ด้วยจำนวนประชากรกว่า 600 ล้านคน การขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลาง และอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ถูกจับตามองว่าจะเป็นยุคตื่นทองแห่งต่อไปของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การซื้อเข้ากิจการ Lazada ในประเทศไทยของ Alibaba มูลค่าหนึ่งพันล้านดอลล่าร์สหรัฐเมื่อต้นที่ผ่านมา นับเป็นการเข้าครอบครองธุรกิจในต่างแดนครั้งใหญ่ที่สุดของแจ็ค หม่า แม้ว่าจะมีการลงข่าวใหญ่โต หรือมีการลือกันต่างๆนานา ทว่าที่จริงแล้ว โอกาสสำหรับอีคอมเมิร์ซในเอชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีมากแค่ไหนกันแน่
โอกาสมูลค่า 8.8 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ?
มีข้อมูลไม่มากนักเกี่ยวกับการคาดการณ์ถึงขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาด
อีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ ยังถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่มก่อตัวใหม่ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะอีคอมเมิร์ซแบบ C2C (ที่คาดว่ามีสัดส่วนถึง 1ใน3 ถึงครึ่งหนึ่งของมูลค่าสินค้ามวลรวมของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้) นั้นยังไม่สามารถควบคุมหรือนำเข้าสู่กระบวนการการเก็บภาษีได้ เนื่องจากส่วนมากของอีคอมเมิร์ซแบบC2Cในเอชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เกิดขึ้นบนโซเชี่ยลแพลทฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook และ Instagram โดยมีการสื่อสารกันผ่านแอพพลิเคชั่นแชทอย่าง LINE และ Facebook Messenger
จริงๆแล้วก็ได้มีความพยายามจากหลากหลายองค์กรที่มีชื่อเสียง ในการพยายามที่จะประเมินขนาดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ ซึ่งความพยายามครั้งล่าสุดมาจากบริษัท AT Kearney โดยเป็นการร่วมมือกับ ธนาคาร CIMB และได้ตีพิมพ์บทความชื่อ “ Lifting the Barriers to E-Commerce in ASEAN ” ออกมาในช่วงต้นปี ค.ศ. 2015 ที่ผ่านมา โดยมีการประมาณว่าขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันมีมูลค่า 7 พันล้านดอลล่าร์สหัฐ(ตัวเลขจากปี ค.ศ. 2013) และคาดการณ์ว่ามีจะโอกาสจะเติบโตไปถึง 8.9 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐในอนาคต
และไม่นานมานี้ Google ร่วมกับบริษัท Temasek ก็ได้ปล่อยรายงานชุดหนึ่งที่มีชื่อว่า “ e-conomy SEA: Unlocking the $200 billion digital opportunity in Southeast Asia ” ที่ประมาณขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันว่ามีมูลค่า 5.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ตัวเลข ณ ปี ค.ศ.2015) และคาดการณ์ว่าจะเติบโตไปถึงมูลค่า 8.8 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐในเพียงปี ค.ศ. 2025
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของ Google และ Temasek เป็นเพียงการประมาณการแค่บางส่วนเท่านั้น เนื่องจากตัวเลขนี้ไม่ได้นับรวมมูลค่าของอีคอมเมิร์ซแบบ C2C และมาร์เกตเพลสแบบ P2P อย่าง OLX, Carousell และ Instagram เข้าไว้ด้วย เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลของธุรกิจประเภทดังกล่าว
การเทียบอัตราการแบบโมเดลของชาติตะวันตก หรือ กับประเทศจีน และเหตุผลว่าทำไมการคาดการณ์เกี่ยวกับศักยภาพของอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอยู่จึงผิด
8.8 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐอาจเสมือนว่าเป็นมูลค่ามหาศาล หากคุณมองจากสถานการ์ณที่เป็นอยู่ บางคนอาจเริ่มคิดว่า ตัวเลขดังกล่าวนั้นถูกต้องหรือไม่ ปัจจุบันนี้มูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศสหรัฐอเมริการมีมูลค่าอยู่ที่ 3.94 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่อีคอมเมิร์ซในอเมริกานั้นถือได้ว่าเป็นตลาดที่เกิดมานานกว่ามาก และทั้ง Amazonและ eBay ก็มีอายุมากกว่าพนักงานระดับจูเนีย์บางคนในทีมของผม อีก
แล้วประเทศจีนล่ะ? ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน ได้แซงหน้าขนาดของอีคอมเมิร์ซในอเมริกาไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ในเชิงของมูลค่าสินค้ามวลรวม
และตอนนี้ มูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนอยู่ที่ 7แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นอัตราส่วนถึง 13% ของมูลค่ารวมของธุรกิจค้าปลีกในจีน ด้วยจำนวนประชากรครึ่งหนึ่งของจีน ศักยภาพในอนาคตของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นควรจะมีมูลค่าสูงกว่าตัวเลขเพียง 8.8 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือไม่?
