ETDA ออกโรงเตือนกฎหมาย DPS เตรียมบังคับใช้ ใครยังไม่มา! ต้องรีบแล้ว

  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  

สืบเนื่องจากการที่มีการเตรียมประกาศใช้กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) หรือ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ ทำให้หน่วยงานอย่างสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกโรงเตือนแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดเล็กแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจโดยย่อ

 

ETDA เตือนรีบมาลงทะเบียนก่อนสิ้นระยะเวลา

โดย คุณชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA ชี้ว่า พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือ “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 และให้ระยะ 1 ปีในการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ผู้ใช้บริการเกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะคิดค่าบริการหรือไม่ก็ตามที่เข้าข่าย 15 ประเภทตามที่กฎหมายระบุจะต้องเข้ามาแจ้งข้อมูลการประกอบ ธุรกิจให้ทาง ETDA ทราบ

โดยเป็นการยืนยันตัวตนธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลว่าเป็นใคร ให้บริการเกี่ยวกับอะไร และมีที่ตั้งอยู่ที่ไหน รวมไปถึง การมีมาตรการต่างๆ ในการดูเเลเยียวยา หรือช่องทางในการร้องเรียนสำหรับผู้ใช้บริการ เป็นต้น และเพื่อสร้างความโปร่ง ใสในการให้บริการ ช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจ

“ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้จะถือเป็นช่วงเดือนสุดท้าย สำหรับแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดเล็กที่มีรายได้น้อยกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีกรณีบุคคลธรรมดา หรือมีรายได้น้อยกว่า 50 ล้านบาทต่อปีกรณีนิติบุคคล หรือมีผู้ใช้งานไม่เกิน 5,000 คนต่อเดือน รวมถึงแพลตฟอร์มที่มีผลกระทบต่ำ ที่เสนอสินค้าหรือบริการของเจ้าของธุรกิจรายเดียวหรือเสนอสินค้า หรือบริการของบริษัทในเครือซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของธุรกิจดังกล่าว จะต้องรีบดำเนินการเข้ามาแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจโดยย่อกับ ETDA ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2567 นี้เท่านั้น”

 

ทำความรู้จักกฎหมาย DPS

สำหรับสาระสำคัญหลักๆ ของกฎหมาย DPS คือ การกำหนดให้ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล มีหน้าที่ในการมาแจ้งข้อมูลกับ ETDA ว่าเป็นใคร ให้บริการอะไรและกำลังจะให้บริการอะไร และมีจำนวนผู้ใช้บริการอยู่เท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยช่วยให้ภาครัฐประเมินธุรกิจมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ และนำไปการดูแลความเสี่ยงที่เหมาะสมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยหลักสำคัญจะมุ่งเน้นดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการ ทั้งในมุมผู้บริโภคและผู้ขาย ภายใต้การส่งเสริมและการสนับสนุนให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีการพัฒนา และยังเป็นกลไกสำคัญในการกำกับดูแลธุรกิจ ซึ่งกฎหมาย DPS เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเท่านั้น ผู้ซื้อหรือผู้ขายที่อยู่ภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมาแจ้งข้อมูลกับ ETDA

กฎหมาย DPS นอกจากจะสร้างกลไกให้แพลตฟอร์มดิจิทัลมีกรอบแนวทางปฏิบัติ เพื่อจัดการคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสม แก้ปัญหาการฉ้อโกงต่างๆ ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และยังสามารถส่งเสริมแพลตฟอร์มให้มีความน่าเชื่อถืออีกด้วย

 

สำหรับข้อมูลและหลักฐานที่แพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดเล็กจะต้องยื่นโดยย่อกับ ETDA ประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ชื่อ-สกุล หรือชื่อนิติบุคคล เลขประจำตัวหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล ที่อยู่ ช่องทางติดต่อ รอบระยะเวลาบัญชี
  • ข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ชื่อบริการแพลตฟอร์ม ประเภทการให้บริการ ช่องทางการให้บริการ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสานงานในราชอาณาจักร ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประกอบธุรกิจอยู่นอกราชอาณาจักร เป็นต้น

แพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดเล็ก ที่เข้าข่ายต้องแจ้ง สามารถเตรียมข้อมูลและยื่นแจ้งข้อมูลได้ผ่านระบบแจ้งการประกอบ ธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลของ ETDA ที่ https://eservice.etda.or.th/dps/th/login ภายในวันที่ 20 สิงหาคมนี้

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งโดยย่อรวมถึงข้อมูลที่ต้องแจ้ง ได้ที่ https://bit.ly/3y2nrmz  หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล: sv-dps@etda.or.th

สามารถเช็ครายชื่อแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ดำเนินการแจ้งข้อมูลและยืนยันตัวตนกับ ETDA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของ ETDA ที่ https://www.etda.or.th/th/regulator/Digitalplatform/index.aspx


  • 23
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา