เปิดจุดอ่อน E-commerce ไทย และอะไรคือ Game Changing ในธุรกิจยุคดิจิทัล ฟังคำตอบชัดๆ จาก Anymind

  • 113
  •  
  •  
  •  
  •  

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมการเข้าสู่โลกดิจิทัลของผู้บริโภคผลักดันให้ธุรกิจ E-commerce ในไทยเติบโต ซึ่งส่งผลให้มีผู้เล่นทั้งรายเล็กและรายใหญ่โดดเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัลมากขึ้น เกิดการแย่งชิงตลาดการแข่งขันที่ดุเดือด ความไวและการตอบโจทย์ทุกช่วงจังหวะของผู้บริโภคอาจจะกลายเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจมีชัยเหนือคู่แข่งได้ ดังนั้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะ Marketing Technology จึงเข้ามาเป็นคำตอบที่หลายธุรกิจมองหา เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ที่สำคัญยังช่วยประหยัดงบฯ ประหยัดเวลาในการทำธุรกิจได้ด้วย

 

ทั้งนี้ มุมของ 2 ผู้บริหารจาก Anymind บริษัทที่เปิดทำธุรกิจแบบครบวงจร (End-to-end Commerce Enablement Company) ที่เปิดให้บริการ 16 เมืองใหญ่ ใน 13 ประเทศ ระบุว่า E-commerce ไทย มีศักยภาพก็จริงอยู่ แต่ก็ยังมีจุดอ่อน มี Room of Improvement ที่ยังต้องพัฒนากันอีก ที่สำคัญคือ สิ่งที่ควรก้าวต่อไปคือการค้าขายแบบข้ามประเทศ ซึ่งผู้ประกอบไทยอาจจะยังขาดเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยไปให้ถึงเป้าหมาย

 

Mr.Kosuke Sogo, CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง AnyMind Group ระบุว่า สำหรับเมืองไทยที่มีศักยภาพและมีการเติบโตที่ดี ทั้งในด้าน Digital และ E-commerce ที่เป็นเช่นนี้เพราะตั้งแต่โควิด หลายๆ แบรนด์หันทำเรื่องธุรกิจดิจิทัลเป็นสำคัญ และทุ่มเทให้กับสิ่งนี้มากขึ้น ทำให้ไทยเติบโตด้านธุรกิจดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ Soko ยังยกตัวอย่างประเทศที่ถือได้ว่า เป็นโมเดลที่ดีของการเป็นต้นแบบธุรกิจ Ecommerce ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ก็คือ “ญี่ปุ่น”

“ในด้าน Marketplace ญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ Lazada หรือ Shopee แต่เขามีเซ็กเตอร์ย่อยของ Marketplace มากมาย แบ่งย่อยออกมา เช่น Fashion Marketplace, Beauty Marketplace ซึ่งตอนนี้เมืองไทยมีลักษณะนี้ไม่มาก”

Mr.Kosuke Sogo, CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง AnyMind Group

 

ด้าน คุณพันธ์ศักดิ์ ลิ้มวัฒนายิ่งยง, Country Manager AnyMind Group ประจำประเทศไทย กล่าวเสริมว่า Ecommerce ไทยมีโอกาสเติบโตอีกเยอะมาก โดย Marketing Technology (MarTech) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันธุรกิจ และถ้าแบรนด์หรือธุรกิจนำมาใช้งานก็จะทำให้ธุรกิจก้าวต่อไปได้เร็ว

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ 2 ผู้บริหารของ AnyMind มองเห็นเป็นจุดแข็งสำคัญของ E-commerce ไทย ก็คือการที่เรามีทั้งกำลังของผู้ผลิตและกำลังของคนซื้อที่มหาศาล โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมาที่ผู้ซื้อเกิดการขยายตัวอย่างมาก ทั้งในแง่ของ อายุ ภูมิศาสตร์ ที่ขยายวงกว้างมากขึ้น มีการเรียนรู้ปรับตัวเข้าสู่การช้อปปิ้งบนโลกออนไลน์ จนทำให้กลายเป็นพฤติกรรมปกติไปแล้ว และแม้ว่าจะผ่านช่วงโควิดไปกลับมาใช้ชีวิตปกติมากขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ ที่สำคัญ กำลังซื้อดังกล่าวไม่ได้อยู่แค่ในเมืองไทย แต่มันยังข้ามมายังต่างประเทศอีกด้วย ผ่าน Marketing Place ต่างๆ ที่เราใช้อยู่