หากเราลองนึกถึงตัวเลขคาดการณ์ของปี 2025 และลองเทียบกับจำนวนประชากร การวัดแบบนี้จะช่วยให้เราทราบถึงมูลค่าการใช้จ่ายต่อคนบนอีคอมเมิร์ซในปีดังกว่าว แต่ทว่าการคำนวณดังกล่าวต่ำกว่าระดับที่เป็นจริงของตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงการเอาไปเทียบกับตัวเลขของสหรัฐอเริกาและจีนด้วย
มีอยู่สองสิ่งที่เห็นได้ชัด หนึ่งคือแน่นอนว่าประเทศจีนเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าสินค้ามวลรวม 3ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเข้าถึงประชากร 25% และในปี ค.ศ. 2025 นี้ นักช้อปชาวจีนจะใช้จ่ายเงินประมาณ 2,000 ดอลล่าร์ต่อปีบนออนไลน์ นับว่าเป็นจำนวนที่สูงกว่าเกือบ3เท่า หากเทียบกับเงินที่ชาวสิงคโปร์ใช้จ่ายบนออนไลน์ และกำลังจะเขยิบขึ้นมาจนเท่ากับปริมาณการใช้จ่ายบนออนไลน์ของชาวอเมริกัน ที่ในอีก10ปีข้างหน้า จะใช้เงินเกือบ 3,000 ดอลล่าร์ต่อปีบนอีคอมเมิร์ซ
และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตนั้น ซึ่งในกรณีนี้หมายถึงไทยและอินโดนีเซีย มีรายงานของ Googleที่ร่วมมือกับTemasekคาดการณ์ว่าอีคอมเมิร์ซในไทยจะเติบโตไปถึงมูลค่า1.1หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ และ4.6หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐในอินโดนีเซีย ตัวเลขนี้อาจดูเหมือนเยอะ แต่หากลองเทียบกับจำนวนประชากรแล้ว มูลค่าสินค้ามวลรวมของอีคอมเมิร์ซต่อหัวนั้นค่อนข้างต่ำ โดยตัวเลขอยู่ที่ 155 ดอลล่าร์สหรัฐสำหรับไทย และ 157 ดอลล่าร์สหรัฐสำหรับอินโดนีเซีย เป็นไปได้ว่าเรื่องนี้ต้องมีที่มาที่ไปที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผล
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ต่อหัวของสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์นั้นสูงกว่าของตลาดที่กำเติบโตอย่างไทยและอินโดนีเซียอย่างชัดเจน ซึ่งหมายถึงผู้คนมีในสหรัฐอเมริกาแะสิงคโร์นั้นมีเงินจับจ่ายมากกว่านั่นเอง ส่วนประเทศจีนนั้นก็ไม่ได้เป็นประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาต่อไปแล้ว ด้วย GDP ต่อคนที่ขึ้นไปถึง 14,000 ดอลล่าร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2015
แต่หากเราลองเปรียบเทียบประเทศจีนและประเทศไทยตามตารางด้านล่างนี้ จะเห็นได้ว่า GDP ของไทยต่อหัวนั้น ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 11,000 ดอลล่าร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งสูงกว่า GDP ต่อหัวของจีนในปัจจุบัน และไม่ได้แตกต่างจากตัวเลขปี ค.ศ. 2015 ที่คาดการณ์ของจีนมากนัก อย่างไรก็ หากยึดการคาดการณ์ต่างๆของมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในปัจบันเป็นหลัก ประชากรไทยต่อหัวจะใช้จ่ายเพียง 155 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือเพียง 1% ของอำนาจการซื้อต่อครัวเรือนเท่านั้น
ดูจะไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยนั้นมีความสามารถในการใช้จ่าย และธุรกิจค้าปลีกในไทยนั้นก็เป็นสัดส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจไทย เห็นได้จากตัวเลขด้านล่างที่แสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของการค้าปลีกและGDPต่อคน แม้ว่าจะไม่ได้นับรวมถึงตัวเลขของ C2C และ P2P ซึ่งนับเป็นประมาณ 50% ของมูลค่าตลาด ถึงแม้ตัวเลขจะเพิ่มจาก 155 เป็น 300 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ตัวเลขนี้ก็ยังนับว่าต่ำหากทียบกับตัวเลขของจีนในปัจจุบัน
ตั้งแต่ปีค.ศ. 2006 – 2016 มูลค่าสินค้ามวลรวมบนอีคอมเมิร์ซของจีนเติบโตขึ้น 127 เท่าต่อประชากรหนึ่งคน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยากจะเชื่อได้ว่ามูลค่าสินค้ามวลรวมต่อหัวของไทย จะเติบโตขึ้นเพียง9เท่าเท่านั้นในทศววรตต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนไทยนั้นมีการใช้จ่ายบนอีคอมเมิร์ซต่อคนมากกว่าจำนวนที่คนจีนเคยใช้เมื่อครั้งสมัยยุคเริ่มแรกของอีคอมเมิร์ซในจีนเมื่อราวปี ค.ศ. 2006 ตัวเลขการคาดกาณ์ดังกล่าวจะสมเหตุสมผลขึ้น หากเราคิดว่าอัตราการเติบโตของตลาดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทยและอินโดนีเซียจะโตขึ้นอย่างช้าๆเท่านั้น โดยเทียบกับอัตราการขยายของตลาดในประเทศตะวันตกซึ่งอยู่ที่ 18% (ปีค.ศ. 2000-2015 ในสหรัฐอเมริกา) ไม่ใช้การเติบโตในอัตราเดียวกันกับอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนที่เติบโตขึ้น 68% ในเวลาเพียง 10 ปีที่ผ่านมา
อย่างที่ทราบ เหตุที่ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล ก็เพราะการใช้มาตราฐานการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในตะวันตกมาเป็นหลักในการคาดการณ์ ทั้งๆที่ที่จริงแล้ว วิธีการที่จะประเมินอัตราการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นควรนำไปเทียบกับอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดของจีนมากกว่า
พี่น้องคนละแม่ ตลาดอีคอมเมิร์ซในยุดเริ่มต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคล้ายกับของประเทศจีนมากกว่าสิ่งอื่นใด
ความเข้าใจผิดๆของการคาดการณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพราะตัวเลขจากการคาดการณ์เหล่านั้นมักถูกนำไปเทียบกับต้นแบบอย่างประเทศตะวันตก โดยมองว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศตะวันตกนั้นเป็นตลาดที่มีการทดลองและค้นคว้ากันมามากแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลอีกหลายประการ ที่ชี้ให้เห็นว่าอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น คล้ายกับของประเทศจีนมากกว่าตลาดอีคอมเมิร์ซที่เกิดขึ้นก่อนอย่างในสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น
ดังนั้นเราจึงควรคาดการณ์ว่าจะการเติบโตขึ้นเป็นสิบเท่าตัว ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาแทนที่จะเป็นแบบการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างตลาดอีคอมเมิร์ซในชาติตะวันตก
1. ความขาดแคลนหน้าร้านออฟไลน์
“ ทำไมการค้าขายบนอินเตอร์เน็ทในจีนนั้นเติบโตเร็วกว่ามากในจีนเทียบกับในสหรัฐอเมริกา เหตุผลก็เพราะสภาพแวดล้อมต่างๆที่เอื้อกับการค้าขายในจีนนั้นค่อนข้างแย่ ซึ่งต่างกับในอเมริกา ที่มีร้านรวงอย่าง Wal-Mar K-Mart และอื่นๆอีกมากมาย ในทุกๆที่ แต่ในจีนนั้น ไม่มีอะไรเลย ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม ดังนั้นอีคอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกาจึงเป็นเหมือนกับของหวานเท่านั้น กล่าวคือเป็นตัวเสริมให้ธุรกิจหลัก แต่ในจีนนั้น อีคอมเมิร์ซเป็นเหมือนกับอาหารจานหลัก ” กล่าวโดยแจ็ค หม่า ประธานบริษัทและผู้ก่อตั้ง Alibaba
