การเปิดร้านในยุคนี้ความหินสุดๆ ของมันจะไม่ใช่แค่ ‘รสชาติที่ต้องนิ่ง’ เหมือนกับยุคก่อนๆ อีกแล้ว ที่ต้องมีรสมือดี และมีรสชาติที่เสถียรตามสูตรเป๊ะๆ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกๆ ครั้ง แต่สำหรับยุคนี้ที่ดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญในการ drive ธุรกิจให้อยู่รอด บวกกับการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะใครๆ ก็อยากทำธุรกิจส่วนตัวมากกว่าทำงานประจำ ดังนั้น สกิลที่ติดตัวก็จำเป็นต้องลับคมอยู่เรื่อยๆ เหมือนกัน
อย่างที่ คุณภัคพงศ์ พึ่งกัน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของร้านอาหาร ‘รสมือแม่’ ร้านอาหารเหนือชื่อดังในเขตหลักสี่ ที่พูดถึงหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจว่าอยู่ที่ ‘การวางแผนที่ดี และมีแผนแบบ short-term & long-term’
“ในยุคนี้อาหารอร่อยอย่างเดียวไม่ได้ และไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะทำให้ร้าน success ด้วย เพราะมันมีหลายองค์ประกอบรวมๆ กัน ทั้งการสำรวจตลาด, สำรวจลูกค้า หรือแม้แต่ ความเข้าใจในเรื่อง กระแสเงินสด (Cash flow) ทุกอย่างมันจำเป็นต้องรู้ ต้องอัพเดท”

คุณภัคพงศ์ ได้พูดถึงคุณสมบัติเบื้องต้นของเจ้าของร้านที่ควรมี 3 ข้อหลักๆ คือ
- ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ต่อให้เก่งหรือมากประสบการณ์แค่ไหนก็ตาม
- ค้นหาและใช้ทางลัดให้เป็นประโยชน์ (ทางลัด = Academy, คอร์สเรียน) เพื่ออัพเดทความรู้ เพื่อรู้จักพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ
- หยุดหาข้อมูลในสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการปรับปรุง หรือพัฒนาร้าน/ธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังพูดอีกว่า “ในฐานะผู้ประกอบการร้านอาหาร แม้ว่าเราจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลายเรื่อง ทั้งการบริหารหน้าร้าน ระบบหลังบ้าน และดูแลพนักงาน เเต่ก็จำเป็นต้องอัพเดทความรู้ของตนเองและความรู้รอบตัวโดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีอยู่เสมอ ยิ่งในยุคนี้ที่พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนมาใช้บริการจากฟู้ดเดลิเวอรี่มากขึ้น หากเรามีความเข้าใจในระบบการทำงานเหล่านี้ก็จะยิ่งทำให้การบริหารร้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ขณะที่ คุณธีรพัฒน์ เลิศสิริประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kouen Sushi Bar ให้มุมมองที่ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว เขาพูดว่า “ธุรกิจต้องคอยพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจและบริการให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในยุคนี้ที่ร้านอาหารต้องผันตัวเองมาอยู่บนแพลตฟอร์มส่งอาหารด้วย นอกจากจะต้องนำเสนอเมนูใหม่ๆ เพื่อ keep target ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วิธีการจัดหมวดหมู่อาหารบนออนไลน์ รวมไปถึงเทคนิคการจัดห่อแพ็กเกจให้ดูน่าทาน เหมือนเรานั่งอยู่ในร้าน สิ่งเหล่านี้สำคัญพอๆ กัน”
แม้แต่ ‘ไรเดอร์’ หรือพาร์ทเนอร์คนขับ ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน อย่าง Grab ซึ่งเข้าตลาดมาในประเทศไทยกว่า 7 ปีแล้ว ได้ตั้งเป้าไว้เมื่อเดือน เม.ย. เปิดรับพาร์ทเนอร์จัดส่งอาหาร-พัสดุกว่า 64,000 อัตรา หมายความว่า ในอนาคตเราคงจะเห็นไรเดอร์สีเขียว หรือสีอื่นๆ วิ่งกันอยู่เต็มถนน ดังนั้น หลักสูตรทางลัดอะไรต่างๆ นานา ที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ง่ายขึ้น หรือเร็วขึ้น เรียกว่ากำลังได้รับความสนใจจากกลุ่มไรเดอร์ และเหล่าผู้ประกอบการ Micro SMEs ไม่น้อยเลย

