ESSO กับตำนาน “จับเสือใส่ถัง พลังสูง” ปิดม่านลงแล้วอย่างที่เราทราบกันตามข่าว แต่ก็ต้องบอกว่า ESSO ถือเป็นแบรนด์น้ำมันชั้นนำ และเป็นที่รู้จักกันอย่างดีสำหรับชาวไทย พร้อมคำเรียกติดปากว่า “ปั๊มเสือ” ตีคู่มากับ “ปั๊มหอย” ของเชลล์
อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่า ESSO เป็นหนึ่งในแบรนด์เก่าแก่ที่อยู่ในแผ่นดินไทยมาอย่างยาวนานถึง 130 ปี ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในมือของ “บางจาก” ดังนั้น Minestrone ของแบรดน์จึงน่าสนใจไม่น้อย ลองมาดูว่าตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งจถึงปัจจุบันเขามีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง
ประวัติศาสตร์ ESSO
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินธุรกิจการกลั่นและค้าน้ำมันในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2437 นับเป็นเวลากว่า 130 ปีเเล้ว
พ.ศ. 2437
บริษัท แสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์ก เปิดสาขาในประเทศไทยที่ตรอกกัปตันบุช จำหน่ายน้ำมันก๊าดตราไก่และตรานกอินทรี
พ.ศ. 2474
บริษัท แสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์ก และบริษัท แว๊คคั่มออยล์ ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท โซโกนีแว๊คคั่ม คอร์ปอเรชั่น และจำหน่ายผลิตภัณฑ์หล่อลื่นตรา “การ์กอยส์”
พ.ศ. 2476
ร่วมทุนกับบริษัทแสตนดาร์ดออยส์ (นิวเจอร์ซี) และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท แสตนดาร์ดแว๊คคั่มออยล์ จำกัด ใช้เครื่องหมายการค้า “ม้าบิน”
พ.ศ. 2490
รับชื้อกิจการคลังน้ำมันช่องนนทรีจากกรมเชื้อเพลิงมาดำเนินการ
พ.ศ. 2505
เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด อีสเทอร์น จำกัด ในวันที่ 1 เมษายน 2505 และเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายการค้าจาก “ตราม้าบิน” มาเป็น “ตราเอสโซ่” ในวงรีรูปไข่
พ.ศ. 2508
เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด
พ.ศ. 2510
ซื้อโรงงานจาก บริษัท ยางมะตอยไทย เพื่อจัดตั้ง โรงกลั่นน้ำมัน เอสโซ่ ศรีราชา
พ.ศ. 2514
ขยายโรงกลั่นครั้งแรก เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 35,000 บาร์เรลต่อวัน
พ.ศ. 2515
ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังเลขที่ 1016 ถนนพระราม 4 ตรงข้ามสวนลุมพินี
พ.ศ. 2519
ขยายโรงกลั่น ครั้งที่ 2 เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 46,000 บาร์เรล ต่อวัน
พ.ศ. 2522
จัดตั้งบริษัท เอสโซ่ เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์ โดยได้รับสัมปทาน การสำรวจและขุดเจาะหาพลังงานบนแหล่งที่ราบสูงโคราช และพบก๊าซธรรมชาติที่หลุมน้ำพอง จ.ขอนแก่น ภายหลัง บริษัทฯ เปลี่ยนชื่อเป็น เอ็กซอนโมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์
พ.ศ. 2528
ขยายโรงกลั่นเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 63,000 บาร์เรลต่อวัน
พ.ศ. 2534
ได้รับการอนุมัติให้ขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชาเป็น 185,000 บาร์เรลต่อวัน ร่วมมือกับบริษัทน้ำมันชั้นนำต่างๆ จัดตั้ง บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด เพื่อวางท่อขนส่งน้ำมันจากโรงกลั่นศรีราชาไปยังลำลูกกา ดอนเมือง และสระบุรี
พ.ศ. 2539
เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
พ.ศ. 2541
