ถึงไทยจะไม่ได้เป็นประเทศที่รวยที่สุดในอาเซียน แต่ก็เป็นศูนย์กลางของอีคอมเมิร์ซที่คึกคัก เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคที่คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 11.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025
ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะคนไทยหลายคนที่มีรายได้ปานกลางก็ใช้มือถือเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้สื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ตัวอินเตอร์เน็ต 4G ก็ขยายครอบคลุมหลายๆพื้นที่ในไทยด้วย ทำให้บริษัทต่างชาติและสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนเร่งหาพาร์ทเนอร์ ปล่อยโซลูชั่นของอีคอมเมิร์ซในประเทศ
ถ้าอ้างอิงจาก We Are Social 67% ของคนไทยเข้าถึงอินเตอร์เน็ต แต่ในจำนวนคนไทยทั้งหมดเกือบ 70 ล้านคนมีแค่ 52% ที่อยู่ในเมืองที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ
แต่ถ้าไม่คิคถึงโครงสร้างพื้นฐาน ในเดือนมกราคมก็มีการใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 21% ทำให้อีก 8 ล้านคนเล่นสื่อสังคมออนไลน์บนมือถือบ่อยๆ การใช้มือถือในไทยคิดเป็น 105% ของส่วนแบ่งการตลาด ส่วนแบ่งการตลาด คนไทย 96% ต้องมีมือถืออย่างน้อยหนึ่งเครื่อง คนไทยมากกว่า 21% มีสมาร์ทโฟน 26% มีคอมพิวเตอร์ และอีก 11% มีแทบเล็ต แต่ในขณะเดียวกันการใช้เครื่องแล็บท็อปลดลงเหลือ 46% และการใช้มือถือเพิ่มขึ้นเป็น 47% ในปีที่แล้ว
ฉะนั้นตลาดการใช้สื่อสังคมออนไลน์บนมือถือในไทยโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
90% ของไทยใช้มือถือเป็นวิธีแรกๆในการเข้าอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่ก็เล่นสื่อสังคมออนไลน์ มี 46% ที่เล่นบ่อย ส่วนคนที่ใช้คอมพิวเตอร์จะใช้เวลา 8 ชั่วโมง 49 นาทีโดยเฉลี่ยในการเล่นอินเตอร์เน็ตในแต่ละวัน และสำหรับมือถือก็จะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง 14 นาทีเล่นอินเตอร์เน็ตซึ่งเวลาส่วนใหญ่ก็หมดไปกับสื่อสังคมออนไลน์ และ 85% ของคนไทยต้องต้องเล่นสื่อสังคมออนไลน์วันละครั้ง
แล้วตัวเลขพวกนี้เกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยได้อย่างไร? แต่ที่น่าสนใจก็คือ 41% ของคนไทยซื้อของออนไลน์บนมือถือทุกเดือน มีเพียง 29% เท่านั้นที่ยังซื้อของบนคอมพิวเตอร์อยู่ สื่อสังคมออนไลน์จึงช่วยเพิ่มยอดขาย และขาช็อป 50% ก็ซื้อของผ่านแพลตฟอร์มพวกนี้เช่นกัน
ในยุคที่อีคอมเมิร์ซโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คนทั้งหมดสองในสามของโลกอยู่บนโลกออนไลน์ ตลาดกำลังพัฒนาก็เป็นเป้าหมายของการลงทุน อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ก็เล็งไปที่อาเซียนซึ่ง Alibaba รุกตลาดอย่างหนักในปีที่แล้ว แต่มีแค่ 3% ของธุรกรรมทั้งหมดมาจากช่องทางออนไลน์ในไทย
เรื่องนี้ก็มี 2 ประเด็นให้น่าคิด
1. บริษัทในไทยไม่ยอมไปออนไลน์ และ
2. คนไทยไม่ชอบซื้อของออนไลน์
แล้วทำไมเราต้องกังวลด้วยล่ะ? นี่คือ 5 อุปสรรคสำคัญว่าทำไมบ้านเราไม่เข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเสียที
1. สังคมไทยยังเป็นสังคมเงินสดอยู่
ในไทย ใครถือเงินสดคนนั้นเป็นราชาอยู่ และเงินสดก็ยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอยู่ สำหรับ 70% ของขาช็อปแล้วเงินสดเป็นวิธีที่นิยมในการชำระอยู่ คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีบัญชีธนาคารด้วยซ้ำ ประเด็นนี้ต้องรอให้ FinTech และสตาร์ทอัพหน้าใหม่มาคอยหาทางทำให้การชำระเงินของคนไทยสะดวกขึ้น
