WeChat โชว์เหนือ QR Code เด็กไป วันนี้แค่ใช้ “ใบหน้า” ก็ชำระเงินได้แล้ว โอกาสของธุรกิจไทยที่จะนำเทคโนโลยีต่อยอดธุรกิจสู่บริการที่สมาร์ทขึ้น

  • 680
  •  
  •  
  •  
  •  

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่นำมาแชร์กัน จากการไปเยือนเมืองกวางโจว ประเทศจีน โดยได้รับเชิญจาก Tencent ประเทศจีน ให้ไปร่วมงาน WeChat Open Class Pro 2019 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำปีที่ผ่านมา

นอกจากงาน conference ใหญ่ประจำปีที่ได้รับรู้เรื่องราววิวัฒนาการของ WeChat และความสามารถของ WeChat Mini Program ที่จะช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มคนจีนเพื่อสร้างสัมพันธ์และสร้างยอดขายแล้ว ภายในงานยังมีส่วนของ Exhibition ที่ทาง WeChat ได้นำเทคโนโลยี Cashless Society กับการชำระเงินรูปแบบใหม่ ‘Scan and Pay’ และ ‘Facial Pay’ โดยได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจและร้านค้ากว่า 300 แห่ง มาร่วมแสดงที่งานนี้ และที่เก๋คือ ผู้เข้าชมงานที่เป็นสมาชิก WeChat สามารถทดลองซื้อสินค้าและชำระเงินผ่าน Scan to Pay และ Facial Pay ที่งานได้เลย

จริงๆแล้วส่วนตัวค่อนข้างเซอร์ไพร้ส์ เพราะทาง Tencent ไม่ได้แจ้งกันล่วงหน้าว่าจะมี show case อะไรบ้าง ทำให้เกิดการตื่นตาตื่นใจกับการได้เห็นเทคโนโลยี Facial Recognition แบบที่ใช้งานได้จริงมาแสดงให้เห็น โดยเฉพาะการชำระเงินด้วยใบหน้า ที่ตอนนี้ดูเหมือนหลายร้านค้าได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ที่จะเริ่มให้บริการนี้กันแล้ว และต่อยอดด้วยการนำเทคโนโลยีเดียวกันนี้กับการใช้งานในด้านอื่นๆมาให้ดูอีกด้วย มาดูกันว่างานนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง

กระเป๋าตังค์ไม่ต้อง มือถือก็ไม่จำเป็น ขอแค่มีใบหน้าที่ใช่ ก็ชำระเงินได้เลย

โซนนี้เป็นโซนแรกที่เจ้าหน้าที่ WeChat พาชม เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้เพียง “ใบหน้า” ชำระเงินค่าเสื้อผ้า โดยทางร้านจะตั้งตู้ Kios ไว้ เมื่อได้ลองเสื้อผ้าจนถูกใจ ต้องการซื้อสินค้า ก็สามารถชำระเงินด้วยตัวเอง ด้วยการหยิบเสื้อผ้าที่ต้องการมาที่ตู้ Kios สแกนบาร์โคดกับเครื่อง หน้าจอก็จะแสดงรายการสินค้าและราคา ผู้ซื้อสามารถเลือกได้ว่าต้องการจะชำระเงินด้วยวิธีใด หากต้องการชำระด้วย WeChat Pay ก็เพียงเปิดแอพฯ WeChat Pay สแกน QR Code เพื่อชำระสินค้าได้เลย หรือหากต้องการเลือกชำด้วย “ใบหน้า” ก็เลือกที่ ‘Facial Pay’ หน้าจอจะจับมาที่ใบหน้าและสแกนใบหน้าในทันที หลังจากนั้นให้ใส่เลขที่สมาชิกของ WeChat หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ เครื่องจะทำการตรวจสอบใบหน้าว่าตรงกับสมาชิก WeChat หรือเบอร์โทรศัพท์หรือไม่ หากใช่ ก็ถือว่าชำระเงินสำเร็จ   Facial Pay นี้สามารถใช้ได้กับทุกธุรกิจที่มีการชำระเงิน เช่น ซูปเปอร์มาเก็ต มินิมาร์ท ร้านเสื้อผ้า ร้านขายผลไม้ สถานทีรถไฟ และอื่นๆ

wechat-facial-pay1 wechat-facial-pay2

wechat-facial-pay8 wechat-facial-pay4

 

ลองเครื่องสำอางผ่าน VR และชำระเงินด้วยใบหน้า

ประมาณ 3 ปีก่อน เราเคยตื่นเต้นกับแอพฯของลอริอัล ที่สามารถให้เราทดลองเครื่องสำอางผ่านแอพฯได้ เลือกสีอายแชร์โดว์ สีลิปสติก สีแป้ง และบรัชออน ลองกันจริงบนใบหน้า และสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ ซึ่ง 3 ปีที่แล้วเป็นเพียง demo แต่วันนี่ WeChat ได้พัฒนาออกมาแล้ว ผ่านเทคโนโลยีเดียวกัน คือ VR (Virtual Reality) หรือการทดลองจากสถานการณ์และภาพเสมือนจริง ให้ทดลองเครื่องสำอางผ่าน VR และต่อด้วยการชำระเงินด้วย Facial Pay

สิ่งนี้ เชื่อว่าพวกเราจะได้ใช้กันแน่นอน เพราะเคยเห็น Show case เดียวกัน เมื่อปีก่อน ที่ทางบริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เคยพาเราไปเยี่ยมชมบริษัท Panasonic ที่ญี่ปุ่น

wechat-facial-pay6

 

อนาคตอาจไม่ต้องการเภสัช ร้านขายยาอาจไม่จำเป็นต้องมีพนักงาน

อีกหนึ่ง showcase ของร้านขายยา ที่มีโรบอทเป็นเภสัชกรคอยต้อนรับ วิเคราะ์โรค และทำการจ่ายยาให้ เพียงพูดคุยหรือบอกกับโรบอทนี้ว่าวันนี้คุณมีอการอย่างไร ส่วนไหนของร่างกายมีปัญหาหรือป่วยเป็นอะไร  โรบอทเภสัชกรนี้จะสามารถทำงานควบคู่ไปกับ AI (Artificial Intelligence) เพื่อประมวลผลการรักษาเบื้องต้น และออกใบสั่งยาให้เราได้ เมื่อได้รับใบสั่งยา ก็สามารถนำไปขอซื้อยากับเจ้าหน้าที่ และชำระเงินได้ด้วย WeChat Pay แบบ Scan and Pay หรือ Facial Pay ได้ด้วยตัวเอง   และในเมื่อระบบถูกใช้งานผ่าน WeChat  ความสามารถต่อไปคือ การแจ้งเตือนลูกค้าถึงเวลาทานยา และติดตามอาการได้ในอนาคตผ่าน WeChat App Official Account  ซึ่งถือเป็นการต่อยอด after sale service และ CRM ผ่าน Mini Program ได้อีกด้วย

wechat-facial-pay-pharmacy2 wechat-facial-pay-pharmacy3 wechat-facial-pay7

 

สมาร์ทโฮเทล ที่จะเกิดขึ้นจริง การบริการถูกทำผ่านสมาร์ทโฟน โดยแขกที่เข้าพักสามารถจัดการด้วยตัวเองได้หมด

อีกไม่นาน เจ้าของโรงแรม โฮสเทล จะสามารถปรับบริการและเปลี่ยนโรงแรมเดิมให้กลายเป็น “สมาร์ทโฮเทล” ได้   โดยแขกที่เข้าพักสามารถจองห้องพักผ่านเว็บไซต์ มาถึงโรงแรม ก็สามารถเช็คอินทางสมาร์ทโฟน  และทางโรงแรมก็สามารถสร้าง Mini Program บน WeChat สร้างระบบ Keycard ด้วยการให้แขกสแกน ID Card เพื่อใช้เข้าห้องพัก (ซึ่งในต่อไปอาจจะเป็น Facial Scan) และใช้ Mini Program ในแอพฯของทางโรงแรมบน WeChat ควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดในห้องพักได้เลย ทั้ง เปิด ปิดไฟ ทีวี แอร์ เลือกเพลง และช่องทีวีผ่าน Mini Program ได้เลย เมื่อถึงตอนเช้า ก็สามารถใช้ใบหน้าสแกนเพื่อเข้าห้องอาหารรับทานอาหารเช้าได้โดยไม่ต้องมีพนักงานต้อนรับเหมือนปัจจุบัน

wechat-facial-pay-smart-hotel-2

wechat-facial-pay-smart-hotel-1

 

จอดรถ และชำระค่าทางด่วน ด้วยสแกนแอนด์โก Scan and Go

Showcase นี้อาจจะไม่หวือหวามาก เพราะไม่ได้ต่างจากที่เราใช้ช่องทางพิเศษของทางด่วนบ้านเรา แต่ในแง่ธุรกิจ ก็ถือเป็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและเก็บดาต้าเพื่อต่อยอดธุรกิจในอนาคตได้ เพราะ WeChat จะเปิดให้สมาชิกผูกหมายเลขทะเบียนรถยนต์กับ WeChat Pay เมื่อผู้ใช้รถขับเข้าที่จอดรถ จะมีกล้องและเครื่องสแกนทะเบียนรถอัตโนมัติ หากทะเบียนรถตรงกับสมาชิกของ WeChat  ผู้ขับจะสามารถขับเข้าที่จอดรถได้ทันทีโดยไม่ต้องรับบัตร หรือชำระเงิน เช่นเดียวกับทางด่วน ทะเบียนรถจะถูกสแกนและสามารถขับผ่านได้เลย ถ้ามองในเรื่องของดาต้า ก็เท่ากับเจ้าของระบบที่พาร์ทเนอร์กับ WeChat จะสามารถเก็บดาต้าทะเบียนรถ ต่อยอดไปสู่ข้อมูลของเจ้าของรถ และในอนาคตอาจจะเป็นพฤติกรรมการใช้รถต่อไปได้อีก

wechat-facial-pay-parking-1

wechat-facial-pay-tollway

 

สั่งเครื่องดื่มผ่าน QR Code และเสริฟอาหารด้วยโรบอท

อีกหนึ่งเทคโนโลยีของร้านอาหารแห่งอนาคต กับการเสริฟอาหารด้วยโรบอท  สำหรับ WeChat ที่เมืองใหญ่ๆของจีน ลูกค้าที่เข้ามาที่ร้าน จะสามารถสแกน QR Code เพื่อดูเมนูอาหาร และชำระค่าอาหารผ่าน WeChat Pay ได้เลย เมื่อชำระเงินแล้ว สักพักเมื่ออาหารพร้อม พนักงานจะนำอาหารมาเสริฟให้ถึงโต๊ะโดยไม่ต้องมีพนักงานรับออเดอร์ (ส่วนตัวได้ลองใช้บริการมาแล้ว)  สำหรับ Showcase นี้ คือความก้าวหน้าไปอีกขั้น ของการใช้โรบอทเสริฟอาหาร ลูกค้าสามารถสแกน QR Code ดูเมนูและเลือกสั่งอาหาร ชำระด้วย WeChat Pay เช่นกัน แต่ครั้งนี้ การเสริฟอาหารจะเป็นโรบอท หรือตู้ส่งอาหารอัตโนมัติ ที่จะนำอาหารมาให้เสริฟให้ถึงโต๊ะ   เห็นแล้วทำให้นึกถึงร้านอาหารจีน ที่อนาคต อาจจะเป็นการนำติ่มซำมาเสริฟให้ถึงโต๊ะเลยก็ได้

wechat-facial-pay-robot-drink-1

wechat-facial-pay-robot-drink-2

wechat-facial-pay-robot-drink-3

 

เมื่อการชำระเงินด้วยใบหน้ากำลังเกิดขึ้น Facial Recognition ก็สามารถทำได้อีกหลายอย่าง

อีกหนึ่งตัวอย่างของการนำ Facial Recognition มาใช้สำหรับสแกนใบหน้าก่อนเข้าสำนักงาน อนาคตเราจะได้ใช้ชีวิตเหมือนภาพยนตร์ฮอลลีวูดกันแล้วสินะ เพราะเท่าที่ทราบ ล่าสุดสำนักงานแห่งใหม่ของ Tencent ประเทศไทย ก็ได้นำระบบสแกนหน้ามาใช้กับพนักงานกันแล้ว

wechat-facial-pay-office-1

wechat-facial-pay-office-2

 

มองกันดีๆ เทคโนโลยี หรือการใช้ Scan to Pay, Facial Pay ด้วย Facial Recognition และ Virtual Experience ที่กำลังเกิดขึ้นนี้  คืออนาคตที่ WeChat ได้สร้างระบบนิเวศแห่งอนาคต ที่จะทำให้คนจีน หรือลูกค้าติดกับ WeChat App ในทุกๆวัน จนกลายเป็น Lifestyle App ซึ่งคือจุดยืนที่ WeChat ได้วางไว้   ซึ่งทั้งหมดจะถูกต่อยอดไปสู่การเก็บดาต้าของผู้ใช้บริการ   หมายถึงพาร์ทเนอร์ธุรกิจของ WeChat จะสามารถนำดาต้าดังกล่าวนำไปใช้กับ Personalization นำมาวิเคราะห์ต่อยอดไปสู่การทำธุรกิจในอีกหลายรูปแบบในอนาคต

ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญของหลายธุรกิจในไทย ที่มีสนใจนำเสนอบริการในรูปแบบที่สมาร์ทขึ้น ยกระดับธุรกิจเดิม สู่สมาร์ทธุรกิจในอนาคต  ลองติดต่อ Tencent ประเทศไทยดู เผื่อมีโซลูชั่นในการทำพาร์ทเนอร์ร่วมกัน

 

สำหรับใครที่พลาดบทความแรก และบทความที่สองของการไปเยือนจีนของเรา สามารถคลิกอ่านเพื่อต่อยอดธุรกิจกับ WeChat ได้ตามนี้

บทความแรก หมัดเด็ดอีคอมเมิร์ซ สู่เป้าหมายลูกค้าจีน ขยายฐานลูกค้าสร้างยอดขายกับคนจีน ผ่าน WeChat ‘Mini Program
บทความที่สอง ตามติดวิวัฒนาการของ WeChat มีอะไรใหม่สำหรับธุรกิจไทยจากงานใหญ่ประจำปี ที่เมืองกวางเจา ประเทศจีน

 

ธุรกิจของ Tencent ในประเทศไทย

เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย)  คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มและบริการด้านเนื้อหา หรือ “Content Platforms and Services” ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคออนไลน์ แบ่งผลิตภัณฑ์และการให้บริการออกเป็น 3 ประเภทได้แก่  News and Portal ได้แก่ Sanook! และ NoozUP,  Entertainment & Multimedia Platforms ได้แก่ JOOX, Game และ Services ได้แก่ Topspace, Tencent Social Ads และ WeChat OA

 

เขียนโดย ณธิดา รัฐธนาวุฒิ
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับประสบการณ์การทำงานในแวดวง Digital มากกว่า 15 ปี ในธุรกิจคอนเทนท์ ธุรกิจออนไลน์ และการตลาดดิจิทัล

อ่านบทความ Exclusive Insider เพิ่มเติมได้ที่นี่

บทความ Exclusive นี้เผยแพร่บน Marketing Oops! เป็นที่แรก

Copyright© MarketingOops.com


  • 680
  •  
  •  
  •  
  •  
Tukko Nathida
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MarketingOops.com กับความตั้งใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ทันเหตุการณ์ และเกิดประโยชน์ ให้สามารถนำเนื้อหาความรู้ และ Insight ไปต่อยอดกับอนาคตของธุรกิจ และการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ครีเอทีฟ การตลาด โฆษณา และสตาร์ทอัพ