อ่านเกมขาด! 10 จุดชี้ตายพลิกกิจการอีคอมเมิร์ซของคุณ ปี 2017

  • 400
  •  
  •  
  •  
  •  

ขณะที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกาอย่าง “โดนัลด์ ทรัมป์”(Donald Trump) พยายามเบรกไม่ให้จีนเป็นมหาอำนาจของโลก แต่ดูเหมือนว่าความเป็นผู้นำดิจิทัลของจีนกลับไม่ได้ลดความร้อนแรงลงเลยโดยเฉพาะในแถบอาเซียน

จีนมีบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลกอย่าง “อาลีบาบา” (Alibaba) ตั้งแต่ปี 2015 อาเซียนกลางเป็นเหมืองทองทำเงินให้กับวงการอีคอมเมิร์ซดีๆนี่เอง ไม่สงสัยเลยว่าทำไม “แจ็ค หม่า” (Jack Ma) ฮุบกิจการอีคอมเมิร์ซอย่าง “ลาซาด้า” (Lazada) ด้วยเงินพันล้านเหรียญ เตรียมลุยตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้

ดีลช็อกโลกระหว่าง “ลาซาด้า – อาลีบาบา”   เป็นจุดเปลี่ยนของเกมอีคอมเมิร์ซในอาเซียน โซ่คุณค่าการค้าการขายจะขยายทั้งสายตั้งแต่โฆษณาดิจิทัล โลจิสติกส์ การเงิน ประกัน แม้แต่บริการทางสุขภาพ

ฉะนั้นมาดู 10 จุดชี้ตายพลิกเกมอีคอมเมิร์ซในอาเซียน ปี 2017 กัน

 

1. ลาซาด้าโดนอาลีบาบาจัดหนักแน่ๆ

ปี 2016 นอกจากอาลีบาบาดีลกับลาซาด้าแล้ว อาลีบาบาก็ยังไม่ได้มีบทบาทในลาซาด้าเท่าทีควร นั่นเพราะอาลีบาบาแอบปฏิรูประบบนิเวศน์อีคอมเมิร์ซในอาเซียนทั้งหมดในปี 2017 รวมไปถึง Ant Financial, Cainiao, และ Taobao Partner (TP) program

ซึ่ง Taobao Partner (TP) program มีมากว่า 7 ปีแล้ว เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้ผลิตผู้จำหน่ายได้ให้บริการอีคอมเมิร์ซแก่พ่อค้าแม่ขายจาก Taobao เช่น Baozun และ Lili & Beauty ที่เสนอบริการการดำเนินการของร้านค้าและบริการอื่นๆที่ทำให้ Taobao และ Tmall เติบโตขึ้นเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดของจีน

หากมีโปรแกรมที่คล้ายๆกับ Taobao Partner ออกมาในปีนี้ (Lazada Partners?) ก็จะสร้างโอกาสอีคอมเมิร์ซให้กับหลายๆวงการไล่ไปตั้งแต่ดิจิทัลเอเจนซี่ไปจนถึงบริษัทบริการรับส่ง ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบอย่าง aCommerce และ SP eCommerce ก็เตรียมทุ่มเงินราว 238 พันล้านเหรียญคว้าโอกาสคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้แล้ว

lazada

2. เมื่อโลจิสติกส์กลายเป็นสินค้า ทำให้เครือข่ายของอาลีบาบาอย่าง Cainiao มาแรง

โลจิสติกส์มักจะถูกมองว่าเป็น “คอขวด” ตัวใหญ่ๆ ขวางการเติบโตอีคอมเมิร์ซในอาเซียน เกิดสตาร์ทอัพที่คอยช่วยแก้ปัญหาโลจิสติกส์ตามมาอย่าง Ninja Van, Ascend Group’s Sendit, และ Skootar รวมถึงบริการแท็กซี่และมอเตอร์ไซด์อย่าง Go-Jek และ Grab ที่ให้บริการเพื่อแก้ปัญหาโลจิลติกส์เป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งบริการพวกนี้กลับเป็นคู่แข่งตัวฉกาจให้กับบริษัทโลจิสติกส์หลักๆอย่าง Kerry Logistics, DHL, and JNE ที่ให้บริการโลจิสติกส์กับอีคอมเมิร์ซแค่เบื้องต้นเท่านั้น

สถานการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับจีนเมื่อทศวรรษที่แล้ว ทำให้อาลีบาบาให้บริการเครือข่ายอย่าง Cainiaoที่เป็นแพลตฟอร์มเปิดที่รวบร้านค้าอีคอมเมิร์ซ Cainiaoจะมาแก้โลจิสติกส์ซึ่งเป็นจุดอ่อนของอาลีบาบา และยังทำให้อาลีบาบาให้ประโยชน์จากแรงความต้องการของตลาดให้เกิดการพูดถึงต่อกันไปด้วย

กว่า 70% ของธุรกิจที่ให้บริการโลจิสติกส์ซึ่งเป็นฝ่ายที่สามก็มาจากอีคอมเมิร์ซ และส่วนใหญ่ก็มีอาลีบาบาหนุนหลังอยู่ ธุรกิจพวกนี้จึงสามารถกำหนดมาตรฐานของอุตสหกรรมของโลจิสติกส์และทำให้สงครามราคาร้อนแรงระหว่างผู้ให้บริการขึ้นไปอีก

อาลีบาบาเอาบริการ Alipay และ Ant Financial มามีบทบาทในระบบโลจิลติกส์ของอาเซียน คราวนี้อาลีบาบาจะเอา Cainiao เข้ามาคุมโซ่คุณค่าอีคอมเมิร์ซด้วย

เหลือแต่รอจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้น

i1a-oe7qbq5gcbc6vgj6afhxhdwhadzw-lralltsgthmf49qdphmwucnc5u6nbsqxkv7lkkpbyujrx-d0p0h-b6inmp8xwe1qkjq_fcl60nwaotvhiqklti4phakcw3m7yrc2v4b-750x449

3. Google and Facebook งานเข้า เมื่อเจอ Alimama และ Tmail

อาลีบาบาและอเมซอนจัดว่าเป็นคู่แข่งตัวฉกาจตรงๆไม่ใช่แค่กับ JD และ Wal-Mart แต่เป็น Baidu และ Google ด้วย

เพราะหลังจากที่ตรวดดูยอดการค้าหาสินค้าในเสิร์ซเอนจิ้นและไซต์ของอีคอมเมิร์ซแล้ว ทั้งอาลีบาบาและอเมซอนก็เขย่าวงการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต เอาแค่ในอเมริกา มีคนราว 55% เริ่มหาสินค้าในอเมซอนซึ่งสูงกว่าปี 2015 ที่มีเพียงแค่ 44%

นี่ไม่ใช่เรื่องตลกเพราะจำนวนการค้นหาสินค้าเป็นตัวกำหนดประเภทของคีย์เวิร์ดและชี้ว่ากิจการสามารถลดต้นทุนต่อคลิกได้มากน้อยแค่ไหน

ส่วนในจีน สงครามระหว่างอาลีบาบาและ Baidu ก็ยังดำเนินต่อไป ทำให้อาลีบาบามีแผนที่จะไม่ให้ผุ้ใช้งานได้ค้นหาสินค้าในช่องทางของ Baidu และก็ทำสำเร็จในปี 2009

และในปี 2017 นอกจากอาลีบาบาดีลกับลาซาด้า และรวมกับแพลตฟอร์มอย่าง Tmail แล้ว อาลีบาบาเตรียมเปิดตัวแพลดฟอร์มโฆษณาอย่าง Alimama ที่คล้ายกับ Google Adword Alimama ยังทำงานร่วมกับเครือข่ายโฆษณาบนหน้าจอและจัดการข้อมูลอย่างTaobao Affiliate Network ด้วย

กิจการสื่อจึงต้องรับมือกับการแข่งขันในระดับที่สูงขึ้น ดิจิทัลเอเจนซี่ต้องเรียนรู้วิธีซื้อและใช้สื่อบนแพลตฟอร์มลาซาด้าในปี 2017

