ต้องเข้าหาลูกค้าอย่างไร ในยุคธุรกิจ 3 ไม่! เมื่อลูกค้า “ไม่รอ-ไม่ชอบยาก-ไม่เข้าหา” แม้แต่การขอสินเชื่อ

  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •  

1

เรื่องตัวเลข เรื่องเอกสาร ในการทำธุรกิจถือเป็นของแสลงสำหรับหลาย ๆ คน ยิ่งต้องติดต่อกับธนาคาร ก็เหมือนยิ่งทวีความปวดหัว ต้องกังวลกับการเตรียมเอกสารและขั้นตอนยุ่งยากที่ต้องดำเนินการ ทั้งยังอาจต้องทำซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งเพราะต้องติดต่อหลายธนาคาร ประสบการณ์แบบนี้ ใครเคยขอสินเชื่อ กู้เงินกับสถาบันการเงินมาแล้วคงเข้าใจดี

โดยเฉพาะในยุคที่ธุรกิจต้องการขยายจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ เงินทุนยิ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แต่ละนาทีที่ผู้ประกอบการทำได้แค่คิดวางแผนธุรกิจและปล่อยให้เวลาผ่านไป ในขณะที่ ลูกค้าต่างรอคอยซื้อหาสินค้าหรือบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการพวกเขาได้อย่างรวดเร็ว คุณคิดว่าระหว่าง “ขั้นตอนการขอสินเชื่อ หรือช่องทางการขอสินเชื่อ” SME อยากให้ธนาคารปรับปรุงระบบไหนมากกว่ากัน?

การที่ภาคธนาคารต่างออกมาขานรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จากรัฐบาล และพากันตั้งเป้าหมายปรับรูปแบบการให้บริการสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกมิติ เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งแน่นอนว่า SME ก็เป็นอีกกลุ่มลูกค้าที่แบงก์ให้ความสำคัญ เพราะมีจำนวนมากและต่างก็ต้องการเงินทุนเพื่อสร้างการเติบโตในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

2

พฤติกรรมลูกค้ายุคดิจิทัล “ไม่รอ-ไม่ชอบยาก-ไม่เข้าหา”

เพราะความคุ้นชินกับเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองการใช้งานและความต้องการได้ในแทบจะทันที ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเกิดความคาดหวังต่อการซื้อสินค้าหรือบริการ แบบที่เรียกว่าพฤติกรรม 3 ไม่ ได้แก่ ไม่รอ คือ ไม่ชอบรอคอยอะไรเป็นเวลานาน เมื่ออยากได้ทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามความต้องการ, ไม่ชอบยาก คือ การเข้าถึงแบรนด์ การซื้อสินค้าหรือบริการจะต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อน และไม่เข้าหา คือ ลูกค้าจะไม่เป็นฝ่ายเสาะหาหรือเรียนรู้แบรนด์ด้วยตนเอง ทั้งยังไม่ยึดติดกับแบรนด์ด้วยความจงรักภักดี หากเกิดความรู้สึกไม่พึงใจก็พร้อมจะเปลี่ยนไปหาแบรนด์อื่นได้ทันที ซึ่งเทรนด์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับบางธุรกิจ แต่กลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทุกอุตสาหกรรม!

ทำธุรกิจ “ไม่มีสิทธิ์นั่งรอลูกค้า”

อย่างที่เรารู้กันดีว่า โลกออนไลน์ทำให้ธุรกิจหลาย ๆ ประเภทเกิดคู่แข่งเป็นจำนวนมาก แม้ว่าในอดีตอาจมีคู่แข่งอยู่บ้างแต่ก็ไม่มากมายเท่าปัจจุบัน ดังนั้น การทำธุรกิจให้เกิดโอกาสและสามารถแข่งขันกับแบรนด์อื่น ธุรกิจอื่นได้ดี ก็คือ การเป็นฝ่ายเข้าหาลูกค้า ลบภาพการทำตลาดผ่านสื่อโฆษณาแล้วนั่งรอผู้สนใจ แต่ต้องเป็นการขยับตัวเองและเสนอของดีที่ตัวเองมีอยู่ออกไปให้ถึงลูกค้าก่อนที่พวกเขาจะทำการค้นหา เรียกง่าย ๆ คือ…สร้างโอกาสให้ตัวเองก่อนที่จะมีใครแทรกเข้าไปถึงลูกค้าก่อนคุณ!

สิ่งเหล่านี้ถือเป็น Pain Point ที่ภาคธุรกิจไม่ควรมองข้าม แม้จะไม่สำคัญเท่าการพัฒนาบริการหรือสินค้าให้สามารถตอบสนองการใช้งานได้ตรงใจผู้บริโภค แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ เรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนาบริการใหม่ของ KBank ที่ประกาศว่า “เป็นมิติใหม่ในการนำเสนอสินเชื่อ เพื่อตอบสนองความต้องการเข้าถึงเงินทุนของกลุ่ม SME”

3

คุณสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank อธิบายถึงเรื่องดังกล่าวว่า จากนโยบายที่ KBank ต้องการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจ SME และช่วยแก้ Pain Point ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจและขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน KBank จึงนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อประเมินหาความต้องการทางการเงินและนำเสนอสินเชื่อ SME ผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS ภายใต้คอนเซปต์ “ให้ใคร”, “ให้เมื่อไหร่” และ “ให้เท่าไหร่”