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราครุฑ แก่บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เริ่มการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ในบริเวณโรงกลั่นน้ำมัน เอสโซ่ศรีราชา
พ.ศ. 2544
ได้มาซึ่งกิจการของบริษัท โมบิลออยล์ไทยแลนด์ จำกัด และดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
พ.ศ. 2545
จัดตั้งบริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด เพื่อให้บริการแก่บริษัทในเครือเอ็กซอนโมบิลทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
พ.ศ. 2546
จัดตั้งศูนย์บริการธุรกิจกรุงเทพอย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2551
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2554
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ฉลองความสำเร็จ โครงการน้ำมันสะอาด ด้วยเงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท
พ.ศ. 2557
ดำเนินกิจการในประเทศไทยครบรอบ 120 ปี และปรับโฉมสถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่
พ.ศ. 2562
เปลี่ยนชื่อ ศูนย์บริการธุรกิจกรุงเทพ เป็น ศูนย์บริการธุรกิจระดับโลก ฉลองการดำเนินกิจการในประเทศไทย ครบ 125 ปี
พ.ศ.2565
ถูก บางจาก คอร์ปอเรชั่น เข้าซื้อกิจการ
สำหรับรายได้รวมในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาของ ESSO
- ปี 2563 – 126,672 ล้านบาท
- ปี 2564 -172,878 ล้านบาท
- ปี 2565 – 263,000 ล้านบาท
- ปี 2566 (Q1) – 59,727 ล้านบาท
(https://investor.esso.co.th/th/financial-info/financial-highlights)
และในท้ายที่ สิ่งที่ทำให้เราต้องอำลา “พี่เสือ” ก็คือ การที่ “บางจาก” เข้าซื้อกิจการ เอสโซ่ (ประเทศไทย) ด้วยมูลค่ากว่า 2,283 ล้านบาท หรือเท่ากับ 65.99% และทยอยเปลี่ยนปั้มน้ำมันเอสโซ่ทั่วประเทศไทยกว่า 832 แห่ง ซึ่งวางเป้าหมายว่าภายใน 2 ปี จะเป็นปั๊มสีเขียวให้ครบ ซึ่งเชื่อว่าการขายกิจการมาจากต้นทุนที่ต้องแบกรับที่สูง แต่ทำกำไรได้น้อย อีกทั้งต้องเเข่งขันกับปั๊มไทย ที่ต่างลงทุนพัฒนาพื้นที่ในปั๊มด้วยร้านสะดวกซื้อ คาเฟ่ ดึงลูกค้ากันอย่างหนัก
ด้าน ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการบริษัทบางจากคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) ระบุว่า “การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท เอสโซ่ฯ ในครั้งนี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เสริมสร้างจุดยืนที่แข็งแกร่งด้านธุรกิจพลังงานระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยบริษัทฯ จะเข้าดำเนินการโรงกลันน้ำมันขนาดกำลังการกลั่น 174,000 บาร์เรลต่อวันเครือข่ายคลังน้ำมันและสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศกว่า 800 แห่งได้ทันที” (คลิกอ่านเพิ่มเติม)
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีชาวเน็ตและพนักงานต่างไปถ่ายรูปกับปั๊มพี่เสือ เพื่อเก็บไว้ในความทรงจำเป็นจำนวนมาก เพราะจะมีชื่อปั๊มนี้อีกต่อไปแล้ว เป็นอันว่า เปิดตำนาน ปั๊มพี่เสือ หรือ ESSO เป็นอันเรียบร้อย
หมายเหตุ ในส่วนของ บริษัทในเครือเอ็กซอนโมบิลในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด, บริษัท เอ็กซอนโมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์, บริษัท เอ็กซอนโมบิล มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ธุรกิจเหล่านี้ไม่รวมอยู่ในสัญญาซื้อขายหุ้นของ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ETL) ระหว่างเอ็กซอน โมบิล เอเชีย โฮลดิ้ง พีทีอี. แอลทีดี. และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)