Man at wooden table with laptop and smartphone

4. Alipay: กลยุทธ์ม้าโทรจันในวงการธุรกรรมทางการเงินในอาเซียน

ปี 2017 เป็นปีที่เข้ายุคของ Cash-on-delivery อย่างเต็มรูปแบบแล้ว กว่า 75% ของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซก็เกิดจาก Cash-on-delivery เช่นกัน ทำให้เกิดสตาร์ทอัพที่จับกระแสนี้มาได้สักพักแล้ว เช่น Omise, DOKUtelcos และธนาคารอื่นๆที่เริ่มให้บริการคล้ายๆ Paypal แล้ว

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีบัตรเครดิตและเข้าถึงธนาคารทุกคน สมาร์ทโฟนเข้าถึงผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริการอย่าง the Apple Pay และ LINE Pay ซึ่งอยู่ในแอปฯแชทยอดนิยมอย่าง Line ต้องไม่ลืมความจริงข้อนี้ เพราะการเปลี่ยนสังคมให้เป็นสังคมที่ไม่ต้องใช้เงินสดนั้นต้องให้ผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำธุรกรรมด้วย

นี่ยังไม่ได้พูดถึง “FinTech” ที่ต่อยอดเทคโนโลยีให้การทำธุรกรรมทางการเงินนั้นสะดวกสบาย ง่าย และปลอดภัยขึ้น

ob3rvjo5b-72xzyagsbf5thebua9bqfrl08z2zunr8ez-f7sdqtmyggaiefv752iojlvouxxilc9-i0fxnx319xfcfi2lox6m45utkhs_tnmd6yput3m4cwbzp6ohsfhpwuqu17p-750x530

เราได้แต่หวังว่าบริษัทที่ให้บริการการชำระเงินนั้นจะทำหน้าที่ได้ดีเหมือนเดิม เพราะอาลีบาบาเริ่มเอา Alipay และ Ant Financial เข้ามาแทรกซึมในอาเซียนเป็นม้าโทรจันผ่านลาซาด้าแล้ว ซึ่งเป็นตลาดที่มีฐานผู้ใช้งานและช่องทางจัดจำหน่ายที่ใหญ่จนสตาร์ทอัพบริการชำระเงินในอาเซียนต้องอิจฉาไปตามๆกัน

jrrxa5mcnvu8kg91fksj_om8bk6xyiqfor64u5iut5ktcingikw-bipaqitwzux0eqcoonz0i3yylppi_no9bbxvztpj_nubnssikuyrjof0pf4ggaexe0ogv2pkq1mpvbhwefdy-750x426

5. ยุคที่การแข่งขันที่ความได้เปรียบไม่ใช่ยิ่งผลิตต้นทุนยิ่งถูก

การมาของอาลีบาบาและการเข้ามาของอเมซอนในสิงคโปร์ในต้นปี 2017 จึงปิดโอกาสของยุคของการซื้อมาขายไปให้กับตลาดระดับแมสได้จบลงแล้ว

การแข่งขันในยุคนี้จึงเป็นการแข่งขันที่ความได้เปรียบไม่ได้อยู่ที่การประหยัดจากขนาดอย่างเดียว (Economies of Scales – ผลิตมากต้นทุนยิ่งถูก) แต่อยู่ที่ราคา การเลือกสรร ประสบการณ์และตัวสินค้าเองด้วย ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เยอะๆ จึงจะทำให้การแข่งขันนั้นไม่มีใครต้องแพ้และต้องชนะไปกันข้างหนึ่ง

และอาเซียนก็ได้เข้าสู่ยุคที่ว่านี้แล้ว จะเห็นได้จากกิจการแฟชั่น Pomelo Fashion แบรนด์แฟชั่นที่ให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์โดยตรง ควบรวมห่วงโซ่อุปทาน ผลิตสินค้าแฟชั่นสไตล์และสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง Sale Stock สตาร์ทอัพแฟชั่นของอินโดนิเซียที่ใช้โมเดลคล้ายๆ Pomelo Fashion ที่ออเดอร์มาจากเว็บไซต์บนมือถือ และยังมี Chatbot กลายเป็นบริษัทที่ใช้ Chatbot สำหรับอีคอมเมิร์ซที่แรกของภูมิภาคนี้ ทำให้รับออเดอร์ได้ผ่าน Facebook Messenger ได้ด้วย

vyocfbqsftdn51t6u1hqmtxzslzchepsdao9msyiwypsgeeyb2cv176pncgo9igvmp5wdf2wwy1coeqx9mbase6r-mhq7qywmunbv-yd1wosnl4ig3wbj1ceenuiw5rvchglwrer-750x428

