งาน Focal 2020 จัดขึ้นวันที่ 23 กันยายน หัวข้อแรกในชื่อ “Thailand E-Commerce Outlook” เปิดเผยถึงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเติบโตของธุรกิจ E-Commerce ยุคใหม่ และการปรับใช้เพื่อสร้างการเติบโต โดย คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย
โดยมองว่า ธุรกิจ E-Commerce เติบโตเป็นตัวเลขที่น่าสนใจมาก โดยยังคงมีพี่จีน เป็นยักษ์ใหญ่ที่มีการเติบโตสูง ในขณะที่ไทย ก็มีการเติบโตที่ดีไม่แพ้กัน โดยเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นถ้าเทียบในตลาดโลกอยู่ที่ 2% นอกจากนี้ ยังพบว่า คนไทยติดใจการช้อปปิ้งออนไลน์ และการสั่งอาหารเดลิเวอร์รี่มากขึ้น แม้คนที่ยังไม่เคยใช้แต่เมื่อลองใช้ครั้งแล้วก็ล้วนติดใจ โดย 80% ตัดสินใจจะกลับมาช้อปปิ้งอีก แม้สถานการณ์ปกติแล้ว และยังพบข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ E-Commerce ไทยดังนี้
- แอปฯ E-Commerce ติด Top10 ของแอปฯ ที่คนไทยใช้มากที่สุด
- มูลค่าตลาด E-Commerce ปีที่แล้ว (2019) อยู่ที่ 163,300 ล้านบาท
- ปี 2020 หลังโควิด เป็นตัวเร่งให้เติบโตมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในปีนี้ จะโตขึ้น 35% ทำให้คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในปีนี้ จะไปแตะที่ 220,000 ล้านบาท
สำหรับ พฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ของคนไทย แบ่งออกเป็นการใช้งาน 3 ช่องทางหลัก ดังนี้
- Marketplace มีสัดส่วนถึง 47%
- Social Commerce มีสัดส่วนถึง 38%
- Online Retail หรือจากการเปิดเว็บไซต์ของตัวเอง 15% หรือเป็นพวกแบรนด์ดอทคอมต่างๆ เป็นการที่แบรนด์สร้างหน้าร้านออนไลน์ของตัวเอง ขึ้นมา
แต่พฤติกรรมของการช้อปปิ้งออนไลน์ ในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน อย่างประเทศจีน จะเน้นไปที่ Marketplace มากกว่า โดยใช้ช่องทาง Marketplace สูงถึง 70-80% ในขณะที่คนไทย เหมือนถูกชักกะเย่อกันระหว่าง 2 ฝั่ง โดยถ้าเป็น Marketplace ส่วนใหญ่แพล็ตฟอร์มจะมาจากประเทศจีน ในขณะที่ถ้าเป็นแพล็ตฟอร์ม Social Commerce จะอยู่ในฝั่งอเมริกา
และจากแพล็ตฟอร์มดังล่าว นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Convergence of Platforms in Thailand Digital Landscape ทั้งนี้ จากข้อมูล Facebook ระบุว่า พฤติกรรมคนไทย 90% จะหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจการซื้อก่อนผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นแบบนั้น ทำให้แพล็ตฟอร์มมีอิทธิพลสูงมาก ตั้งแต่การเสิร์ชหาข้อมูล การเบราวซ์หน้าฟีดเพื่อหาว่าเพื่อนเราญาติเราซื้ออะไร ทำให้ “Media” เข้ามามีอิทธิพลในจุดนี้ ต่อมาคือ Advertising ก็จะเริ่มเข้ามาหาเรามากขึ้น มีการยิงแอดโฆษณาสินค้าต่างๆ เข้ามา เกิดการแนะนำสินค้าต่างๆ ให้เรามากขึ้น รวมทั้งสินค้าที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราสนใจ จากนั้น แพล็ตฟอร์ม E-Commerce เริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับเรา เข้ามาหาเรา อาทิ Lazada, Shopee เป็นต้น ถัดมาก็คือ E-Payment ก็จะมามีอิทธิพลกับเราด้วย สุดท้ายเลยแพล็ตฟอร์มที่เกิดก็คือ Logistice ต่างๆ ก็จะวิ่งเข้ามาหาเราเช่นกัน
จากแลนด์สเคปทั้ง 5 ขั้นตอนที่เกิดขึ้น มีผลต่อชีวิตของผู้บริโภค ทำให้แพล็ตฟอร์มต่างๆ convergence ตัวเองขยับให้เข้าใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้ง Facebook หรือ Google เริ่มมีแพล็ตฟอร์มต่างๆ ที่เป็น Advertising, E-Commerce, Payment และไปสู่ Logistics ด้วย
ทั้งนี้ ธนาวัฒน์ เชื่อว่าพฤติกรรมของ Media จะหันไปในทิศทางนี้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนี้อย่างแน่นอน แม้แต่ Banking เองก็กำลังไปในทิศทางนั้น และผันตัวไปเป็น Tech Company มากขึ้น ทำให้เราเห็น Robinhood จาก SCB หรือ Eatable จาก KBank เป็นต้น
Brand & Marketer Take Out
ในมุมของ Brand จากแลนด์สเคปทั้ง 3 ช่องทางการขาย จะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายออนไลน์ มีวิธีดังนี้
- ใช้ช่องทาง Social Media เป็นช่องทางการขายมากขึ้น เพราะคนไทยใช้เวลากับมีเดียประเภทนี้เป็นส่วนมาก ซึ่งปัจจุบันช่องทางนี้ไม่ได้เป็นแค่สร้าง awareness หรือ Engagement เท่านั้นแต่ยังสามารถเป็นช่องทางการขายได้ด้วย Brand ควรใช้โอกาสนี้ให้มาก
- ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งหลายแบรนด์อาจจะไม่ใช่ช่องทางเว็บไซต์ของตัวเอง แต่อาจจะใช้ผ่าน Social Media หรือ Marketplace แต่ช่องทางเว็บไซต์ของแบรนด์เองจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะผลักดันยอดขาย เมื่อเกิดการเสิร์ชหาข้อมูล
- ช่องทาง Marketplace ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่แล้ว จะง่ายต่อการทำโปรโมชั่นก็ดี หรือร่วมกับเทศกาลต่างๆ ก็ได้
ทั้งหมดนี้ต้องทำทั้ง 3 อย่างให้เชื่อมโยงกัน เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับ Brand ในหลายๆ ทาง มากไปกว่านั้นคือการนำข้อมูลทั้ง 3 ช่องทางนำมาซึ่งการเก็บ data แล้วนำไปสู่การพัฒนาระบบ CRM ที่มีประสิทธิภาพ หรือการออกแคมเปญทางการตลาดอื่นๆ ต่อไปได้