ทางเลือกสร้างรายได้ในยุคที่หาเงินทองยาก พร้อมแผนให้บริการใหม่ช่วยสร้างรายได้ให้คนตัวเล็ก

  • 10
  •  
  •  
  •  
  •  

ในยุคที่หลายงานมีความเสี่ยงสูง อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤตโรคระบาด การหารายได้เสริมหรือการสร้างรายได้ใหม่ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่หลายคนกำลังมองหา แต่อย่างที่ทราบว่าธุรกิจทุกวันนี้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต่างมองวิธีการลดคนออกมากกว่ารับคนเข้า อีกทั้งยังมีคนที่ว่างงานเดิมอยู่แล้วและเด็กจบใหม่ที่ค่อยๆ ทยอยออกสู่ตลาด ส่งผลให้การหางานกลายเป็นเรื่องยากเพิ่มทวีคูณ

Rider หรือผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับส่งอาหาร Food Delivery จึงกลายเป็นอาชีพเสริมและหลายคนจะเป็นอาชีพหลักในยุคที่การหางานยากมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง Rider ประสบปัญหารายได้เช่นกัน แม้ธุรกิจ Food Delivery จะมีอัตราการเติบโต ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจำนวน Rider ที่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการแย่งงานและไม่สามารถกระจายงานได้ทั่วถึง อีกทั้งรายได้ของ Rider ยังสิ้นเปลืองไปกับค่าน้ำมันและค่าบำรุงดูแลรักษารถจักรยานยนต์

Robinhood ผู้ให้บริการ Food Delivery ที่ไม่คิดค่า GP กับร้านค้า จึงได้เปิดตัวแอปพลิเคชั่นสำหรับ Rider รวมถึงชุดยูนิฟอร์มใหม่ ซึ่งตอบโจทย์มาตรฐานการให้บริการของ Robinhood นอกจากนี้ยังใส่ใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการจับมือกับพันธมิตรอีก 2 รายในการให้บริการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับ Rider Robinhood ชนิดที่ค่าเช่าถูกกว่าค่าน้ำมัน 2 ถังเลยทีเดียว

 

Robinhood แอปพลิเคชั่นเพื่อคนตัวเล็ก

โดยพี่โจ้ คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนาและให้บริการ “โรบินฮู้ด (Robinhood)” ชี้ว่า Robinhood มีเป้าหมายมุ่งช่วยเหลือร้านอาหารโดยเฉพาะร้านเล็กๆ ด้วยการไม่เก็บค่า GP แม้แต่บาทเดียวและมีนโยบายที่จะไม่เก็บตลอดไป ทำให้ปัจจุบันเรามีร้านอาหารที่ให้ความสนใจและเปิดให้บริการบนแพลตฟอร์มกว่า 97,000 ร้าน โดยคาดว่าจะถึง 1 แสนร้านค้าภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2564

นอกจากร้านค้าแล้วอีกหนึ่งคนตัวเล็กที่มีความสำคัญกับธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี คือ “คนส่งอาหาร” หรือ Rider จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่เป็นผู้ส่งความสุขผ่านอาหารให้กับลูกค้า Robinhood กว่า 1.1 ล้านคน ซึ่งตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมามีการฝึกอบรมมาตรฐานการให้บริการของ Rider อย่างเข้มข้น ทำให้ Robinhood Rider กว่า 15,000 คน ได้รับการตอบรับและเสียงชื่นชมจากทั้งลูกค้าและร้านค้าว่าเป็น “สุภาพบุรุษไรเดอร์” ซึ่งได้กลายเป็นจุดแข็งที่สร้างความแตกต่างให้กับ Robinhood

ทำให้ Robinhood นอกจากเข้ามาช่วยร้านอาหารแล้ว ยังต้องการช่วยแก้ Pain Point ทั้ง 4 ด้านให้กับ Rider เพื่อให้สามารถรับรายได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่มีการหักเปอร์เซ็นต์แม้แต่บาทเดียว, ได้เงินจากการวิ่งงานส่งอาหารภายในวันเดียวกัน, มีประกันคุ้มครอง 24 ชั่วโมง และการมีระบบการจ่ายงานที่กระจายอย่างทั่วถึง เพื่อช่วยให้ Rider มีรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขและเติบโตไปพร้อมกับ Robinhood

 

เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายให้ Rider

ขณะที่พี่บิ๊ก คุณสีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด เห็นว่า ecosystem ถือเป็นเรื่องสำคัญของ Robinhood หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปจะไม่สามารถให้บริการที่ดีไปถึงมือลูกค้าได้ จึงทำให้เกิดการพัฒนา “Robinhood Rider Application” ขึ้นมา ด้วยการออกแบบดีไซน์ให้ใช้งานง่าย มีระบบการจ่ายงานที่ทั่วถึง ช่วยให้บริการลูกค้าใช้เวลาลดลง