6. การควบรวมกิจการยังจะเกิดขึ้นเรื่อยๆในปี 2017

ปี 2016 นับเป็นปีที่มีกิจการที่ควบรวมกันอยู่หลายๆเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Zalora ทั้งไทยและเวียดนามที่ถูกขายให้กับเซ็นทรัลกรุ๊ป,  Cdiscount ที่ถูกขายให้กับ TCCGroup, อีคอมเมิร์ซอย่าง Moxy ที่โฟกัสลูกค้าผู้หญิงถูกควบรวมกับ Bilna ของอินโดนิเซียเกิดเป็นบริษัทใหม่ Orami, บริษัท Rakuten ของญี่ปุ่นในอินโดนิเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ถูกขายคืนให้กับผู้ก่อตั้ง และร้านขายของชำออนไลน์อย่าง RedMart ถูกขายให้กับลาซาด้า พร้อมกับข่าวลือว่าอเมซอนเตรียมให้บริการคล้ายๆกันอย่าง AmazonFresh ในสิงคโปร์ด้วย

การควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นอีกตลอดปี 2017 โดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซยุค 1.0 อย่างWemall และ WeLoveShopping ของไทย

banking-chatbot-mobile

7. แบรนด์ใช้ช่องทางการสื่อสารและจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายเพื่อติดต่อกับลูกค้าโดยตรง

แบรนด์ที่ขายบน Lazada, MatahariMall, and 11street แรกๆมีคนเข้ามาดูสินค้าเรื่อยๆ ทำให้แบรนด์อย่าง L’Oreal and Unilever เข้ามาขายในแพลตฟอร์มนี้บ้าง แต่ข้อเสียของการใช้แพลตฟอร์มพวกนี้คือไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้าหมวดไหนหรือแบรนด์ไหนขายดี ขายได้ตอนไหน ที่ไหน ขายให้ใคร

แต่อเมซอนไม่พลาดเรื่อบแบบนี้เพราะมีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่แล้ว แถมมีสินค้าที่มีแบรนด์ของตัวเองไว้แข่งกับเจ้าอื่นด้วย

ในปี 2017 แบรนด์จึงเริ่มทำให้ตัวแบรนด์เองให้กลุ่มเป้าหมายได้พบได้เห็น จากนั้นค่อยขายสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางต่างๆเช่น brand.com ที่มีข้อมูลของลูกค้า แบรนด์สามารถควบคุมข้อมูลของลูกค้า ภาพลักษณ์ของแบรนด์ และช่องทางการติดตามข่าวสาร

ส่วนกิจการเจ้าอื่นจะใช้ช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น การสื่อสารและการจำหน่ายสินค้าที่คุณภาพต่ำกว่าและราคาถูกกว่า ส่วนช่องทางอย่าง brand.com ก็เอาไว้ขายของที่พรีเมี่ยมมากกว่า

3vovlm0xa09p0lzfp78-9rqm4h1frlts2fq1cl8ugmhz_zoskq3jxyjjhdepmxobarmyw8z0_lyrvg-h5fskl7-jtq2rs5-iyhr6yvmlec1kpee_5tckzirux_4tolov3atruvsf-750x449

8. การแข่งขันที่รุนแรงจะผลักดันผู้ประกอบการและกิจการต่างๆให้หาประกัน การเงินและบริการสุขภาพ

ผู้ประกอบการต้องมองหาโอกาสใหม่ๆที่มากกว่าสินค้าจับต้องได้ ทำให้สตาร์ทอัพทั่วโลกหันมาสนใจให้บริการด้านประกัน การเงินและบริการสุขภาพ ใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสร้างความต้องการของผู้บริโภค หรือติดต่อกันลูกค้าเป้าหมายโดยตรงเพื่อนำเสนอเงินกู้ ประกันชีวิต แม้กระทั่งข้อมูล

