ในแต่ละเดือน จะมีอยู่วันหนึ่งที่มนุษย์เงินเดือนเฝ้ารอคอยมาตลอดทั้งเดือน นั่นคือ วันเงินเดือนออก แต่เมื่อถอนเงินออกมา “เงินเดือน” เดือนนั้นก็แทบจะเปลี่ยนเป็น “เงินทอน” ทันที จากค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะค่ากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ค่าบัตรเครดิต ค่าบ้าน ค่ารถ และอื่นๆ อีกมากมาย
ส่วน “เงินออม” เหรอ ! ลำพังเพียงแค่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็ “เก็บเงินไม่อยู่แล้ว” และเกิดความรู้สึกตลอดเวลาว่า “เงินหายไปไหนหมด” นี่เป็น Insight ที่คนไทยวัยทำงานส่วนใหญ่กำลังเผชิญ
เพราะถึงแม้มนุษย์เงินเดือนรับรู้เป็นอย่างดีว่า การมีเงินออมเป็นหลักประกันในชีวิต ทั้งยามฉุกเฉิน หรือยามจำเป็น และเป็นการสร้างความมั่นคงในระยะยาว ทั้งยังเข้าใจหลักการจัดสรรรายได้ที่ต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 50% ของรายได้เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ต้องจ่ายทุกเดือน หรือทุกปี, 20% เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และ 30% เป็นการออมเงิน
แต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์เงินเดือน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่โลกการทำงานต้องประสบปัญหาบ่อยครั้ง คือ การจัดสรรรายได้สำหรับเป็นเงินออม ไม่มีความสม่ำเสมอ บางเดือนมี ขณะที่บางเดือนไม่มี ซ้ำยังปวดใจกับตัวเลขยอดเงินในบัญชีออมทรัพย์ ที่แทบไม่มีดอกผลงอกเงย
เชื่อว่าหลายคนเกิดคำถามอยู่ในใจว่าแล้วทำอย่างไรที่เราจะสามารถสร้าง “วินัยการออมเงิน” และรายได้ที่จัดสรรเป็นเงินออมนั้น จะมี “ดอกผลที่คุ้มค่า” อย่างแท้จริง ?
ทุกวันนี้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการออมเงินหลากหลายรูปแบบ สามารถเลือกได้ตามความต้องการ และตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
หนึ่งในทางเลือกที่ให้ Benefit ครบรอบด้าน คือ “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์” เนื่องจากมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ทั้งเบี้ยประกันที่จ่าย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทุกปีที่ชำระ ผลตอบแทนดีกว่าการดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งยังได้ความคุ้มครองชีวิตเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดถึง ซึ่งจะเป็นหลักประกันให้กับคนในครอบครัวได้อีกด้วย และช่วยสร้างวินัยการออมเงินให้กับผู้ถือกรมธรรม์
อย่างไรก็ตาม ในข้อดีมากมายของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ก็ยังพบว่ามี “กำแพงอุปสรรค” มากมายที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนไม่เลือกออมเงินด้วยวิธีนี้ หรือไม่สามารถเข้าถึงโปรดักส์ทางการเงินประเภทนี้ ?!
เพราะด้วยความที่ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่บรรดาสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร และบริษัทประกันชีวิตนำเสนอ มีเบี้ยประกันสูง เพื่อเจาะกลุ่มรายได้ระดับกลางถึงบนขึ้นไป (Upper Mid-Income & Affluent Segment) ทำให้คนมีรายได้น้อย หรือคนที่มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนมาก ไม่มั่นใจว่าตนเองจะมีเงินส่งเบี้ยประกันได้ตลอดหรือเปล่า
ประกอบกับยังมองว่าโปรดักส์ประกันชีวิตมีเงื่อนไขซับซ้อน ยุ่งยาก และคนไทยหลายคนยังไม่เข้าใจการซื้อประกันผ่านสาขาธนาคาร (Bancassurance)
“TMB Life Saver 15/9” ตอบโจทย์ประกันทำง่าย ใครก็ทำได้
ด้วยการดำเนินธุรกิจที่ “ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” (Customer Centricity) และมุ่งสร้างความแตกต่าง ตามแนวคิด “Make THE Difference” ทำให้ “TMB” เข้าใจความต้องการของผู้บริโภควัยทำงานเป็นอย่างดีว่า ทุกคนที่เริ่มทำงาน อยากมีเงินออม ในรูปแบบที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อเป้าหมายในชีวิต เพื่อดูแลตัวเองและครอบครัว แต่ด้วยรายจ่ายที่สวนทางกับรายรับ ทำให้ทุกคนไม่สามารถมีเงินเก็บ หรือมีเงินออมได้อย่างสม่ำเสมอตามที่ตนเองตั้งเป้าไว้ในแต่ละเดือน ในแต่ละปี
“TMB” เล็งเห็นว่า “ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์” เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีในการตอบโจทย์ได้ครบทุกคุณประโยชน์ ทั้งด้านการออม และความคุ้มครองชีวิต จึงได้พัฒนากรมธรรม์ “TMB Life Saver 15/9” ที่ออกแบบให้มีเงื่อนไขง่าย ชัดเจนที่สุด และที่สำคัญเบี้ยประกันต้องไม่เป็นภาระกับชีวิตมากจนเกินไป สามารถจ่ายได้โดยไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
“TMB Life Saver 15/9” เปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วภายใต้แนวคิด “ประกันทำง่าย ใครก็มีได้” และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นแบบประกันที่มีความง่ายในการเข้าถึง ให้ทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทนที่ดีซึ่งตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยเบี้ยประกัน “TMB Life Saver 15/9” ราคาเท่ากันทุกเพศทุกวัย เพียงเดือนละ 1,000 บาท หรือปีละ 12,000 บาท เป็นเวลา 9 ปี แต่ให้ความคุ้มครองชีวิตนานถึง 15 ปี และรับเงินคืน 2,000 บาท ตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีที่ 15 จากนั้นเมื่อสิ้นสุดสัญญารับเงินคืนอีก 100,000 บาท เป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองทันทีที่สมัคร และสามารถนำเบี้ยประกันที่จ่ายไป ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อีกด้วย
เมื่อการออมเงิน ด้วยการซื้อกรมธรรม์ประกับชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน ทั้งยังไม่กระทบต่อเงินในกระเป๋ามากเกินไป ย่อมเป็นการกระตุ้นให้คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานเริ่มต้น (1st Jobbers) เห็นความสำคัญของการออมเงิน และทำให้คนรุ่นใหม่มีทางเลือกที่ดีขึ้น ในการสร้างความมั่นคงในชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย