WeChat ‘Mini Program ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับธุรกิจในจีน ทาง WeChat ได้เปิดตัวและพัฒนามาแล้ว 2 ปี Miniไม่ใช่แอพพลิเคชั่นใหม่ หรือฟีเจอร์ใหม่ของ WeChat แต่เป็นต่อยอดการพัฒนาแอพฯ บนแอพฯ ของ WeChat ที่ธุรกิจและร้านค้าสามารถต่อยอดจาก Official Account ไปสู่การทำ Loyalty program และการซื้อขายบนช่องทางของ WeChat โดยเชื่อมต่อการรับชำระเงินด้วย WeChat Pay ที่น่าสนใจ คือ ล่าสุดทีจำนวน Mini Program ที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานใน WeChat แล้วกว่า 1 ล้าน App
Allen Zhang (อเลน ชาง) ผู้คิดค้นและพัฒนาแอพพลิเคชั่น WeChat และปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งประธานบริหารได้กล่าวที่งาน WeChat Open Class Pro 2019 สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า โดยปกติคนเราจะมีแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนหลายแอพฯ แต่ที่ใช้กันเป็นประจำจะมีประมาณ 10 App เท่านั้น การที่ธุรกิจจะสร้าง Mobile App ของแบรนด์ตัวเองนั้นใช่ว่าทำไม่ได้ ทำได้.. แต่อาจมีความเสี่ยง เพราะนอกจากจะต้องเสียเงินลงทุนแล้วยังต้องเสียทรัพยากรและเวลาในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใหม่ ยังไม่รวมถึงงบโฆษณาเพื่อใช้ในการโปรโมทแอพฯให้มีคนดาวน์โหลดอีก ดังนั้น การพัฒนาระบบต่างๆบน Mini Program จะช่วยร่นระยะเวลาการทำงาน ในงบประมาณที่น้อยกว่า
ที่สำคัญ ปัจจุบันมีจำนวนประชากรจีนกว่า 1 พันล้านคนใช้ WeChat เป็นประจำทุกวัน นอกจากจะใช้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและครอบครัวแล้ว ยังมีอีกกว่า 800 ล้านคนที่ใช้ WeChat Pay ชำระสินค้าและบริการต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในขณะที่ปัจจุบันมีธุรกิจเปิด Official Account มากมายบน WeChat ซึ่งผู้ใช้งาน WeChat ก็คุ้นเคย และยังคุ้นเคยกับการชำระเงินผ่าน WeChat Pay จนเรียกได้เป็นเรื่องปกติของทุกๆคน ในทุกๆวัน โดยไม่ต้องพกเงินสด การที่คนจีนจะเรียกแท็กซี่ ซื้อไอศกรีม และซื้อผลไม้ข้างทางผ่าน WeChat Pay นั้นถือว่าธรรมดามากๆ เพราะแม้แต่ร้านอาหารในจีนหลายแห่ง ยังเปิดให้ผู้บริโภคสแกน QR Code บนโต๊ะอาหาร เพื่อเปิดดูเมนูอาหารผ่านโทรศัพท์มือถือ เลือกสั่งเมนูที่ชื่นชอบ และชำระเงินในทันทีผ่าน WeChat Pay ก่อนที่อาหารจะมาเสริฟที่โต๊ะ แทบจะไม่ต้องใช้พนักงานเสริฟเลย
Allen Zhang จึงพยายามเน้นถึง Mini Program ว่าเป็นเสมือนช่องทางลัดที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อยอดกิจกรรมอื่นๆสู่ผู้บริโภคได้ โดยที่ธุรกิจไม่จำเป็นพัฒนา Mobile app ขึ้นมาใหม่ แต่สามารถพัฒนา Mini Program บน WeChat แทน
เพราะ Mini Program สามารถทำให้ธุรกิจที่มี Official Account บน WeChat สามารถต่อยอดพัฒนาระบบต่างๆเสริมได้ เช่น ระบบซื้อขายตั๋วเครื่องบิน บัตรคอนเสิร์ต จองหรือเรียกแท็กซี่ สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ สร้างคูปอง เล่นเกม ไลฟ์สด หรือต่อยอดสู่บริการ home service และธุรกิจส่งอาหาร รวมไปถึง Loyalty program กับการสะสมพอยต์ และระบบสมาชิกต่างๆได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง O2O Experience คือการเชื่อมบริการระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างแนบเนียน เช่น การค้นหาที่จอดรถผ่าน Official Account และทำการจ่ายค่าที่จอดรถได้ในทันที โดยผู้ใช้ WeChat ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอพใหม่ เพียงติดตาม Official Account ของแบรนด์หรือร้านค้าบน WeChat ก็จะสามารถเห็นบริการที่ถูกสร้างขึ้นผ่าน Mini Program ได้
อธิบายแล้วบางท่านอาจจะไม่เห็นภาพ ลองมาดูต้นแบบและตัวอย่างของ Mini Program จากแบรนด์และร้านค้าในจีนว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
JD.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซใหญ่อันดับสองของจีน สร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซบน Mini Program ให้ลูกค้าสามารถซื้อขายบน WeChat
หน้าตาตัวอย่างการใช้ Mini Program ในการตรวจสอบเวลาวิ่งของรถเมล์
แพลตฟอร์มเช็คและเปรียบเทียบราคาอพาร์ทเม้นต์ กับ CheckerFancy บน WeChat ‘Mini Program
‘Are You Hungry’ และแพลต Booking แห่งหนึ่งของจีน เปิดให้สั่งอาหารดิลิเวอร์รี่ และจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟและอื่นๆ
Mobike แพลตฟอร์มของการแชร์จักรยาน ทีต่อยอดระบบค้นหา และปลดล็อก Bike sharing บนช่องทาง WeChat ผ่าน Mini Program
Mobike กับการเปรียบเทียบค้นหา Bike Sharing ระหว่างบน WeChat Mini Program และบน Mobile App ซึ่งมีหน้าตาและการใช้งานที่ไม่ต่างกัน
Tesla บน Mini-program ที่สามารถบอกตำแหน่งของสถานที่ชาร์ตไฟสเตชั่น รวมถึงการนัดหมายเพื่อ Test
McDonalds สร้างระบบคูปอง และต่อยอดสู่การชำระเงินผ่าน WeChat Pay เมื่อนำคูปองมาใช้และชำระเงินที่ร้าน McDonald’s
Influencer
ส่วนนี้เป็นตัวอย่างของ Blogger (Yu Xiaoge ) ในจีน ที่ใช้ช่องทาง WeChat พัฒนาการขายสินค้า บน Mini Program ให้แฟนๆได้ติดตามการรีวิวสินค้าและซื้อสินค้าผ่าน WeChat ซึ่งปกติจะแชร์เป็นเพียงลิงค์เพื่อส่งออกไปหน้าบล็อก
Yu Xiaoge สามารถสร้างยอดขายกว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มบน Mini Program ทำให้บล็อกเกอร์และอินฟลูเอ็นเซอร์ท่านอื่นต่างเดินหน้าสู่การขายผ่าน Mini Program และ WeChat เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถต่อยอดไปสู่กิจกรรมทางออฟไลน์ หรือ O2O (online to offline) ได้อีกด้วย ดังตัวอย่างของ Mobile ข้างต้น หรือแม้แต่การจองโรงแรม และเช็คอินผ่าน Mini Program ที่อนาคตอาจจะต่อยอดไปสู่ IoT บน Mini Program ก็เป็นได้ ซึ่งก็ขึ้นกับนวตกรรมและความสร้างสรรค์ของทีมงาน ในการนำ Mini Program มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า WeChat สามารถต่อยอดจากการติดตาม Official Account สู่ Mini Program เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้ WeChat ให้เป็นเสมือน Super App ที่สามารถเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่เพิ่มความสะดวก และตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมทำธุรกิจบนสมาร์ทโฟนได้อย่างง่ายขึ้น
สำหรับธุรกิจไทยที่ต้องการบุกตลาดจีน วันนี้คุณสามารถต่อยอดการตลาดบน WeChat Official Account ธรรมดา สู่กันพัฒนาและสร้างประสบการณ์กับลูกค้าจีนผ่าน Mini Program ได้แล้ว ภาษาจีนอาจจะอุปสรรคของนักธุรกิจไทย แต่เชื่อว่าบริษัท Tencent ประเทศไทย น่าจะให้คำปรึกษาได้
ธุรกิจของ Tencent ในประเทศไทย
เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มและบริการด้านเนื้อหา หรือ “Content Platforms and Services” ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคออนไลน์ แบ่งผลิตภัณฑ์และการให้บริการออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ News and Portal ได้แก่ Sanook! และ NoozUP, Entertainment & Multimedia Platforms ได้แก่ JOOX, Game และ Services ได้แก่ Topspace, Tencent Social Ads และ WeChat OA
เขียนโดย ณธิดา รัฐธนาวุฒิ
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับประสบการณ์การทำงานในแวดวง Digital มากกว่า 15 ปี ในธุรกิจคอนเทนท์ ธุรกิจออนไลน์ และการตลาดดิจิทัล
อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่
บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรก
Copyright© MarketingOops.com