มีหนึ่งเสียงยืนยันจาก ไรเดอร์ Grab ‘วารินทร์ ถาวรประดิษฐ์’ ที่บอกถึงความท้าทายจากการเป็นไรเดอร์ หนึ่งในนั้นก็คือ ‘ภาษา’ เพราะในไทยคนที่ออเดอร์อาหาร หรือใช้บริการเดลิเวอรี่ ผสมปนเปทั้งคนไทยและต่างชาติมีจำนวนพอๆ กัน ดังนั้นการที่เราได้ภาษา สามารถสื่อสารได้นอกเหนือจากภาษาไทย ทำให้เข้าใจซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มความประทับใจจากลูกค้าด้วย
ดังนั้น ความรู้รอบตัวเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วมีสำคัญมากในยุคแบบนี้ ทาง Grab เองก็ได้เห็นถึงจุดตรงนี้เช่นกัน ซึ่งล่าสุด Grab ได้ประกาศอีกหนึ่งจุดยืนใหม่ โดยร่วมมือกับ depa หรือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ Klasssi powerd by KBank เปิดตัวโครงการ ‘GrabAcademy powered by depa สร้างอาชีพกับมือโปร’ เพื่อช่วยอัพเกรดผู้ประกอบการขนาดเล็ก และไรเดอร์ทั้งหมด ให้มีสกิลใหม่ๆ ติดตัวเป็นการต่อยอดงานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้น
คุณจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด, Grab Thailand พูดว่า ตอนนี้มีหลักสูตรที่จะช่วยผู้ประกอบการและไรเดอร์กว่า 80 หลักสูตรแล้ว ตั้งแต่ ภาษาต่างประเทศ, การทำตลาดออนไลน์, เคล็ดลับเพิ่มยอดขายด้วยภาพถ่าย, เทคนิคการทำคอนเทนต์ จนไปถึง พื้นฐานการบริหารธุรกิจ (เช่น ทำบัญชี, ภาษี, Service Mind) ที่สำคัญหลักสูตรทั้งหมดนี้ FREE!

อย่างคอร์สที่เปิดสอนไปแล้วไม่กี่วันก่อน เรื่อง ‘ให้ร้านคุณอยู่บน Google ได้ฟรีด้วย #GoogleMyBusiness’ โดยจะมีคนมาสอนเราตั้งแต่ ทำให้รู้จักและเข้าใจว่า Google My Business คืออะไร, โอกาสของร้านค้าอยู่ตรงไหน, วิธีการพาธุรกิจของเราไปอยู่บนแพลตฟอร์ม และประโยชน์ที่เราจะได้หากใช้อย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้คือข้อมูลพื้นฐานที่เจ้าของร้านหรือธุรกิจบางคนยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำ หรือเข้าใจแต่ไม่ถูกต้อง
หรือเมื่อปลายเดือน ก.ย.ที่ GrabAcademy ได้สอนหลักสูตรเรื่อง ‘เคล็ด(ไม่)ลับที่ทำให้ธุรกิจคุณเติบโต ด้วย Google Ads’ ที่สอนเราตั้งแต่ การคิดเป็นระบบ สอนให้เข้าใจลูกค้า และการวางแผนธุรกิจด้วยการเข้าใจระหว่างลูกค้าออฟไลน์กับออนไลน์ ไปจนถึง คีย์เวิร์ด ที่ใช้ค้นหาธุรกิจเรา เป็นต้น
ทั้งนี้ GrabAcademy เปิดตัวแล้วขณะนี้ มีแค่ 2 ประเทศเท่านั้น คือ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งทาง Grab บอกมาว่า สำหรับเฟสแรก (2020) คอร์สทั้งหมด 80 หลักสูตรน่าจะช่วยอัพสกิลพาร์ทเนอร์ได้ราวๆ 15,000 คน ส่วนเฟส 2 (2021) กระซิบมาว่า จะปังกว่าเดิม มีอะไรใหม่ๆ ตื่นเต้นกว่าเดิมแน่นอน แต่ยังคง Keep concept เดิมเป็นแหล่งความรู้ให้กับเหล่าพาร์ทเนอร์ของ Grab เหมือนเดิม