2. เงินปลอมยังระบาด
ความไม่ไว้ใจที่มีต่อสถาบันทางการเงินเห็นจะเป็นเงินปลอมซึ่งขึ้นชื่อ(เสีย)ในไทยมาก 32% ของคนที่สำรวจบอกว่าเคยเจอเงินปลอมในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นในตู้ ATM อีคอมเมิร์ซ และเอ็มคอมเมิร์ซ มีเพียงแค่ 17% เท่านั้นที่เชื่อว่าข้อมูลในอีคอมเมิร์ซละเอ็มคอมเมิร์ซจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไม่ยอมซื้อของออนไลน์กัน
แต่ก็ยังมีบางธุรกิจที่ยังไม่ขายของออนไลน์ซึ่งสาเหตุหลักเป็นเพราะในตัวบริษัทไม่มีใครเชี่ยวชาญหรือมีทรัพยากรเพียงพอ ฉะนั้นถ้าอยากเปลี่ยนธุรกิจของตัวเองให้เป็นอีคอมเมิร์ซที่ใช้เทคโนโลยีเป็น ก็ขอให้พัฒนาทักษะของคนในทีม คำถามต่อมาคือแล้วจะทำอย่างไร
นั่นแหละคือโจทย์ใหญ่ในประเทศไทย
3. อีคอมเมิร์ซไทยไม่ค่อยมีตลาดเท่าที่คิด
ก็ทำให้ตลาดไม่ค่อยโต พอมีคนซื้อบนช่องทางออนไลน์น้อย บริษัทเลยรู้สึกว่าการขายของออนไลน์มันไม่ได้เพิ่มมูลค่าให้กับยอดขายออฟไลน์เลย เจ้าของธุรกิจยังสับสนว่า SMEs ต้องทำอีคอมเมิร์ซเพื่อรับมือกับอนาคตหรือไม่
4. โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน
นี่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งที่อีคอมเมิร์ซในไทยไม่ไปไหน กฎหมายในเรื่องนี้ก็ต่างกันในแต่ละประเทศ การขนส่งในไทยบางทีก็ไม่ค่อยน่าไว้ใจด้วย
5. อินเตอร์เน็ตช้า: อีกอุปสรรคของอีคอมเมิร์ซไทย
คนไทยที่เล่นอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังบรอดแบนด์ในเมืองสำคัญๆ อินเตอร์เนตมี Penetrationrate อยู่ที่แค่ 67% น้อยกว่ามาเลเซียแต่เยอะกว่าอินโดนิเซียและเวียดนาม ส่วนแต่ละปี ก็มีเม็ดเงินใช้จ่ายออนไลน์ในไทยแต่ละวันตกอยู่ที่ 212 เหรียญ น้อยกว่าอินโดนิเซียที่อยู่ที่ 228 เหรียญต่อปีซึ่งมากกว่ามาเลเซีย เวียดนามและลาว
เราเตรียมคนให้พร้อมกับการทำงานกับอีคอมเมิร์ซหรือยัง?
รายได้จากการขายของออนไลน์ของกลุ่มเซ็นทรัลอยู่ที่ 1% ในปีที่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นอีคอมเมิร์ซก็โตขึ้นเร็วและคิดว่าจะเพิ่มเป็น 15% ในอีก 4 ปีข้างหน้า
ถ้าอยากให้อีคอมเมิร์ซบ้านเราโตเร็ว รัฐบาลต้องจัดโครงการฝึกฝนทักษะให้ SMEs ทั้งหมด 30,000 เจ้า และอีก 10,000 คนที่กำลังพัฒนาวงการดิจิทัล และถึงแม้เศรษฐกิจไทยยังใช้เงินสด แต่ธุรกรรมส่วนใหญ่ก็เป็นการโอนเงิน ทำให้ FinTech ส่วนใหญ่อำนวยความสะดวกตรงนี้ไม่ว่าจะเป็น Rabbit Line Pay, Air Pay, Digio และ Alipay พยายามช่วยโอนเงินโดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิด
ทั้งนี้ยังมีคนไทยรุ่นหลัง 32% เลือกโอนเงินข้ามเขต อีก 40% เลือกใช้วิธีอื่นอย่างส่งเงินสด E-Wallet และ Paypal มากกว่าใช่บัตรเดบิตและบัตรเครดิต\
ฉะนั้นในอนาคต หากไทยเริ่มเข้าสู่อีคอมเมิร์ซแบบเต็มตัวแล้วล่ะก็ สินค้าแฟชั่นจะขายได้ขายดีอีกเยอะ รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและสื่อด้วย
ซึ่งอีคอมเมิร์ซต่างประเทศอย่าง Lazada และ Alibaba ก็กำลังบุกตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว ไม่เว้นแต่ Amazon ด้วยเช่นกัน
ผู้บริโภคชนชั้นกลางจะกลายเป็นตลาดบุกเบิกที่บรัทควรจะสนใจ รายได้เฉลี่ยของผู้บริโภคไทยคาดว่าจะโตขึ้นเป็นสองเท่าในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย
คำถามคือ คนไทยจะเจียดเงินมาช๊อปออนไลน์ได้สักเท่าไหร่?
คงต้องอดทนฝ่าฟันอุปสรรคให้ไทยเป็นตลาดสำหรับอีคอมเมิร์ซจริงๆ
แหล่งที่มา
https://www.techinasia.com/talk/thailand-ecommerce-boom