได้ หรืออาจได้พบกับเพื่อนร่วมห้องในอนาคต เพื่อแบ่งปันแรงบันดาลใจหรือประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกันก่อนก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

DB

University Outcome Rankings

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย มีเป้าหมายที่จะช่วยให้นักเรียนเลือกว่ามหาวิทยาลัยใดดีที่สุด และเมื่อเรียนจบแล้วจะได้ทำงานตามที่ต้องการ LinkedIn จะใช้วิธีการวิเคราะห์จากโปรไฟล์ของศิษย์เก่าเป็นล้านๆ คน เพื่อค้นหาว่าในแต่ละสถาบันมีศิษย์เก่าทำงานในสาขาอาชีพใดบ้าง และนำข้อมูลเหล่านั้นมาแบ่งเป็นอาชีพต่างๆ อาทิ นักการตลาด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่บริษัทเพิ่งเปิดใหม่ นักออกแบบตกแต่งภายใน พนักงานการเงิน พนักงานบัญชี ฯลฯ โดยในช่วงแรก LinkedIn จัดทำใน 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร

ranking21

University Finder

เครื่องมือค้นหามหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่เหมาะกับตัวคุณ เพียงแค่ระบุว่าต้องการทำอะไร และมหาวิทยาลัยใดที่เหมาะกับคุณมากที่สุด แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ต้องการเรียนอะไร ต้องการทำงานที่ไหน และต้องการอาศัยอยู่ที่ใด ระบบก็จะทำการประมวลผลให้ทันทีว่ามหาวิทยาลัยใดเหมาะกับคุณที่สุด เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ

University_Finder1

ทั้งนี้ LinkedIn พร้อมจะเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาของคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบแล้วไม่มีงานทำ ลดปัญหาการว่างงาน หรือแม้กระทั่งการทำงานไม่ตรงกับสายที่เรียนมา

สำหรับผู้ใช้งาน LinkedIn ในเมืองไทยอาจต้องอดใจรออีกสักหน่อย เพราะขณะนี้ LinkedIn ได้รวบรวมข้อมูลจากองค์กรและมหาวิทยาลัยในแถบประเทศยุโรป และบางประเทศในเอเชียแล้ว คาดว่าในเร็วๆ นี้ เราอาจจะได้ใช้งานกัน

แหล่งที่มา


  • 1
  •  
  •  
  •  
  •