KTB ชวนผู้ประกอบการ SMEs เจาะกลุ่มตลาดเกิดใหม่ CLMV “คุณลุย…เราดัน”

  • 87
  •  
  •  
  •  
  •  

ถ้าจะบอกว่าเศรษฐกิจของเมืองไทยกำลังอยู่ในจุดภาวะที่เรียกว่าเกือบจะอิ่มตัวแล้วก็อาจจะสามารถเรียกแบบนั้นได้ นั่นทำให้หลายธุรกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะการแข่งแบบ Red Ocean หรือการแข่งขันที่รุนแรงแบบเลือดสาดเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด รวมไปถึงการแย่งชิงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งทางออกของปัญหาดังกล่าวคือการกระจายตัวออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความนิยมบริโภคสินค้าจากประเทศไทย

นี่คือโอกาสทองสำหรับธุรกิจจากประเทศไทยในการเข้าสู่ตลาด CLMV ที่ประกอบไปด้วยประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,กัมพูชา, เมียนมาและเวียดนาม และหนึ่งประเทศที่น่าสนใจมากที่สุดในกลุ่มประเทศ CLMV โดยมีความใกล้เคียงกับประเทศไทยมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเมืองพี่เมืองน้องอย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ส่วนหนึ่งที่ทำให้ สปป.ลาวน่าสนใจที่สุดในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับธุรกิจไทยนั่นเป็นเพราะ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกัน รวมไปถึงละครทีวีของประเทศไทยสามารถเข้าถึง สปป.ลาวและละครไทยยังมีอิทธิพลต่อแนวความคิด รวมไปถึงการใช้สินค้าต่างๆ จึงไม่แปลกหากชาว สปป.ลาวจะอยากสวยเหมือน อั้ม พัชราภา หรืออยากหล่อเหมือน ณเดช คูกิมิยะ รวมไปถึงอยากมีไลฟ์สไตล์แบบในตัวละครของไทย

นอกจากเรื่องของสื่อประเทศไทยที่เข้าไปมีอิทธิพลต่อชาว สปป.ลาว แล้ว ยังมีเรื่องของประสบการณ์การใช้สินค้าจีนที่มีมากมายใน สปป.ลาว จนผู้บริโภคชาวลาวทราบแล้วว่า สินค้าของไทยมีคุณภาพสูงกว่าสินค้าจากจีน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง และความสะดวกสบายในระบบขนส่ง ส่งผลให้ สปป.ลาว กลายเป็นประเทศหลักในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ SMEs ไทยให้ความสำคัญและมีความต้องการเข้าไปลงทุน

ทว่าเมื่อไปลงทุนในประเทศ สปป.ลาว SMEs ไทยต้องทราบว่า สปป.ลาว เป็นตลาดสำคัญที่หลายคนอยากเข้าไปเจาะตลาด รวมถึงบริษัทหลายแห่งในประเทศไทยทำให้สภาวะการแข่งขันในตลาด สปป.ลาว ไม่หมูอย่างที่คิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดและนั่นหมายถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ยิ่งธุรกิจ SMEs ที่มีข้อจำกัดด้านเงินทุนอาจจะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ในการทำธุรกิจกลุ่มประเทศดังกล่าว

โดยสิ่งที่ SMEs ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจเลือกสินเชื่อมีอยู่ 5 ปัจจัยด้วยกันทั้ง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ ถือเป็นปัจจัยแรกที่ควรศึกษาให้รอบคอบ SMEs จึงควรรู้และมองหาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำที่สุดในตลาด เพื่อป้องกันต้นทุนที่สูงขึ้นในระยะยาว, นโยบายการลดดอกเบี้ยให้ผู้กู้ SMEs ควรศึกษาก่อนว่า สถาบันการเงินที่เลือกไว้ในใจให้ความสำคัญกับการลดดอกเบี้ยผู้กู้ที่ผ่อนชำระดีมากน้อยเพียงใด เพราะหากดอกเบี้ยยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ไปกับดอกเบี้ย

หลักทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกัน แน่นอนว่าการกู้สินเชื่อวงเงินก้อนใหญ่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ปัจจุบันมีการเสนอแพ็คเกจที่ไม่ต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน ช่วยให้การกู้เงินคล่องตัวขึ้นและลดความเสี่ยงจากการถูกยึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน,เงื่อนไขที่เหมาะกับความต้องการบางครั้งการเลือกแพ็คเกจสินเชื่อที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของ SMEs อาจได้รับเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการ ดังกล่าว SMEs จึงควรมองหาสถาบันการเงินที่มีเงื่อนไขเหมาะสมตรงกับความต้องการ และระยะเวลาการให้กู้ ทุก SMEs ย่อมต้องมีแผนการสร้างรายได้ ซึ่งจะช่วยกำหนดระยะในการผ่อนชำระเงิน SMEs จึงควรมองหาสถาบันที่ให้ระยะเวลาในการกู้ได้ตรงกับแผนที่วางไว้

เพราะทุกการทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งเป็นการทำธุรกิจในต่างแดนยิ่งยากมากกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกรุงไทย (KTB) จึงได้เปิดตัวสินเชื่อ KTB CLMV ด้วยการสนับสนุนเงินทุนให้กับ ผู้ประกอบการ SMEs ในการทำธุรกิจกับคู่ค้าในกลุ่ม CLMV ทำให้การลงทุนในต่างประเทศง่าย ลดปัญหาเรื่องของต้นทุนในการทำธุรกิจ ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน แถมยังมีระยะเวลาผ่อนชำระเงินที่ยาวนาน ลงตัวตอบโจทย์การลงทุนของ SMEsด้วยวงเงินรวม 2 พันล้านบาท ทั้งวงเงินหมุนเวียน เงินกู้ระยะยาว และการออกหนังสือค้ำประกัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 3.9% ต่อปีผ่อนชำระสูงสุดนาน 7 ปี

สำหรับสินเชื่อ KTB CLMV จะอนุมัติวงเงินกู้สูงสุดรายละ 100 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 แพ็คเกจ ทั้งแพ็คเกจสำหรับลูกค้าที่มีหลักประกัน และแพ็คเกจสำหรับลูกค้าที่มีข้อจำกัดเรื่องหลักประกัน สามารถเลือกใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกัน และสำหรับลูกค้าที่ต้องการออกหนังสือค้ำประกันการซื้อสินค้า ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมพิเศษเริ่มต้นที่ 1.5% ต่อปี สามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึง 30 มิถุนายน 2561 โดยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

สามารถติดต่อและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สินเชื่อ KTB CLMV สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีธุรกรรมการค้ากับกลุ่มประเทศ CLMV หรือโทร 02-111-1111

KTB_1


  • 87
  •  
  •  
  •  
  •