ส่วนในแง่จุดอ่อนนั้น ก็คือเราพบว่า คนไทยยังใช้งานแต่กับ Marketing Place หลักๆ อยู่ ไม่กี่เจ้า แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจออนไลน์ หรือ  E-commerce เติบไตไปได้ไกลก็คือการที่ทำให้ Marketing Place เกิดเป็นเซ็กเมนต์ย่อยแบบแนวตั้ง (Vertical Market Place) มากขึ้น เช่น เราเริ่มมี NocNoc หรือไทวัสดุ เพื่อซื้อสินค้าพวกหรือบ้านเฟอร์นิเจอร์ นอกเหนือไปจากที่เราเคยซื้อจาก Lazada  Shopee

“หมายความว่ามันจะดีมากกว่านี้ ถ้าสมมุติว่า ผู้บริโภคสามารถที่จะเลือกสินค้าบนทางเลือกที่มากขึ้น ในแง่ของตลาดหรือร้านค้า ดังนั้น ในอนาคตมันก็จะกลายเป็นจุดที่เป็นชาเลนจ์สำหรับแบรนด์เลยกว่า ได้หากว่าเรามี ตลาดที่เป็นทั้ง Vertical Market และ Horizontal Market Place ซึ่งเราอาจจะมี Beauty Market Place เพิ่มขึ้นอีก 10 แห่ง”

คุณพันธ์ศักดิ์ ลิ้มวัฒนายิ่งยง, Country Manager AnyMind Group ประจำประเทศไทย

 

แต่ชาเลนจ์ของแบรนด์ยังไม่หมดแค่นั้น สิ่งที่ต้องตั้งคำถามต่อคือ ถ้ามี Market Place เกิดขึ้นหลายแพล็ตฟอร์มแล้ว แบรนด์จะจัดการอย่างไร? รวมไปถึงท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าแบรนด์ไหนก็คือต้องการให้ลูกค้า มาซื้อบนเว็บไซต์ของตัวเองมากกว่า แต่นั่นก็จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นไปอีกว่า แบรนด์จะดึงคนอย่างไรให้มายังเว็บตัวเอง ซึ่งมันจะต้องใช้พลังอย่างมหาศาล ใช้ทรัพยากรอย่างมาก ในการที่จะพาคนมายังเว็บของเรา ถ้าเกิดว่าเราไม่ใช่แบรนด์ที่แข็งแรงพอ ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นชาเลนจ์ที่ท้ายในอนาคตของแบรนด์ที่เมืองไทยในการทำธุรกิจดิจิทัลอย่างแน่นอน

คุณพันธ์ศักดิ์ ระบุว่า ชาเลนจ์ที่ว่ามันคล้ายกับการทำธุรกิจที่เรียกว่า Direct to Customer (D2C) ที่ตอนนี้กำลังเติบโตในเมืองไทย แต่ก็พบว่าสิ่งนี้กลับทำได้ดีในธุรกิจระดับ SME มากกว่า Big Brand เพราะเมื่อเป็นองค์กรใหญ่การขยับมาทำอะไรในลักษณะนี้เองอาจจะเคลื่อนตัวได้ช้ากว่า เพราะแบรนด์ใหญ่ๆ มักจะเน้นไปที่การสื่อสารและการทำ Marketing Communication มากกว่า หรือแม้แต่การทำ Social Commerce ก็ต้องถือว่ากลุ่ม SME ทำได้ดีกว่าแบรนด์ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ก็มองว่าทางแบรดน์ใหญ่ก็มองเรื่องนี้ไว้เช่นกัน เพราะตอนนี้ Social Commerce ในไทยกำลังมา แม้แต่ตอนนี้ก็มี TikTok Shop แล้ว ซึ่งมองว่าแบรนด์ถ้าคิดจะทำ E-commerce น่าจะต้องเริ่มที่ Social Commerce ก่อนไปที่ D2C

“ดังนั้นอาจบอกได้ว่า Social Commerce น่าจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในตลาด E-commerce เพราะผู้คนส่วนใหญ่ก็อยู่ในโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขา อีกทั้งตัวโซเชียลมีเดียแพล็ตฟอร์มต่างๆ ก็พยายามที่จะออกแบบให้เอื้อในการทำธุรกิจออนไลน์อยู่แล้ว หรือแม้แต่แบรนด์เองปัจจุบันก็สื่อกับผู้บริโภคผ่านโซเชียลมีเดีย ดังนั้น จึงมองว่า Social Commerce น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

เมื่อนักการตลาดและแบรนด์มองหาโซลูชั่นต่างๆ เพื่อมาตอบสนองตลาด ทาง Anymind ซึ่งเป็น end to end โซลูชั่น ให้บริการฟูลสโคปโซลูชั่น อย่าง AnyX ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจัดการอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจรสำหรับบุคคลและธุรกิจ ที่เชื่อมต่อช่องทางอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ AnyMind Group สำหรับการผลิต การเปิดใช้งานอีคอมเมิร์ซ การสร้างบทสนทนาเพื่อการซื้อขายสินค้า การตลาด และการขนส่ง

พลังการรวมของ AnyX รวม Market Place ตั้งแต่ Shopee, Lazada, Rakuten, Amazon และ Shopify และรวบตึงทุกแพล็ตฟอร์มในเครือของ AnyMind Group ไม่ว่าจะเป็น AnyFactory (การผลิต), AnyManager (การวิเคราะห์ การสร้างรายได้ และการปรับปรุง UX), AnyChat (การค้าเชิงสนทนา), AnyTag (การตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์และการวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย), AnyDigital (การตลาดดิจิทัล) และ AnyLogi (การจัดการโลจิสติก) ดังนั้นจึงครบลูป end to end service อย่างที่ได้กล่าวไป นอกจากนี้ การใช้งาน AnyX ธุรกิจต่าง ๆ ยังสามารถเริ่มกิจกรรมอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนได้อย่างง่ายดาย โดยเลือกการผสานรวมของแพลตฟอร์มกับตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วทั้งภูมิภาค

นอกจากนี้ สิ่งที่เราพยายามผลักดัน ก็คือการทำธุรกิจแบบ  Cross border คือค้าขายกันข้ามประเทศ ซึ่งตอนนี้เราทำการซื้อของจากจีนอยู่โดยที่เราอาจจะไม่รู้ว่าได้ซื้อของจากจีนแล้ว ดังนั้น ในอนาคตสิ่งที่เรา AnyX จะเข้ามาช่วยได้คือ โอกาสในการขายของไปยังต่างประเทศ หรือกระทั่งซื้อของจากต่างประเทศ มันทำได้ง่ายมากขึ้น

“ถามว่าวันนี้ผู้ประกอบการไทยอยากจะเอ็กพอร์ตไปต่างประเทศมากขึ้นจะต้องทำยังไง ทุกคนอาจจะแบลงก์เลย ว่าชั้นไม่รู้จักประเทศนั้นเลย กระทั่ง เวียดนาม ฟิลลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เราไม่รู้ทำยังไง แต่ในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะอยู่แค่ปลายนิ้วเราเลย แค่เราใช้ AnyX Platform” คุณพันธ์ศักดิ์ กล่าว

เมื่อถามถึง Next Step เทรนด์สำคัญต่อไปของ E-commerce จะเป็นอย่างไร?

Mr.Kosuke Sogo กล่าวว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือในช้อตเทิร์ม คือ Social Commerce กับ Chat Commerce น่าจะเป็นจุดหนึ่งทีเป็นเทรนด์ใหญ่ ซึ่งไม่ใช่แค่ในเมืองไทย แต่ใน South-east Asia มากกว่าการแค่คนชอบเล่นมือถือ แต่คนชอบแชทและพูดคุย ดังนั้น ทั้ง 2 เรื่องนี้จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ E-commerce เพราะคนไม่ได้แค่จะสั่งซื้อของอย่างเดียว แต่จะต้องแชทสอบถามพูดคุยก่อตัดสินใจซื้อ

คุณพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า ธุรกิจในปัจจุบันไม่สามารถเติบโตคนเดียวได้ เพราะตลาดมันใหญ่มาก ดังนั้นทาง Anymind ยินดีที่จะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทุกๆ ฝ่ายในซัพพลายเชนทั้งหมด เพราะเรามีเป้าหมายที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทยไปด้วยกันในยุคดิจิทัลแบบนี้

 

 


  • 113
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!