ในกรุงเทพฯและจาร์กาต้ามีห้างสรรพสินค้าทีหรูหราที่สุดในภูมิภาคมากมาย อย่าง เซ็นทรัลเวิล์ด สยามพารากอน และห้างแกรนด์อินโดนีเซีย แต่ทว่านอกเมืองหลวงนั้น แทบไม่มีอะไรเลย ซึ่งคล้ายกับในประเทศจีน ที่ร้านค้าส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ภายในเมืองใหญ่ๆ อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางเจาเท่าน้น
จากข้อมูลของ CLSA พื้นที่การค้า (Gross Floor Area) ต่อหัวในสหรัฐอเมริกานั้นอยู่ที่ 2200 ตารางเมตร ต่างกับ 500 และ 100 ตารางเมตร ในประเทศจีน ไทย และอินโดนีเซียตามลำดับ ดังนั้นจึงทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยและอินโดนีเซียไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการซื้อสินค้าที่มีอยู่บนออนไลน์ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่อาศัยอยู่นอกเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตัวเลขที่ aCommerce เปิดเผยว่า 70%ของคำสั่งซื้อนั้นมาจากลูกค้าที่อยู่นอกกรุงเทพฯ
เช่นเดียวกันกับในประเทศจีน เหตุผลเหล่าจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยเร่งการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เติบโตด้วยอัตราที่เร็วกว่าในประเทศตะวันตก
2. การชำระเงินแบบจ่ายเงินปล่ายทาง เป็นวิธีการชำระเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
การขาดความแพร่หลายของการใช้เครดิตการ์ดในประเทศจีนไม่ได้ส่งผลต่อการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในจีน ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 68%ต่อปีในทศวรรตที่ผ่านมา ด้วยสภาพแวดล้อมของระบบการเงินที่ไม่พร้อมนัก บริษัทที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์และการะขนส่งสินค้า ช่วยเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวด้วยการให้บริการการชำระเงินแบบจ่ายเงินปลายทาง ในปีค.ศ. 2008 การชำระเงินแบบจ่ายเงินปลายทางนั้นมีสัดส่วนสูงถึง70% ของการสั่งซื้อจากเว็บไซต์แบบ B2C ในประเทศจีน แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2014 บริการAlipayของAlibaba ได้แซงหน้าการชำระเงินแบบจ่ายเงินปลายทางในฐานะที่เป็นการชำระเงินที่มีความนิยมสูงสุดไปแล้ว ด้วยสัดส่วนที่สูงถึง 85% ของผู้ที่ทำการสั่งซื้อในช่วง 11.11 โดยมีผู้เลือกที่จะจ่ายเงินปลายทางเพียง 21% เท่านั้น
อีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นคล้ายกับในประเทศจีนเมือ10ปีที่แล้วอย่างน่าตกใจ ด้วยอัตราความแพร่หลายของเครดิตการ์ดที่ต่ำแบบเลขหนึ่งหลัก และมีการชำระเงินแบบจ่ายเงินปลายทางเป็นวิธีการชำระเงินหลัก จากตัวเลขของ aCommerce สัดส่วนถึง 74% ของการสั่งซื้อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ถูกชำระด้วยเงินสด เช่นเดียวกับในประเทศจีน อีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะไม่ขึ้นอยู่กับการชำระเงินแบบจ่ายเงินปลายทางตลอดไป ด้วยการเข้าครอบครองกิจการ Lazada ของ Alibaba บริษัท Alibaba ได้เริ่มทำตามแผนการณ์ในการที่จะนำบริการ Alipay และ Ant Finance เข้ามาในภูมิภาคนี้
3. ความขาดแคลนของการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามประเทศเพราะมีภาษีนำเข้าสูง
การค้าขายข้ามเขตแดนบนอีคอมเมิร์ซในประเทศจีนพึ่งได้รับความนิยมในเวลาที่ผ่านมาไม่นาน หลังจากที่รัฐบาลได้อนุมัติกฏหมายเกี่ยวกับเขตโกดังสินค้า ซึ่งทำให้การค้าระหว่างประเทศนั้นใช้เวลาน้อยลงรวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงด้วย ทำให้บรรดาแบรนด์สินค้าระดับโลกสามารถเข้ามาทำธุรกิจในประเทศจีนได้ โดยเปิดร้านบนแพลทฟอร์มอย่าง Tmall Global และ JD Worldwide โดยไม่จำเป็นจะต้องมีร้านค้าหรือโกดังอยู่ในประเทศจีนเลย
ก่อนหน้านี้ การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศนั้นค่อนข้างไม่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวจีน เนื่องจากมีภาษีนำเข้าที่ค่อนข้างสูง (30%) (ปัจจุบันยังมีการเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ซื้อจากผู้ขายที่ไม่ได้รับอนุณาตให้ทำการค้าในระบบการค้าข้ามเขตแดนของจีน เช่นการสั่งซื้อโดยตรงจาก amazon.com)
ในลักษณะคล้ายกันกับประเทศจีน ปัจจุบันนี้การเติบโตของตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทยและอินโดนีเซียยังคงมีการกีดกันทางด้านภาษีการนำเข้า ความขาดแคลการเข้าถึงนสนามการค้าระดับโลก สิ่งเหล่านนี้ทำให้เกิดแรงกดดันที่จะนำไปสู่การพัฒนาโครงข่ายอีคอมเมิร์ซภายในประเทศ ซึ่งเห็นได้จากการแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างบรรดาธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศอินโดนีเซีย
4. ความปราศจากผู้เผยแพร่สื่อรายย่อย
ความแพร่หลายในการใช้อินเตอร์เน็ทในประเทศจีนและเหล่าบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พึ่งจะมาเกิดครึ่งช่วงกลางศตวรรษที่20 ตลาดในประเทศเหล่านี้กระโดดข้ามเกือบทั้งยุคของ Web 1.0 และ Web 1.5 โดยเข้ากระโดดเข้าสุ่ยุค Web 2.0 โดยตรง ซึ่งนำไปสู่การก่อตัวของสิ่งที่เราเรียกว่า “ระบบที่ปราศจากผู้เล่นรายย่อย” (No-Tail Ecosystem) ส่งผลให้การโฆษณาดิจิทัลในประเทศเหล่านี้ล้าหลังกว่าในตลาดที่เก่ากว่าอย่างสหรัฐอเมริกาและปุ่น โดยมีบริษัทอย่างFacebook และ Pinterest เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมในการลงโฆษณาที่ชุดที่สุด และบางครั้งก็เป็นช่องทางเดียวในการทำรายได้
ความขาดแคลนสภาพแวดล้อมในการโฆษณาที่หลากหลาย ทำให้บริษัทที่ทำาการค้าบนอินเตอร์เน็ทในประเทศจีนไม่มีตัวเลือกนอกจากการใช้อีคอมเมิร์ซเป็นเครื่องมีอในการสร้างรายได้ และสิ่งนี้ทำให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของจีนในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่แบบนี้
“ในขณะที่บริษัทในสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับรายได้จากการโฆษณา บริษัทในจีนได้กลายเป็นตัวกำหนด การขับเคลื่อนของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” จากรายงานของ The Washington Post