สร้างปรากฎการณ์นำเสนอสินเชื่อ SME ผ่านมือถือ

ที่ต้องบอกว่าเป็นมิติใหม่ เพราะการขอสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อธุรกิจนั้น เป็นเรื่องที่หลายคนรู้กันดีว่ายุ่งยากตั้งแต่คิด ไม่ว่าจะการเตรียมเอกสารจำนวนมาก ๆ เพื่อยื่นกับธนาคาร เรื่องนี้กลายเป็น Pain Point จำกัดโอกาสของ SME ก็ว่าได้ เพราะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากหลายปัจจัย อาทิ ไม่มีข้อมูลทางการเงินเพียงพอให้ธนาคารพิจารณาสินเชื่อ ไม่มีหลักประกัน หรือแม้แต่ขาดการวางแผนทางการเงิน เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเหตุให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักและเสียโอกาสทางธุรกิจ

ใช้ Data Analytics ช่วยวิเคราะห์ ลดความเสี่ยงให้แบงก์

การเสนอสินเชื่อผ่านแอป K PLUS จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ SME ที่ต้องการเงินทุน เพราะแบงก์ใช้ Data Analytics วิเคราะห์ทำให้รู้ว่า SME รายไหนกำลังต้องการเงินทุนโดยวิเคราะห์จากข้อูลพฤติกรรมการใช้จ่าย รายละเอียดการเดินบัญชี เพื่อประเมินหาความต้องการทางการเงิน แล้วส่งข้อเสนอสินเชื่อผ่านแอป K PLUS  ทำให้ SME มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อเพื่อลงทุนในธุรกิจเพิ่มขึ้น

สำหรับความพิเศษในการนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการพิจารณาสินเชื่อนั้น จะวิเคราะห์เจาะลึกข้อมูลต่างๆ ถึง 300 เรื่อง ไม่ใช่เพียงแค่รายละเอียดการเดินบัญชี แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมการใช้จ่าย ไลฟ์สไตล์ ครบทั้งเรื่องการใช้จ่ายและการใช้ชีวิตแต่ละวัน เรียกว่ามีความละเอียดมากกว่าขั้นตอนการวิเคราะห์ในรูปแบบเดิม ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหนี้เสียได้ดีขึ้น

4

อนุมัติในไม่กี่ขั้นตอน พร้อมรับเงินภายใน 1 นาที

สำหรับ SME ที่ได้ข้อเสนอสินเชื่อ จะได้รับข้อความแจ้งเตือนบนเมนู Life PLUS ในแอป K PLUS ซึ่งหาก SME สนใจตอบรับสินเชื่อ เพียง 3 ขั้นตอนก็จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีภายใน 1 นาที โดยหลังจากกดปุ่มสนใจสมัคร SME ก็สามารถเลือกเงื่อนไขสินเชื่อ ซึ่งตรงนี้มีรายละเอียดคล้ายยื่นเอกสารด้วยตนเองผ่านสาขา เพราะสามารถระบุได้ทั้งวงเงินที่ต้องการ รวมถึงระยะเวลาการผ่อน จากนั้นรอผลการอนุมัติเพียงอึดใจ และเมื่อคลิกตกลงรับสินเชื่อ รอรับเงินโอนเข้าบัญชีภายใน 1 นาที เรียกว่าช่วยย่นขั้นตอนและระยะเวลาจากเดิมราว ๆ 8 ขั้นตอน นับตั้งแต่การติดต่อธนาคาร, เตรียมเอกสาร, หาหลักประกัน, ประเมินหลักประกัน, พิจารณาและแจ้งผล, ทำสัญญา, จดจำนองหลักประกัน และรับเงิน ซึ่งคิดเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 7-30 วัน ต้องเสียเวลาในการดำเนินธุรกิจและทำให้ SME หลายรายหันไปพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบและเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องยื่นเอกสาร

ถือเป็นเรื่องที่ตรงใจ SME ได้มากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งก็ว่าได้ กับเงื่อนไขสินเชื่อผ่านแอป K PLUS ที่ KBank มอบให้ลูกค้า SME ด้วยข้อเสนอสินเชื่อโดยไม่ต้องใช้หลักประกันและไม่ต้องยื่นเอกสาร เรื่องนี้ถือเป็นโอกาสทองในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME โดยตรง ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจโดยเฉพาะ SME รายเล็ก

คาดสิ้นปีนี้ปล่อยสินเชื่อผ่านมือถือไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้าน!

ทั้งนี้ ทาง KBank ยังเปิดเผยมูลค่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ด้วยว่า ในปีนี้ทางธนาคารตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ SME ผ่านแอป K PLUS ไว้ที่ 3,000 ล้านบาท ซึ่งลูกค้าจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่าและต่ำกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลอย่างแน่นอน

“KBank เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการสินเชื่อแก่ลูกค้า SME ด้วยการลบภาพเดิม ไม่มีเอกสารกองโต ๆ ต้องหอบมายื่นกับธนาคาร ไม่ต้องเซ็นสัญญา และลดการใช้คนในการพิจารณาสินเชื่อ เพราะสินเชื่อบนมือถือของ KBank นี้ตอบโจทย์ครบทุกความต้องการภายใต้ขั้นตอนและระยะเวลา โดยตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาได้มีการยื่นข้อเสนอไปยังลูกค้ากว่า 1,000 ราย ก็พบว่ามีความสนใจตอบกลับมาถึง 76% ซึ่งในจำนวนนี้ผ่านเกณฑ์พิจารณาถึง 63% ทำให้เรามั่นใจว่าสินเชื่อ SME ผ่าน แอป K PLUS ที่จะส่งตรงถึงมือ SME นี้จะมาแรงอย่างแน่นอน เพราะตอบโจทย์ SME ได้อย่างตรงจุด สิ่งที่ SME ต้องทำก็คือ หมั่นเดินบัญชีเพื่อสร้างประวัติการทำธุรกรรม มีวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น” คุณสุรัตน์ กล่าวในท้ายที่สุด


  • 1.5K
  •  
  •  
  •  
  •