ภาพการเติบโตของธุรกิจ Ecommerce เป็นที่ชัดเจนอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่นั่นก็ทำให้การแข่งขันในธุรกิจออนไลน์ดุเดือดสูงมากเช่นกัน ซึ่งหัวใจสำคัญที่จะทำให้มีชัยในภาวะการแข่งขันนี้ได้ คือความเข้าใจในเส้นทางการช้อปปิ้งของผู้บริโภค (Shopper Journey) ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งยังใช้ช่องทางที่หลากหลายในการใช้งานอีกด้วย เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การโฆษณาก็ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง และจำเป็นต้องเข้าใจถึงวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ทันกับการแข่งขันในปัจจุบัน บนข้อจำกัดต่างๆ เทคโนโลยีจึงเข้ามาเป็นคำตอบที่ช่วยทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Marketing Oops! ได้รู้จักกับ Criteo เครื่องมืออัจฉริยะสำหรับเสริมศักยภาพธุรกิจ ECommerce ที่แบรนด์ชั้นนำระดับโลกใช้งานบุกธุรกิจออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย จึงจัดงาน LIVE ครั้งล่าสุด โดยได้ร่วมพูดคุยกับ คุณดาว – อารดา ดวงดาว Client Partner – Performance Solutions Entravision MediaDonuts ผู้นำวงการธุรกิจเทคโนโลยีและสื่อโฆษณา มาพูดคุยทำความรู้จักกับ Criteo ซึ่งเราได้สรุปใจความสำคัญมาให้ดังนี้
ลงทะเบียนรับ “Insight Report พฤติกรรมออนไลน์และการตัดสินใจซื้อของ Gen Z” ฉบับอัพเดทล่าสุดมูลค่า 50,000 บาทฟรี! ได้ที่นี่ หรือ คลิกที่ภาพด้านล่างนี้
In Short: รู้จัก Criteo จบครบใน 1 ย่อหน้า
- Criteo คือ เครื่องมืออัจฉริยะ ช่วยในการทำความเข้าใจเส้นทางการช้อปปิ้ง (Shopper Journey) ของผู้บริโภคตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางของการขาย และยังนำไปสู่การช่วยกำหนดกลยุทธ์ในการทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพ
- Criteo ช่วยผลักดัน Conversion ผ่านการเก็บ Data สร้างโฆษณาแบบ Automation แล้วยังนำมาสรุปเป็นรีพอร์ตแบบเรียลไทม์ ที่ช่วยนำไปใช้ต่อยอดในการทำแคมเปญการตลาด
- Shopper Graph: Big data ที่ช่วยให้เข้าใจและรู้จักผู้บริโภคอย่างครบถ้วน ตั้งแต่ข้อมูลทั่วไป ความสนใจ และพฤติกรรมการช้อปปิ้ง
- Criteo Engine:AI อัจฉริยะที่นำข้อมูล Big data จาก Shopper Graph มาช่วยในการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ค่าโฆษณา, โชว์สินค้าที่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้ามองหา รวมถึงยังช่วยในการปรับแต่งครีเอทีฟชิ้นงานโฆษณาให้อัตโนมัติ
- Criteo Capabilities:Analytical Report แบบเรียลไทม์ และสามารถสรุป Performance ออกมาให้กับผู้ขาย เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากแคมเปญการตลาดที่ทำแล้ว รวมไปถึงรีพอร์ตที่นำไปใช้ต่อยอดแคมเปญในอนาคต
- เหมาะกับใคร – ทุกธุรกิจที่ค้าขายบนออนไลน์ ไม่ว่าจะมีเว็บไซต์ของตัวเองหรือไม่ หรือมีเพียงแค่วางสินค้าขายเฉพาะแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็ได้
- งบประมาณขั้นต่ำที่แนะนำ เพื่อเริ่มใช้งาน Criteo เริ่มต้นที่ 150,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น
สรุปเนื้อหาการ LIVE แบบละเอียด
ความท้าทายของ Ecommerce เมื่อ Shopper Journey สลับซับซ้อนมากขึ้น