โดยแอปฯ ดังกล่าวจะยึด 3 แกนหลักสำคัญทั้ง การเพิ่มรายได้ ด้วยอัตราค่ารอบใหม่ โดย 2 กิโลเมตรแรกจะปรับเพิ่มขึ้น 7.5% เริ่มต้นที่ 43 บาทและไม่หักเปอร์เซ็นต์ รองรับฟีเจอร์ “Tip” จากลูกค้าที่จะให้บริการในอนาคตอันใกล้, การเพิ่มงาน โดยช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ Robinhood เตรียมขยายบริการสู่ธุรกิจรับ-ส่งของ (Express Services), บริการด้านสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ต (Mart Service) และบริการจองที่พักการเดินทาง (OTA) ช่วยให้ Rider สามารถมีรายได้เสริมในช่วง Off Peak การจัดส่งอาหารได้

และการเพิ่มโอกาส ให้ผู้ที่ต้องการเป็น Rider แต่ไม่มีรถจักรยานยนต์สามารถทำงานได้ ด้วยโครงการ “Robinhood EV Bike” ด้วยการร่วมกับ 2 พันธมิตรอย่าง ETRAN และ H SEM ผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสัญชาติไทย โดยเตรียมนำรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ากว่า 200 คันให้ผู้ที่สนใจทำอาชีพ Rider ทั้งรายใหม่และรายเก่าเช่าในราคา 120 บาทต่อวัน พร้อมจุดเปลี่ยนแบตเตอรี่กว่า 18 จุดทั่วกรุงเทพฯ

โดยรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของพันธมิตรทั้ง 2 รายได้ผ่านการทดสอบอย่างเข้มข้น และสามารถขี่ได้ไกลสุด 120-140 กม.ต่อแบตเตอรี่ 1 ลูก และให้ความเร็วสูงสุด 100-120 กม./ชม. โดยตั้งเป้าภายในปี 2564 จะมีรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพร้อมให้บริการมากกว่า 1,500 คัน และมีจุดเปลี่ยนแบตเตอรี่กว่า 100 จุดทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งการใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายลงถึง 4,000 บาทต่อเดือน โดยค่าเช่า 120 บาทต่อวันรวมค่าประกันและค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่แล้ว นอกจากนี้หากเช่าครบ 1,000 วัน Rider สามารถซื้อรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้ในราคา 1,000 บาท

 

กว่าจะมาเป็น Robinhood Rider

นอกจากเรื่องของแอปพลิเคชันสำหรับ Rider ที่สร้างขึ้นมายังมีเรื่องของชุดยูนิฟอร์มที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของ Robinhood Rider โดยชุดยูนิฟอร์มประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ทั้งในเรื่องของสี, ดีไซน์และวัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บ โดยในเรื่องของสี ยูนิฟอร์ม Robinhood Rider จะใช้สีเหลืองส้มตัดกับสีม่วง และจะเป็นสีที่ใช้ในแอปพลิเคชันด้วย โดยจากการสำรวจพบว่า สีเหลืองส้มช่วยลดความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทั้งในช่วงเวลากลางวันและเวลากลางคืนได้ดี รวมไปถึงสีเหลืองส้มยังเป็นส่วนหนึ่งของโลโก้ Robinhood นอกจากนี้สีเหลืองส้มยังให้ความรู้สึกถึงความเป็นมิตร ตัดกับสีม่วงซึ่งเป็นสีหลักของ SCB ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Robinhood

ส่วนการดีไซน์ยูนิฟอร์มของ Robinhood Rider มีการออกแบบเพื่อช่วยให้ Rider รู้สึกถึงความภาคภูมิใจ โดยมีการศึกษาจากการออกแบบเสื้อของนักแข่งรถจักรยานยนต์ทั่วโลก ซึ่งได้ Marc Marquez นักแข่งจากทีม REPSOL Honda เป็นต้นแบบ และการเลือกใช้วัสดุของชุดยูนิฟอร์ม โดยใช้เวลากว่า 2 เดือนในการค้นหาวัสดุที่ผ่านการทดสอบสุดโหดอย่างการขับขี่ท่ามกลางแดดร้อนเดือนเมษายน ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้จะช่วยกันความร้อน รักษาความเย็นไว้แม้จะอยู่ท่ามกลางแสงแดด พร้อมตัดเย็บด้วยซิปกันน้ำ ช่วยให้ชุดยูนิฟอร์มสามารถกันน้ำได้ ขณะช่องด้านขวาถูกออกแบบมาให้ใส่มือถือสามารถหยิบใช้งานได้ง่าย และยางรัดขอบที่ออกแบบมาให้สวมใส่สบาย

ทั้งหมดนี้คือการเสริม ecosystem ให้กับ Robinhood Rider นอกจากนี้ยังมีการรักษามาตรฐานการให้บริการสำหรับ Robinhood Rider โดยจะมีทีม Social Listening ในการตรวจสอบความไม่พอใจของลูกค้าผ่านช่องทาง Social ต่างๆ นอกจากนี้ในกลุ่ม Rider ด้วยกันเองจะมีการตักเตือน ช่วยเหลือ เสนอแนะซึ่งกันและกัน ช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า Robinhood Rider มีคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการ ตามที่ลูกค้าหลายท่านให้เกียรติเรียก Robinhood Rider ว่าเป็น “สุภาพบุรุษไรเดอร์”


  • 10
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา