จากนี้จะเป็นอย่างไร ประเมินเหตุการณ์หลังประมูล 4G

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

รู้กันไปแล้วกับผลการประมูลคลื่นความถี่ 1800Mhz จำนวน 2 ใบอนุญาต อย่างไม่เป็นทางการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ประกาศสรุปผลการประมูลมีการเคาะราคากันไปถึงรอบที่ 86 ราคารวม 80,778 ล้านบาท แบ่งเป็น Lot1 มูลค่า 39,792 ล้านบาท และ Lot2 มูลค่า 40,986 ล้านบาท สรุปการเคาะราคาในการประมูล รวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้

187625854

คลื่น Lot1

กลุ่ม TRUE 39,792 ล้านบาท – ผู้ชนะการประมูล

กลุ่ม Jasmin 38,996 ล้านบาท

กลุ่ม DTAC 17,504 ล้านบาท

คลื่น Lot2

กลุ่ม AIS 40,986 ล้านนบาท – ผู้ชนะการประมูล

1447333901773

1 หลังการประมูลทีมงาน AIS รอต้อนรับทีมผู้บริหารอย่างอบอุ่น มีการร้องเพลงปลุกใจอย่างสนุกสนาน เพราะนี่คือโอกาสในการรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ในตลาดโทรคมนาคมต่อไป เนื่องจากเดิม เอไอเอส เหลือคลื่นความถี่ 2100Mhz แบนด์วิธ 15Mhz เพียงคลื่นเดียว แต่ต้องให้บริการลูกค้ามากกว่า 40 ล้านราย

2 คาดการณ์ได้เลยว่าในการประมูลคลื่นความถี่ 900Mhz จำนวน 2 ใบอนุญาตที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค. 2558 (ถ้าไม่มีการระงับโดนศาลปกครอง จากการยื่นคำร้องของ บริษัท ทีโอที) AIS จะต้องระดมเงินทุนมาสู้ประมูลอีกครั้งแน่นอน เพราะคลื่นความถี่ที่มีอยู่ (1800,2100) ก็ยังไม่เพียงพอให้บริการ

048A1904
ทีมผู้บริหาร เอไอเอส

TRUE ในฐานะผู้ชนะการประมูลคลื่น Lot1 เตรียมเงินทุนมาอย่างดีจากบริษัทแม่ CP และพันธมิตร ไชน่า โมบาย ทำให้ครั้งนี้สามารถเอาชนะประมูลสะสมคลื่นมาไว้เพิ่มในการครอบครองได้สำเร็จ จากปัจจุบันที่มี คลื่น 850Mhz (ใช้ได้ถึงปี 2568) และคลื่น 2100Mhz การได้คลื่น 1800 กลับมาจะทำให้ TRUE ชูบริการคอนเวอร์เจนซ์ได้ดียิ่งขึ้น

4 หลังจากนี้ TRUE จะระดมสรรพกำลัง เพื่อชิงเก้าอี้อันดับ 2 ในตลาดจากเจ้าของเดิมคือ DTAC อย่างแน่นอน เพราะเสียเงินทุนไป 3.9 หมื่นล้านบาท ต้องโกยลูกค้าเข้ามาใช้บริการให้เร็ว เพื่อรับรู้รายได้และไปลดดอกเบี้ยต่อไป ดังนั้นที่ต้องดูต่อจากนี้คือ การตลาดของ TRUE และการรับมือของ DTAC

5 การประมูล 1800 ที่จบไป ดูจากรูปเกมแล้ว ยังไง TRUE ก็ต้องชนะให้ได้ นอกจากเพื่อสะสมคลื่นให้มากแล้ว ยังเพื่อกันตัวแปรสำคัญ นั่นคือ คู่แข่งรายที่ 4 อย่าง Jasminที่จะเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาด (AIS และ DTAC เองก็คงไม่ชอบเช่นกัน)

048A1979
ทีมผู้บริหารทรู

6 DTAC ได้รับเสียงบ่นเล็กน้อยจากโลกออนไลน์ เพราะเคาะราคาไป 1.7 หมื่นล้านบาท แต่อยากให้เข้าใจว่า DTAC มีคลื่นอยู่พอสมควรทั้ง 850, 1800 และ 2100 ไม่มีความจำเป็นต้องรีบร้อนประมูล สำรองเงินไว้สู้ศึกประมูล 900 ดีกว่า จากนั้นก็รอประมูลคลื่น 1800 ที่ตัวเองใช้อยู่ตอนนี้ ซึ่งจะหมดอายุสัมปทานปี 2561