“เวลาที่คุณเล่นFacebook คุณไม่สามารถแม้แต่จะซื้อสินค้าบนนั้น แต่ถ้าคุณเล่น WeChatและWeibo คุณซื้อได้ทุกอย่างที่คคุณเห็น” กล่าวโดย William Bao Bean ผู้ร่วมหุ้นของ SOS Ventures และกรรมการบริหารบริษัท Chinaccelerator ในบทความเดียวกันของ The Washington Post
Uber ไม่ได้พ่ายแพ้ในจีนเพราะขาดเงินทุน ทว่าเพราะต่อสู้อยู่กับคู่แข่งที่มีเป้าหมายเพื่อการทำเงินจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซในระยะยาว ไม่ใช่เพียงเพื่อรายได้จากการขนส่งในระยะสั้น
ในลักษณะคล้ายกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนในทศวรรตที่ผ่านมา เหล่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตลาดการโฆษณาที่ใหม่มาก “ มีจำนวนผู้เผยแพร่โฆษณาที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้มีจำนวนการใช้จ่ายที่ไม่พอเหมือนกันจากผู้ลงโฆษณา ” กล่าวโดย Lichu Wu ผู้เชี่ยวด้านเทคโนโลยีการโฆษณาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเคยร่วมงานกับGoogle และ AdMob
ด้วยสภาพที่เหมือนที่มีกำแพงล้อม โดยมีFacebook และ Instagram เป็นเจ้าครองการสร้างคอนเท้นท์ต่างๆ และยังไม่มีคู่แข่งเจ้าอื่นที่แข็งแกร่งพอที่จะเอาโคนบัลลังก์ลงได้ จึงทำให้รายได้ต่อการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้งหรือการดูหน้าโฆษณา1000ครั้งนั้นค่อนข้างต่ำสำหรับธุรกิจออนไลน์ต่างๆที่เลือกอีคอมเมิร์ซเป็นโมเดลธุรกิจ
เป็นเรื่องที่ไม่น่าตกใจที่แหล่งรายได้ของการมีรายได้แบบ passive income ในไทยและอินโดนีเซียมากจากการซื้อสินค้าจาก Taobao และ AliExpress และนำมาขายโดนเก็บกำไรบน Facebook และ Instagram ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกา เหล่าบรรดาเจ้าของกิจการที่ทำงานที่บ้านมักมุ่งไปที่การสร้างรายได้จากการทำบล็อค SEO หรือ affiliate marketing
เทียบขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเทียบกับโมเดลการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน
หากดูจากข้อเปรียบเทียบต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น เราจะเห็นได้ว่าตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันนั้นมีความคล้ายคลึงกับตลาดของจีนในปี ค.ศ. 2006 ยกตัวอย่างเช่น ตัวเลขของมูลค่าสินค้าในอีคอมเมิร์ซมวลรวมต่อหัวและอัตราการเข้าถึงอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยของปี ค.ศ. 2016 นั้นคล้ายกับของประเทศจีนในปี ค.ศ. 2006 มาก (ยิ่งไปกว่านั้นตัวเลขของไทยยังสูงกว่าด้วย)
เพื่อที่จะวัดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะพัฒนาไปสู่จุดไหนในอีก 10 ปีต่อจากนี้ ลองเทียบมูลค่าสินค้ามวลรวมบนอีคอมเมิร์ซต่อหัวเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลต่อหัว การเทียบแบบนี้จะทำให้เราเห็นมูลค่าการใช้จ่ายตัวคนบนอีคอมเมิร์ซซึ่งเกียวข้องกับคุณภาพชีวิต ที่จริงแล้วนั้น เราไม่สามารถนำตัวเลขมูลค่าสินค้ามวลรวมบนอีคอมเมิร์ซของจีนในปี ค.ศ. 2016 มาเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวของไทยในปี ค.ศ. 2025 ได้เลย เพราะตอนนั้นตัวเลขของไทยจะสูงกว่าของจีนใย ค.ศ. 2016 ซึ่งทำให้เราคาดการณ์ศักยภาพของตลาดต่ำไป