คุณดาว กล่าวถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่มีการตัดสินใจซื้อสินค้าที่สลับซับซ้อนมากขึ้น โดยเรียกสิ่งนี้ว่า Shopper Journey ที่ไม่เพียงแต่มีเส้นทางที่วกวน แต่ก็ยังมีความแตกต่างไปในแต่ละบุคคลด้วย เพราะแต่ละคนนั้นก็มีความชอบ ความสนใจ มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้การเข้าถึงและเข้าใจเส้นทางการช้อปปิ้งของผู้บริโภคเป็นความท้าทายสำหรับการทำธุรกิจ Ecommerce ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้นักการตลาด นักโฆษณาจะต้องทำความเข้าใจให้ดีด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละจุดที่ผู้บริโภคเดินทางก่อนตัดสินใจซื้อนั้น พบว่าผู้บริโภคมีการทิ้งข้อมูลต่างๆ เอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการที่แวะมาซื้อของบนเว็บหรือบนโซเชียลมีเดีย การแวะเข้าไปที่เสิร์จเอ็นจิ้น ฯลฯ เพื่อคลิกเข้าไปดูสินค้าต่างๆ สิ่งเหล่านี้คือเป็น Data ที่มีประโยชน์มาก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเก็บรวบรวม Data เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ในขณะที่กฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพิ่งประกาศบังคับใช้ และผู้คนเองก็ให้ความตระหนักความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองนับเป็นความท้าทายสำคัญยิ่งของการทำธุรกิจในปัจจุบัน ที่จะต้องทำการเข้าหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าอาจจะไม่ได้ทำให้ยอดขายลดลง แต่ในระยะยาวก็อาจจะทำให้เราไม่เข้าใจลูกค้า มีผลต่อการจัดแคมเปญจัดโปรโมชั่น ที่ไม่ตรงใจไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง สุดท้ายก็ย่อมมีผลต่อยอดขายในที่สุด
Criteo เครื่องมืออัจฉริยะตัวช่วยธุรกิจ Ecommerce แบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
ด้วย Pain point ที่เกิดขึ้นดังกล่าว นักการตลาดและนักโฆษณาหลายคน โดยเฉพาะในต่างประเทศ จึงตัดสินใจใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Criteo เครื่องมือที่จะช่วยนักการตลาดในการไดร์ฟเพอร์ฟอร์แมนซ์บนอีคอมเมิร์ซ ที่เริ่มตั้งแต่ต้นทางจนสุดปลายทางของการช้อปปิ้ง ตั้งแต่การแอ็ทแท็กลูกค้าเข้ามาแล้วก็ไดร์ฟไปสู่คอนเวอร์ชั่นเลย รวมไปถึงยังสามารถคาดเดาหรือทำนายความต้องการในอนาคตของลูกค้าได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ครบวงจรของการทำธุรกิจ Ecommerce มากจริงๆ
สำหรับความจีเนียสของ Criteo มีแกนหลักๆ อยู่ 3 แกนด้วยกัน ได้แก่ Shopper Graph ซึ่งจะเกี่ยวกับการเก็บ Data, Criteo Engine การวิเคราะห์ Data และสุดท้ายคือ Capabilities Report คือการนำ Data มารายงานเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อไป ซึ่งเราจะอธิบายแบบเจาะทีละตัวให้ฟัง
Shopper Graph
คือถังข้อมูลที่ Criteo ใช้เป็นหลังบ้านในการเก็บข้อมูลบนออนไลน์บนแพล็ตฟอร์มต่างๆ การเก็บรวบรวมตั้งแต่บนโซเชียลมีเดียเกือบทุกแพล็ตฟอร์ม หรือบนพับบลิชเชอร์รายใหญ่มากกว่า 90% ของสื่อในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลบนอีมาร์เก็ตเพลสเกือบทุกเจ้า รวมไปถึงในแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ผู้ใช้งานให้ความยินยอม และแน่นอนบนเว็บไซต์ของแบรนด์และร้านค้าเอง (First Party Data) ที่ผู้บริโภคคลิกเข้าไปเพื่อหาสินค้าที่ต้องการ โดยข้อมูลที่เก็บไปมีตั้งแต่ Identity, Interest และ Measurement ซึ่งข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ Real-time และยังมีความสามารถเก็บข้อมูลย้อนหลังได้ถึง 13 เดือน (ตั้งแต่เริ่มสร้างแคมเปญ)
ดังนั้น ข้อมูลทั้งหมดของ Shopper Graph จึงมีทั้งที่เป็น First Party Data และ Third Party Data ด้วยนั่นเอง ซึ่งจะสร้างความถูกต้องแม่นยำในการทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Criteo Engine สำหรับแกนที่สองนี้จะเป็นส่วนของการที่ใช้ AI หรือหุ่นยนต์ เข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรียกว่าเป็น Criteo Engine โดยมีความสามารถหลักๆ ดังนี้
