รู้จักการทำนาหยอด โครงการดีๆ จาก ข้าวหงษ์ทอง ที่จะเติบโตไปพร้อมกับชาวนาไทย

  • 314
  •  
  •  
  •  
  •  

Hong_Thong_Rice_1

เมื่อ “ข้าว” คืออาหารหลักคนไทย “ชาวนา” ก็เปรียบได้กับกระดูกสันหลังของชาติ ที่มีความผูกพันกับคนไทยมาเป็นเวลานาน แต่ทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันชาวนาไทยมีค่าใช้จ่ายในการทำนาสูงมาก ทั้งค่าเช่านา ค่าจ้างแรงงาน ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงค่าขนส่ง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตพุ่งสูง สวนทางราคาผลผลิตที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ชาวนาไทยมีรายได้น้อยลง

“ข้าวหงษ์ทอง” ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่ชาวนาไทยต้องเผชิญ จึงได้น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาต่อยอดเป็น “โครงการหงษ์ทองนาหยอด”

“…ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีกว่าการทำนานั้นมีความยากลำบากเป็นอุปสรรคอยู่มิใช่น้อย จำเป็นจะต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดี และต้องใช้วิชาการต่างๆ ด้วย จึงได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่ง ที่นานั้น เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้ว ควรจะปลูกพืชอื่นๆ บ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้ลักษณะเนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับจะทำนาในฤดูต่อไป…”

พระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ผู้นำกลุ่มชาวนา ในวันเปิดการชุมนุมผู้นำกลุ่มชาวนาทั่วประเทศ ครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2508

โครงการหงษ์ทองนาหยอด ตามพระราชดำรัสในหลวง

httpv://youtu.be/Ys9ygMP99Ag

ทั้งนี้ บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวคุณภาพตรา “ข้าวหงษ์ทอง” ที่อยู่คู่เมืองไทยมาเกือบ 80 ปี ด้วยการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกา แอฟริกา และออสเตรเลีย จนส่งผลให้ยอดขายข้าวหงษ์ทองเติบโตขึ้นทุกปี และได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ระดับโลก และยังเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ส่งเสริมให้ชาวนาทำนาหยอด มาตั้งแต่ปี 2552 เพื่อรักษาพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนการทำนา และสร้างความยั่งยืนในอาชีพชาวนา

โดยแต่ละปี บริษัทฯ รับซื้อข้าวจากชาวนามากกว่า 4 แสนตัน หากจะบอกว่า “ชาวนา” เป็นหัวใจสำคัญสำหรับพวกเขาก็คงไม่ผิด ในอดีตฝั่งโรงสีข้าวและชาวนาเปรียบได้กับผู้ซื้อ-ผู้ขายทั่วไป ไม่มีการทำงานร่วมกัน แต่เมื่อโครงการหงษ์ทองนาหยอดเข้ามา ทั้งสองฝ่ายต้องทำงานร่วมกันในหลายๆ ด้าน อาทิ การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ พัฒนาดิน พัฒนาสูตรปุ๋ย การขนส่ง การจัดหาตลาด และเงินลงทุน เรียกได้ว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่จะเติบโตไปด้วยกัน

ก่อนจะเริ่มโครงการ ข้าวหงษ์ทองได้ทดลองการทำนาหลากหลายวิธี จนพบว่า การทำนาหยอดเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดกับพื้นที่ภาคอีสานที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งนี้ การทำนาหยอด เป็นวิธีการปลูกข้าวแบบใหม่ ที่แตกต่างจากการปลูกหว่านแบบเดิม ตรงที่ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลง ทำให้ลดต้นทุนในการผลิต ดูได้จากผลการดำเนินงานที่อยู่ด้านล่างที่เปรียบเทียบระหว่างผลผลิตนาหยอด กับผลผลิตนาหว่าน พบว่าลดค่าใช้จ่ายได้ 16% ต่อไร่ และเพิ่มผลผลิตได้ 24% ต่อไร่

Hong_Thong_Rice_2

และอีกหนึ่งโจทย์ที่บริษัทฯ ต้องให้ความสำคัญคือ ทำอย่างไรให้อาชีพชาวนามีความยั่งยืน หลายคนอาจไม่ทราบว่า ในหนึ่งปีเกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ สามารถทำนาได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้น ในช่วงนอกฤดูการทำนา พวกเขาจึงต้องหารายได้ด้วยปลูกพืชที่เป็นที่ต้องการของตลาด อาทิ แตงโม ฟักทอง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น แบรนด์ข้าวหงษ์ทอง จึงรับหน้าที่จัดหาเมล็ดพันธุ์ แนะนำองค์ความรู้ รวมถึงหาตลาดรับซื้อ

ด้วยปรัชญาการทำธุรกิจของบริษัทฯ ตั้งแต่ผู้บริหารรุ่น 1 ที่บอกว่า หากไม่มีเกษตรกร เราคงไม่มีอาชีพนี้ ฉะนั้นจึงต้องดูแลเกษตรกรผู้เป็นต้นน้ำอย่างดี เพราะหากไม่มีเขา เราก็อยู่ไม่ได้ วันนี้แบรนด์ข้าวหงษ์ทองเดินทางมาถึงผู้บริหารรุ่นล่าสุด คุณวัลลภ มานะธัญญา ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทบางซื่อโรสีไฟเจียเม้ง จำกัด และยังเป็นประธานกรรมการอีก 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด, บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด และบริษัท บีเอสซีเอ็มฟูดส์ จำกัด

Hong_Thong_Rice_3

ที่ผ่านมา คุณวัลลภ ได้คลุกคลีอยู่กับอาชีพเกษตรกรเป็นเวลานาน จึงได้ให้ความสำคัญแก่อาชีพเกษตรกร โดยได้พยายามรักษาศักยภาพของพันธุ์ข้าวหอมมะลิ เชิญชวนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ ร่วมทำแปลงนาเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์จนได้เมล็ดพันธุ์ข้าวบริสุทธิ์ ค้นหาวิธีการทำนาโดยใช้ต้นทุนต่ำ แต่ได้ผลผลิตสูง จนกระทั่งค้นพบการทำนาหยอด และสานต่อเป็นโครงการฯ ที่ประสบความสำเร็จ จากผลงานทั้งหมดนี้ ทำให้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีมติเป็นเอกฉันท์มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ ประจำปีการศึกษา 2558 ให้แก่คุณวัลลภ

Hong_Thong_Rice_4

“โครงการหงษ์ทองนาหยอด” ไม่ใช่ทำเพราะเป็นโครงการ CSR แต่เป็นความตั้งใจของแบรนด์ข้าวหงษ์ทองที่อยากจะช่วยเกษตรกร ช่วยให้อาชีพชาวนาเกิดความยั่งยืน เป็นการพึ่งพาอาศัยกันทั้งสองฝ่ายระหว่างโรงสีข้าวและชาวนา ที่ไม่ได้เอื้อเพียงธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ยังมองภาพรวมไปถึงกิจการเล็กๆ ของกลุ่มเกษตรกร นี่ไม่ใช่แผนระยะสั้นที่ทำแค่ 1-2 ปี แต่เป็นแผนระยะยาวที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ชาวนาไทย ดั่งสโลแกนของแบรนด์ “หงษ์ทองยืนหยัดอยู่คู่เกษตรกร คืนชีวิตให้ชาวนา คืนศักยภาพให้ข้าวหอมมะลิไทย เพราะเราอยากให้ทุกคนได้บริโภคข้าวที่ดี มีคุณภาพ”

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://hongthongrice.com/rice และ www.facebook.com/HongThongRice


  • 314
  •  
  •  
  •  
  •