ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัว Integrity Hotline ขับเคลื่อนวัฒนธรรมการ Speak Up ของพนักงานทุกระดับ

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

เมื่อ Human กลายเป็นเรื่องสำคัญขององค์กร การให้โอกาสแก่พนักงานในการสร้างจุดยืนของตัวเองจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ หนึ่งในนั้นคือการแจ้งเบาะแสสำคัญในองค์กร เพื่อให้ผู้บริหารทราบและดำเนินการแก้ไขวิกฤตต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และยังเป็นการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ช่วงต้น ก่อนจะลุกลามบานปลายจนอาจแก้ไขไม่ได้ ผ่าน 4 ขั้นตอนระดับโลกในการค้นหาความจริง

จากผลสำรวจของบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ผู้นำทางธุรกิจกว่า 97% เล็งเห็นความสำคัญของการแสดงออกถึงจุดยืนด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล จริยธรรม และความรับผิดชอบ (Integrity) ขององค์กร ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท และพนักงานในทุกระดับ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการจัดการความเสี่ยงอย่างทันท่วงทีและร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

นั่นจึงทำให้ ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดตัวบริการ “Integrity Hotline” หรือ สายด่วนธรรมาภิบาล เครื่องมือการดำเนินงานสำคัญที่ช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของทรู คอร์ปอเรชั่น

 

สร้างวัฒนธรรมการ Speak Up

การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล นอกจากจะเป็นการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญขององค์กรอีกด้วย ทั้งในด้านการรักษาชื่อเสียง การดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ไปจนถึงการทำให้ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า และสังคมโดยรวม เกิดความไว้วางใจในองค์กรและแบรนด์

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลต้องอาศัยการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่เข้มข้น โมเดลบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที และการกำหนดโครงสร้างองค์กรที่ส่งเสริมความเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) สูงสุด

ภายหลังการรวมธุรกิจ ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงเพิ่มระดับการดำเนินงานด้านธรรมาภิบาลให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และได้พัฒนาบริการ Integrity Hotline เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนความประพฤติหรือการกระทำของพนักงานที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาล (Code of Conduct) ของบริษัท ซึ่งเปิดให้ทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกสามารถมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสได้

โดยช่องทาง Integrity Hotline นี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติจริงในองค์กร (Governance in Action) พร้อมทั้งขับเคลื่อนวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมั่นใจและใช้ช่องทาง Speak Up หรือรายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม

 

คุ้มครองผู้ให้ข้อมูลหยุดยั้งวิกฤต

ก้าวสำคัญสู่การสร้างวัฒนธรรมการ Speak Up และธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรนั้น คือการสร้างความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสหรือ Whistleblower ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยยับยั้งความเสี่ยง และจำกัดความรุนแรงที่อาจลุกลามเป็นวิกฤตได้อย่างทันท่วงที จากเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่เกิดขึ้นในตลาดทุนล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงบทบาทของ Whistleblower และความสำคัญของการมีช่องทางรายงานการละเมิดธรรมาภิบาลที่ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส

ปัจจุบัน บริการช่องทาง Integrity Hotline ของ ทรู คอร์ปอเรชั่น มีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง EQS Group ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชั้นนำของยุโรป เป็นผู้ให้บริการดังกล่าวผ่านมาตรฐาน ISO 27001 ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและข้อมูล นั่นจึงทำให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลของ Whistleblower จะไม่ถูกเปิดเผยและได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยผู้แจ้งเบาะแสสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเผยตัวตนหรือไม่ และระบบจะไม่เก็บข้อมูลผู้รายงาน ไม่ว่าจะเป็นรหัสพนักงาน รหัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแจ้งเบาะแส หรืออีเมล์ก็ตาม

 

ตรวจสอบความจริง 4 ขั้นตอนลดการกลั่นแกล้ง

ความเชื่อมั่น (Trust) ถือเป็นแก่นสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมั่นใจได้ ตั้งแต่ระบบต้นทาง กระบวนการ การตีความ ความสมเหตุสมผล ไปจนถึงปัจจัยแวดล้อม ทรูจึงได้กำหนดกรอบการทำงานที่เข้มข้น ชัดเจน เป็นอิสระสูงสุด สอดรับกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และมาตรฐานระดับโลกอย่างดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจละเมิดต่อหลักธรรมาภิบาลผ่าน Integrity Hotline ผ่านการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอน

– ขั้นที่ 1 Risk Assessment: เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของการรายงานนั้นๆ เพื่อป้องกันการใช้ช่องทาง Integrity Hotline เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง

– ขั้นที่ 2 Categorization: หลังประเมินแล้วว่า รายงานที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ ทีมสืบสวน (Investigation Team) จะมีการจัดลำดับชั้นความเสี่ยงของรายงานและข้อกังวลเหล่านั้นตามนโยบายของบริษัท เพื่อบริหารจัดการตามความเหมาะสม โดยจะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตามแต่ละประเภทของความเสี่ยง

– ขั้นที่ 3 Fact-Finding: จะเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริง และมีการตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการพิจารณาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยดำเนินงานภายใต้ความอิสระ รวมถึงในบางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีชื่อเสียงและเป็นอิสระมาดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) และเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน

– ขั้นที่ 4 Filing Report: หลังตรวจสอบข้อร้องเรียนเรียบร้อย คณะทำงานจะส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการ DAC (Disciplinary Action Committee) เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น รวมถึงพิจารณาบทลงโทษทางวินัย กรณีที่รายงานข้อกังวลนั้นเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามนโยบายบริษัท

ที่สำคัญการตรวจสอบดังกล่าว ไม่เพียงแค่เป็นการตรวจสอบจากบุคลากรภายในองค์กร แต่บุคคลภายนอกก็สามารถแจ้งเบาะแสต่างๆ ได้ โดยจะได้รับความคุ้มครองปกปิดข้อมูล เพื่อให้เกิดการพัฒนาการให้บริการ โดยทาง True dtac เชิญชวนทุกคนมาร่วมกันเป็นหูเป็นตาเพื่อสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กรและตลาดทุน หากผู้ใดพบเห็นสิ่งผิดปกติ สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ https://truecorp.integrityline.com/


  •  
  •  
  •  
  •  
  •