ตัวเลขของมูลค่าสินค้ามวลรวมบนอีคอมเมิร์ซต่อหัวของจีนโดยเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อตัวนั้นอยู่ที่ 6% ในปีค.ศ. 2016 และหากนำมาคูณกับตัวเลขคาดการณ์ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในปี ค.ศ. 2016 ของไทยและอินโดนีเซีย เราจะได้อยู่ที่ 711 ดอลล่าร์สหรัฐต่อหัว 533 ดอลล่าร์สหรัฐต่อหัวสำหรับมูลค้าสินค้าบนอีคอมเมิร์ซมวลรวม จากนั้นจึงใช้ตัวเลขนี้คำนวณกับจำนวนประชากรที่มีการคาดการณ์ไว้ ขนาดของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยและอินโดนีเซียนั้นจะมีมูลค่า 5.1 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ และ 1.57 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามลำดับ ซึ่งต่างจากตัวเลขจากการคาดการณ์ของ Google และ Temasekที่อยู่ที่ 1.1 และ 4.6 หมื่นล้าน และเราจะเห็นว่ายังมีโอกาสในการทำธุระกิจอีกมากรอคอยอยู่
หากนำตัวเลขการคาดการณ์ของGoogle และ Temasekสำหรับประเทศไทยและอินโดนีเซียในปีค.ศ. 2015 มารวมกับมูลค่าโดยประมาณของตลาด C2C สมมติว่าอยู่ที่ประมาณ 30% เราจะสามารถได้จุดเริ่มต้นของการประมาณการประจำปี จากนั้นเฉลี่ยด้วยตัวเลขอัตราการเติบโตที่คาดว่าจะขึ้นไปถึง 5.1หมื่นล้านตอลล่าร์สหรัฐ และ 1.57 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ เราจะได้ตัวเลขประมาณการเติบโตต่อปีที่ ซึ่งในกรณีนี้จะอยู่ที 43% และ 50% สำหรับไทยและอินโนนีเซีย ซึ่งต่างจากเดิมที่มีการประมาณไว้เพียงที่ 29% และ 39%
โดยไม่เปลี่ยตัวเลขการเติบโตของตลาดในสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม (สองประเทศแรกไม่สามารถทียบได้กับโมเดลของประเทศจีน) เราจะได้มูลค่ารวมของทั้งภูมิภาคซึ่งยู่ต่ำสุดที่ 2.38 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพียงตัวเลขที่ลองคำนวณดูใหม่ของอินโดนีเซียประเทศเดียว ที่มีมูลค่า 1.57 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ก็มากกว่า มูลค่ารวมของตลาดในทั้ง 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการคาดการณ์ไว้ที่ 8.8 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐแล้ว
การลองคำนวณใหม่ครั้งนี้ ทำให้เราได้ทราบถึงศักยภาพที่แท้จริงของอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแสดงให้เห็นถึงเหตุว่าทำไมทุกคนจึงทุ่มลงทุนอย่างที่เห็นจากการซื้อกิจการ Lazada ด้วยเงินหนึ่งหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐของ Alibaba ผนวกกับการระดมทุนมูลค่า248ล้านดอลล่าร์สหรัฐของ Tokopedia และอีก 100 ล้านดอลล่าร์สหัฐ จากการลงทุนของ MatahariMall
เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อ10ปีที่แล้ว ผู้ที่เริ่มลงทุนในอีคอมเมิร์ซก่อนและมีแผนการณ์ในระยะยาวจะได้กลายเป็นผู้ที่ได้ผลประโยชน์ก้อนที่ใหญที่สุดจากเงินจำนวน 2.38 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐนี้ ไม่ใช่แค่เพียง 8.8 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นเสมือนบ่อทองของธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Ecommerce IQ