- Predictive Bidding คือการที่เข้ามาช่วยการหาโฆษณาที่เหมาะสมในการยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยวิเคราะห์ให้เลยว่าควรส่งโฆษณาราคาที่กี่บาทถึงจะสร้าง Cost effective price หรือ Cost per order เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด หรือการช่วยเลือกตำแหน่งโฆษณา (Ad Placement) ตรงไหนดีที่จะถูกใจ หรือแม้แต่บอกได้เลยว่าสำหรับคนๆ นี้ ควรจะยิงโฆษณาส่งไปให้กี่ครั้ง เพราะว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน ฯลฯ เรียกว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น ในการส่งโฆษณาให้ถูกต้องตรงใจกับผู้บริโภคในแบบเฉพาะบุคคลได้ ซึ่งถือเป็นตัวช่วยที่ทำให้การทำโฆษณาถูกต้องประหยัดคุ้มค่ามากขึ้น
- Product Recommendation เป็นฟีเจอร์ที่ใช้ในการจับพฤติกรรมของผู้บริโภคว่า ได้ทำการซื้ออะไรไปบ้าง วอลลุมในการใช้แต่ละครั้งเป็นเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะไปทำการค้นหาโปรดักส์ที่อยู่ในแคตตาล็อกเว็บไซต์ของร้านค้าหรือบนอีมาร์เก็ตเพลสก็ได้ จากนั้นจะทำการส่งสินค้าตามพฤติกรรมความสนใจส่งไปหาผู้บริโภครายนั้นๆ ทำให้ได้รับโฆษณาที่ตรงใจและกำลังสนใจอยู่ หรือมีแนวโน้มที่จะซื้อด้วย เรียกว่าเป็นการคัสโทไมซ์โปรดักส์ให้ รวมไปถึงหากเห็นว่า ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมชอบซื้อสินค้าพวกส่วนลดคูปอง หรือที่เรียกว่า Shopping for deal ตรงนี้ก็จะมีการดึงเอาคูปองเหล่านี้ส่งไปให้เพื่อเป็นการกระตุ้นความต้องการให้อยากซื้อได้อีกด้วย
- Dynamic Creative Optimization หรือ DCO+ เป็นฟีเจอร์ช่วยคัสโทไมซ์สินค้าที่จะแสดงบนพื้นที่โฆษณา ให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยเป็นการช่วยออกแบบหน้าตาของโฆษณาให้ตรงใจกับผู้ใช้งานนั้นๆ เช่น บางคนที่ชอบ Carousel Ads หรือบางคนชอบ VDO ดังนั้น รูปแบบโฆษณาที่ส่งไปหาก็จะถูกปรับให้ถูกต้องตรงใจ ตรงกับพฤติกรรมความชอบของผู้ใช้งานรายนั้นๆ ซึ่งจะช่วยทำให้นักการตลาดทำงานได้ง่ายขึ้น ช่วยสร้าง engagement หรือ conversion ที่ดีทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาดีด้วย
Capabilities Report
แกนสุดท้าย ได้แก่ Capabilities Report โดยจะเป็นการทำ Analytical Report ออกมาในแบบเรียลไทม์ และสามารถสรุป Performance ออกมาให้กับผู้ขายได้ด้วย เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าแคมเปญที่ลงไปใน Criteo นั้นได้ Return on ads spend เท่าไหร่ ผลลัพธ์ที่ได้จากการโฆษณาเป็นกี่เท่า หรือว่าต้นทุน Cost per Order ของแต่ละออร์เดอร์ที่ได้มาอยู่ที่กี่บาท ฯลฯ ซึ่งเป็นการทำรายงานเพื่อให้เข้าใจประสิทธิภาพต่างๆ ของการยิงโฆษณา เรียกว่าเป็นอีกฟีเจอร์ที่ช่วยในการต่อยอดการทำการตลาดได้อย่างดีทีเดียว
Criteo ความสามารถที่รอบด้าน ตอบโจทย์ธุรกิจ E-Commerce
นอกเหนือจากฟีเจอร์ต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วนั้น Criteo ก็ยังมีความสามารถในการเป็นตัวช่วยที่ดีให้กับ Ecommerce ด้วย โดยคุณดาว-อารดา ระบุว่า แม้แต่ผู้ค้าที่ไม่มี เว็บไซต์ หรือแพล็ตฟอร์มอีคอมเมิร์สของตัวเองก็ยังสามารถใช้งาน Criteo ได้ เพียงแค่มีสินค้าลงใน อีมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee Criteo ก็จะไปดึงสินค้าในแคตตาล็อกนำมาทำเป็นชิ้นโฆษณาส่งตรงไปหาผู้ใช้งานตามพฤติกรรมตามความสนใจในแบบ Personalized ที่มีความเฉพาะตัวได้ในทันทีแบบ Automated ซึ่งไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด รวมไปถึงการส่งไปยัง Landing page ที่ต่างกันตามความสนใจ เช่น บางคนส่งไปยังหน้าเว็บไซต์แบรนด์ หรือบางคนส่งไปยังอีมาร์เก็ตเพลสก็ได้
หรือแม้แต่คนที่ชอบทำโฆษณาแบบ Look-alike Ads การทำทาร์เก็ตติ้งของ Criteo ก็มีเช่นกัน โดยเรียกว่า Similar Audience คือนอกจากจะมีโฆษณาติดตามคนที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของแบรนด์หรือผู้ขายแล้ว ก็จะมีการส่งโฆษณาไปหาผู้ใช้งานที่มีลักษณะแบบเดียวกันออกไปหากลุ่มคนเหล่านี้ด้วย เป็นการหาลูกค้าที่มี potential ที่จะเป็นลูกค้าของเราได้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการหาลูกค้าใหม่ๆ ให้เข้ามายังหน้าเว็บเพิ่มเติม ดึงคนที่เหมือนกับคนที่เคยเข้าเว็บของเรามาเพิ่มนั่นเอง
นอกจากนี้ ข้อจำกัดทางด้านภาษาก็ไม่เป็นอุปสรรคอีกเช่นกัน อย่างที่ทราบดีภาษาไทยค่อนข้างซับซ้อนหลายคนเกรงว่าแมชชีนจะไม่สามารถตีความได้ แต่ AI ของ Criteo ก็สามารถจัดการได้ ดังนั้น การขึ้นโปรดักส์ฟีดต่างๆ จะแสดงรายละเอียดของสินค้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ผู้ขายสามารถกรอกรายละเอียดสินค้าและอัปโหลดขึ้นโฆษณาเองอย่างง่ายดายเลย
Criteo เหมาะกับทุกแบรนด์ที่ต้องการเติบโตใน E-Commerce แบบสเกลอัปอย่างรวดเร็ว
ฟังมาทั้งหมดนี้ทำให้เห็นภาพชัดเจนที่เลยว่า Criteo คือเครื่องมืออัจฉริยะที่ช่วยธุรกิจ Ecommerce เติบโตได้แบบเสกลอัป จริงๆ แต่คำถามคือแล้ว Criteo เหมาะเฉพาะกับแบรนด์ขนาดใหญ่หรือเหมาะกับธุรกิจแบบไหน และใช้งบประมาณสูงในการทำงานหรือไม่ คุณอารดา ก็ได้ให้คำยืนยันแล้วว่า เป็นความเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้ว เครื่องมืออย่าง Criteo เหมาะกับแบรนด์ทุกขนาด โดยเฉพาะแบรนด์ที่ทำตลาด Ecommerce และมองหา Conversion ไม่ว่าจะคุณจะมีเว็บไซต์หรือไม่ หรือไม่มีหน้าร้านอยู่ก็ตาม แต่มีสินค้าวางอยู่ในออนไลน์ ก็สามารถใช้ Criteo ได้
ส่วนเรื่องบัดเจ็ทนั้น ก็ต้องบอกว่า ผู้ขายหรือแบรนด์สามารถจัดการหยอดบัดเจ็ทเอง เลือกที่จะอ็อปติไมซ์เองได้เลย สำหรับแบรนด์ที่ต้องการเริ่มใช้งาน Criteo งบประมาณที่แนะนำที่ 150,000 ต่อเดือนเท่านั้น แต่ถ้าคิดว่าไม่มีเวลาทำหรืออาจจะไม่มีทีมในการดูแลจัดการตรงส่วนนี้ ก็สามารถเข้ามาปรึกษากับทีมของ Entravision MediaDonuts ก็ได้ มีบริการที่จะช่วยดูแลให้ตั้งแต่ต้นจนจบ ที่สำคัญคือ ไม่มี Management fee แต่อย่างใด เพราะว่าทาง Entravision MediaDonuts เป็นเสมือน Authorized Resellers ให้กับแพล็ตฟอร์ม ดังนั้น จึงไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำธุรกิจ Ecommerce เติบโตอย่างก้าวกระโดดขึ้นมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็เต็มไปด้วยความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมมามากมาย การที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้รับการยอมรับในระดับสากลมาเป็นตัวช่วยในการทำงานก็จะทำให้ธุรกิจเติบโตและไปได้ไกลกว่าเดิม ที่สำคัญคือยังช่วยในการประหยัดเวลาและประหยัดงบประมาณทำให้ใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ซึ่งหลังจาก LIVE ในครั้งนี้ ทำให้ค้นพบว่า Criteo ก็เป็นแพล็ตฟอร์มทางเลือกที่ดีและสามารถช่วยสเกลอัปธุรกิจ Ecommerce ให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วได้ ตอบโจทย์การทำธุรกิจดิจิทัลในปัจจุบันได้อย่างครบถ้วน ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจลองใช้ก็สามารถติดต่อไปที่ Entravision MediaDonuts ได้เลย ที่ คุณอารดา ดวงดาว Client Partner – Performance Solutions Entravision MediaDonuts E-mail : arrada.duangdao@mediadonuts.com
ลงทะเบียนรับ “Insight Report พฤติกรรมออนไลน์และการตัดสินใจซื้อของ Gen Z” ฉบับอัพเดทล่าสุดมูลค่า 50,000 บาทฟรี! ได้ที่นี่ และดูคลิปย้อนหลังได้ที่นี่