ปี 2016 เราจะเห็น FinTech อย่าง EdirectInsure, frank.co.th ในไทย frankinsure.com.tw ในไต้หวัน เพื่อให้บริการประกันอุบัติเหตุรถยนต์รูปแบบใหม่ และบริษัทหน้าใหม่ที่ให้บริการประกันอีกมากมายทางออนไลน์

l7y6srwge_mduny5btvojn8ejei-dewiz8nwcsowq7p9lzsqtefgato4a8f2rowpqu2kgqx44v6g2hez0asj5dld4xaqkwnm-2w9u8dny82sppjp9kuwwfobbecper0tw4j_dyua-750x625

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมอาลีบาบาถึงเข้ามาให้บริการทางการเงิน แจ็ก หม่าบอกว่า “อีคอมเมิร์ซเป็นเพียงแค่ก้าวแรกเท่านั้น งานของอาลีบาบากว่าครึ่งจะทุ่มไปกับโลจิสติกส์ การเงินบนอินเตอร์เน็ต ข้อมูล คลาวด์ อินเตอร์เน็ตบนมือถือ โฆษณา บริการสุขภาพ และ “ความสุข” ”

 

9. กิจการต้องเข้าใจ “เมียร์มาร์” ก่อนเข้าไปหาโอกาสใหม่ๆ

เพราะตลาดในปประเทศอื่นๆเริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ยกเว้นเมียรมาร์ที่เปิดประเทศตั้งแต่ปี 2011 และก้าวเข้าสู่ยุคโมบายทันที ทำให้ทั้งประเทศใช้ชีวิตอยู่แต่กับมือถืออย่างเดียว

Shop.com.mm ที่เปิดให้บริการในเมียรมาร์ในปี 2014 มีคนเข้าไปดูในเว็บไซต์นี้เฉลี่ย 90,000 ช่วงต่อเดือน แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายโอกาสในอนาคตของอีคอมเมิร์ซในเมียรมาร์ได้เพียงพอ แม้มีผู้เล่น Facebook ในเมียรมาร์ถึง 10 ล้านคน ฉะนั้นการทำอีคอมเมิร์ซปรกติคงไม่ได้ผลกับประเทศนี้ การสร้างร้านคาบน Facebook อาจเป็นวิธีที่ดีกว่าและกลายเป็นอีกอนาคตของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้

jf6fgoc421ain3o6xbvzko9fx1ff8mkrncuxdwb7wmnvumne39rag6hzrcttplgeqdxiq4flwh7t6iwnth1th7z3d-cetuagfrdxx-0q-gbwcd25pc9cxezxfrdfje1ye1cgdacx-750x500

10. ใครที่ให้บริการแบบ On-Demand ต้องรับมือให้ดี

สำหรับสตาร์ทอัพที่ให้บริการ On-Demand ก็ต้องบอกว่าอนาคตของบริการนี้ชักไม่สดใสเหมือนก่อนแล้ว ล่าสุด ร้านขายของชำ On-Demand ในไทเปและมะนิลาต้องปิดตัวลงและไล่พนักงานออกหมด,Tapsy บริการส่วนตัวในไทยก็ปิดตัวลงอีกไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัวGo-Jek บริการคมนาคมในอินโดนิเซียก็ทำท่าจะไม่รอด

อย่าเข้าใจผิด โมเดล On-Demand ยังใช้ได้อยู่ แต่คุณต้องทำให้ลูกค้าของคุณรู้ว่าบริการของคุณสามารถเติมเติมความต้องการของเขา “ทันที” ได้ในยามเร่งด่วน เมื่อถึงตอนนั้น เป็นใครก็ต้องยอมจ่าย ลำพังมีสินค้าที่ตอบโจทย์อย่างเดียวไม่ทำให้ผู้บริโภคควักเงินจ่ายได้หรอก

veddyy4hxbnjjdxohe8rd15djkjkn3efc9z8kytxa2g8byapomr12zunbfczjdpe2wzl0fje4k_3rwxytjwfw9v8wxpem2zv5oersobg42zlvmyn8wnbkcccokcs3phk0glue9u2-750x636

แหล่งที่มา

https://www.techinasia.com/talk/11-trends-shape-southeast-asian-ecommerce-2017


  • 400
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th