7 จากวันนี้ไป DTAC ต้องเตรียมรับการบุกอย่างหนักจาก TRUE และในการประมูล 900 ก็ใช่ว่า AIS และ TRUE จะไม่อยากได้คลื่นนี้ ดังนั้นสงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งรีบนับศพทหาร

048A1872
ทีมผู้บริหารดีแทค

8 Jasmin แม้จะพลาดประมูลแต่กลายเป็นพระเอกในสายตาใครหลายคนไปแล้ว เพราะนอกจากจะเคาะราคาถึง 3.8  หมื่นล้านบาท เกือบได้คลื่น 1800 มาครองอยู่แล้ว ในมุมมองของคนทั่วไป Jasmin สร้างการแข่งขันช่วยเพิ่มราคาประมูลคลื่น ให้ประเทศได้เงินเข้าคลังไปมากพอสมควร

9 ถ้า Jasmin จะเอาจริงในวงการนี้ ในการประมูลคลื่น 900 ถอยไม่ได้แล้ว เพราะไม่รู้จะมีการประมูลอีกเมื่อไร แต่ดูจากการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค ก่อนหน้านี้ Jasmin ในนาม 3BB มีการสอบถามลูกค้าทั้งทางโทรศัพท์ และแบบสอบถามว่า สนใจบริการ Mobile Broadband หรือไม่ ได้ยินแบบนี้ สงสัยจะเอาจริง

10 ถ้า Jasmin เอาจริงในการประมูลคลื่น 900 และถ้าเอาชนะได้ ปรากฎการณ์ทางการแข่งขันในตลาดบริการมือถือจะสนุกขึ้นมาทันที เหมือนมีผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาด การแข่งขันจะดุเดือด และกลายเป็นยุคทองของผู้บริโภคอีกครั้ง (คล้ายๆ กับตอนสงครามราคา ที่ค่าโทรลดเหลือ 25 สตางค์ต่อนาที)

048A1939
ทีมผู้บริหารจัสมิน

11 สำรวจความพร้อมทางการเงิน AIS มีกำไรประมาณ 3 หมื่นล้านบาทต่อปี มีพันธมิตรคือ สิงเทล จากสิงคโปร์ DTAC มีกำไรประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี พันธมิตรสำคัญคือ กลุ่มเทเลนอร์ TRUEมีพันธมิตร ไชน่าโมบาย และ Jasmin มีกลุ่มทุนจากญี่ปุ่นล่าสุดทั้ง 2 บริษัทมีกำไรในหลักพันล้านบาท การประมูลคลื่น 900 ต้องวัดพลังกัน AIS และ TRUE อาจจะเสียเปรียบเล็กน้อยจากเงินที่ต้องเตรียมจ่ายการประมูล 1800 ที่เพิ่งผ่านไป แต่ไม่ว่าอย่างไร ทุกรายที่ชนะต้องเตรียมเงินไว้ลงทุนโครงข่ายใหม่ด้วย

12 ถ้ากังวลว่าค่าประมูลที่สูงจะมีการผลักภาระให้ผู้บริโภค เจอค่าบริการที่สูงขึ้นหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ต้องกลัว เพราะ กสทช .มีการกำหนดค่าบริการขั้นสองและมีข้อกำหนดในเงื่อนไขการประมูลว่า ค่าบริการต้องไม่สูงกว่าบริการ 3G ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และถ้าคิดให้ลึกกว่านั้น มูลค่าการประมูลเฉลี่ยใบอนุญาต 4 หมื่นล้านบาท อายุใบอนุญาต 18 ปี เท่ากับปีละ 2.2 พันล้านบาท ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ และการจ่ายค่าสัมปทานโทรคมนาคมในอดีต (หลักหมื่นล้านบาทต่อปี)

13 และสุดท้าย ถ้าผู้ให้บริการรายใดคิดราคาสูงขึ้น ผู้บริโภคก็มียังมีผู้ให้บริการอีก 2 ราย ให้เลือกย้ายไปใช้บริการแบบ ค่ายใหม่ เบอร์เดิม เพราะนี่คือ หลักการแข่งขันและการตลาดนั่นเอง

IMG_3717
ทีมผู้บริหาร 4 บริษัท ที่ร่วมประมูล พบกันใหม่รอบหน้า

Copyright © MarketingOops.com


  •  
  •  
  •  
  •  
  •