สรุปเทรนด์ ‘อาชีพ’ มาแรง ปี 64 และ Skill แบบไหนที่นายจ้างต้องการ

  • 769
  •  
  •  
  •  
  •  

แม้ในปัจจุบันเราจะได้ยินกระแสข่าวปลดคนหรือการประกาศเลิกจ้างจากหลาย ๆ แห่ง ขณะเดียวกันก็ยังมีหลายอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดและมีการเปิดรับจำนวนมาก วันนี้เราจึงมาสรุปเทรนด์ ‘อาชีพ’ มาแรง ในปี 2564 และ Skill แบบไหนที่นายจ้างต้องการ

ทาง จ๊อบส์ ดีบี ได้มีการเปิดข้อมูลสายงานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 อาทิ นักพัฒนาเอไอ ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer โดยธุรกิจที่มีสัดส่วนจำนวนประกาศงานสูงสุด ได้แก่

1.กลุ่มธุรกิจไอที 12.9%

2.กลุ่มธุรกิจการผลิต 8.1%

3.กลุ่มธุรกิจการค้าปลีก-ส่ง 6.6%

ส่วนกลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่

1.สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ 16.0%

2.สายงานไอที 14.7%

3.สายงานวิศวกรรม 9.8%

ขณะที่ธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2563 ได้แก่ กลุ่มธุรกิจประกันภัย 42.9% , กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 41.9% และกลุ่มธุรกิจการผลิต 37.7%

อัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 20% ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 และมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยการแข่งขันมีการกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มคนทำงานที่เงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท

นอกจากนี้ทาง จ๊อบส์ ดีบี ยังได้เปิดเผยถึงทักษะใหม่ และ Mindset ที่คนทำงานต้องมีในอนาคต ได้แก่

ทักษะใหม่สุดปังที่คนทำงานต้องมีในอนาคต

Hard skill ทักษะความสามารถด้านอาชีพ หรือความชำนาญ ในการทำงานด้านนั้นๆ ได้แก่  ความรู้ด้านไอที , ทักษะด้านภาษา , การวิเคราะห์ข้อมูล

Soft skill ทักษะด้านสังคมในการอยู่ร่วมกับคนอื่น ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร , การทำงานเป็นทีม , การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้

Meta skill ความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สร้างทัศนคติที่พร้อมจะเติบโตและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้แก่ การรู้จักหรือเข้าใจตัวเอง , ความคิดสร้างสรรค์ , ความยืดหยุ่นทางความคิด

Mindset สิ่งสำคัญสำหรับคนทำงานยุคใหม่

Growth Mindset – เชื่อในศักยภาพของตนเอง , มีกรอบความคิดพัฒนาตัวเองและองค์กร , กล้าเผชิญปัญหา-เรียนรู้ และเติบโตไปกับองค์กร

Outward Mindset – เปลี่ยนเลนส์มุมมอง , ทำความเข้าใจผู้อื่น , พร้อมหาวิธีแก้ปัญหา

 

ขณะที่แนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต (Wake-up Talk : Job Market Projection after Crisis) ทาง จ๊อบส์ ดีบี ได้ประเมินไว้ว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 จำนวนความต้องการแรงงานในประเทศไทยทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ฟื้นขึ้นจากจุดต่ำสุดถึง 24.65% โดยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดจากเดือนเมษายน 2563 และเดือนธันวาคม 2563 จากการระบาดระลอกที่ 2

 

 

 


  • 769
  •  
  •  
  •  
  •